"รากนครา" เรื่องจริง! สุดโหดจากนางกษัตริย์สู่สามัญชน "พระราชินีศุภยาลัต"

"รากนครา" เรื่องจริง! สุดโหดจากนางกษัตริย์สู่สามัญชน "พระราชินีศุภยาลัต"

"รากนครา" เรื่องจริง! สุดโหดจากนางกษัตริย์สู่สามัญชน "พระราชินีศุภยาลัต"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จบลงไปแล้วสำหรับละครที่กำลังอยู่ในกระแสสุดๆ "รากนครา" ทางช่อง 3 และที่ถูกพูดถึงอย่างมากมาย เป็นตัวแสดงที่โดดเด่นไม่แพ้ใคร ที่แฟนๆ ต้องทึ่งกับฝีมือนั่นคือ "น้ำฝน พัชรินทร์" ที่เธอได้รับบทบาท เจ้านางปัทมสุดา แห่งเมืองมัณฑ์ ที่แสดงได้สมบทบาทที่สุดกับบทนางร้ายที่ชัดเจน ขี้หึง ในบท เจ้านางปัทมสุดา ที่เป็นส่วนสำคัญทำให้เมืองมัณฑ์ล่มสลาย

และที่อึ้งไปกว่าคือตัวละครของ เจ้านางปัทมสุดา แห่งเมืองมัณฑ์นั้น มีอยู่จริงและในเรื่อง "รากนครา" นั้น เป็นการนำบุคคลในประวัติศาสตร์มาเป็นต้นแบบและได้มาปรับแต่งเรื่องราวให้เหมาะกับนวนิยายมากขึ้น  โดยเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์พม่า ของ "ราชินีศุภยาลัต" พระราชินีพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา และด้วยความทะเยอทะยานของ พระนางศุภยาลัต พระนางจึงได้เป็นพระราชินีในพระเจ้าธีบอพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งพม่า

พระนางศุภยาลัต เป็นพระธิดาของพระเจ้ามินดง กับพระนางอเลนันดอ พระมเหสีรอง พระนางศุภายลัตได้นิสัยความโหดร้ายและขึ้หึงมาจากพระมารดา เมื่อพระเจ้ามินดงประชวรหนักใกล้สวรรคต พระนางอเลนันดอ เรียกประชุมเสนาบดี กดดันให้เลือก เจ้าชาบธีบอ พระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดง ที่มีนิสัยอ่อนแอ ทรงเชื่องช้า เพื่อจะได้ถูกควบคุมได้ง่าย เมื่อเจ้าชายธีบอขึ้นครองราชย์ จึงได้อภิเษกสมรสกับ พระนางศุภยาลัต ขนิษฐาคนละมารดา ของพระองค์เอง

อุปนิสัยของ พระนางศุภยลัต คือ มีความทะเยอทะยาน เจ้ากลอุบาย ใจร้าย ขี้หึง ซึ่งเชื้อสายดั้งเดิมเป็นสามัญชน เรื่องราวของพระนางนั้นได้เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับเรื่องความโหดร้าย ฆ่าคนจำนวนมากเพื่อขึ้นสู่อำนาจ และใช้อำนาจข่มพระสวามี แทรกแซงราชกิจ ทำให้พม่าเสียเมืองแก่อังกฤษ ทำให้พระองค์และพระสวามีถูกเนรเทศไปอยู่อินเดีย

แต่เหตุผลสำคัญที่สุดคือราษฎรไม่คิดจะต่อสู้เพราะไม่รู้จะสู้ไปเพื่ออะไร เนื่องจากรัฐบาลของพระเจ้าธีบอโดยพระนางศุภยาลัต กดขี่พวกเขามาตลอด บ้านเมืองจึงขาดความสามัคคีขนาดหนัก เนื่องจากกษัตริย์และมเหสีไม่เคยทำตนให้เป็นที่รักของประชาชนพม่าของพระองค์เอง พระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัตจึงถูกเชิญให้ไปยังเมืองรัตนคีรี ซึ่งเป็นการสิ้นสุดเอกราชของพม่า และการปกครองโดยราชวงศ์อลองพญาที่มีอย่างยาวนาน

ต่อมา พระนางได้กลับคืนสู่พม่าที่เมืองย่างกุ้ง ทรงเครียดแค้นขุนนางพม่าที่ไปเข้ากับอังกฤษ ตรัสบริภาษอยู่เป็นประจำ มีชาวต่างชาติเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระนางไว้ว่า เมื่อพระนางแก่ตัวเข้าและรู้สำนึกในชีวิตแล้ว ทรงสงบเสงี่ยม สุภาพ น่าสงสาร ทรงเลี้ยงสุนัขเป็นเพื่อน และเสียพระทนต์ทั้งหมด พระนางอยู่ในตำหนักที่อังกฤษจัดถวายให้ในเมืองย่างกุ้ง 10 ปี จึงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ขณะพระชนมายุ 65 พรรษา การจัดการพระศพก็เป็นไปตามยถากรรม ไม่ได้มีพิธีรีตองมากมายไม่ต่างจากคนทั่วไป

ปัจจุบันยังมีที่ฝังพระศพอยู่ในย่างกุ้ง โดยรัฐบาลอังกฤษจัดการพระศพให้ตามธรรมเนียม แต่ไม่อนุญาตให้เชิญพระศพขึ้นไปที่ราชธานีกรุงมัณฑะเลย์ คงอนุญาตเพียงแต่ทำเป็นมณฑปบรรจุพระอัฐิเท่านั้น ปัจจุบันนี้อยู่ที่ถนนเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon Pagoda Rd.) ห่างจากบันไดด้านทิศใต้ของ พระเจดีย์ชเวดากอง มาประมาณ 200 เมตร

สร้างเป็นกู่ทรงมณฑปยอดปราสาทแบบพม่า ก่ออิฐฉาบปูนขาว รูปทรงคล้ายที่ฝังพระศพของพระเจ้ามินดงในกรุงมัณฑะเลย์ ที่ฐานล่างมีแผ่นจารึกแผ่นเล็กของตอปยากะเล (Taw Payar Kalay) หรือ ออง ซาย (Aung Zay) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าสีป่อ ที่เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 2006 และนำอัฐิมาฝังไว้ในกู่เดียวกับพระนางศุภยาลัต โดยพระนางมีศักดิ์เป็น "พระอัยยิกา" ของนัดดาองค์นี้

กู่มณฑปบรรจุพระอัฐิของพระนางศุภยาลัต และพระนัดดา

 

 

พระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าธีบอ (ขวา) พระราชินีศุภยาลัต (กลาง)

และพระเชษฐภคินีของพระนางคือพระนางศุภยาคยี (ซ้าย)

ที่พระราชวังหลวง เมืองมัณฑะเลย์ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1885 ไม่ทราบผู้ถ่าย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook