คาถาไหว้ครูบูรพาจารย์ ระลึกถึงบุญคุณ ช่วยดลจิตให้รู้แจ้งกระจ่าง

คาถาไหว้ครูบูรพาจารย์ ระลึกถึงบุญคุณ ช่วยดลจิตให้รู้แจ้งกระจ่าง

คาถาไหว้ครูบูรพาจารย์ ระลึกถึงบุญคุณ ช่วยดลจิตให้รู้แจ้งกระจ่าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ ๑๖ มกราคม ของทุกๆปี เป็นวันบูชาครู-บูรพาจารย์ เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก "ครู อาจารย์" หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งในอันที่จะสร้างบุคคลในสังคมให้เป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม อันจะเป็นกำลังทางสังคมของประเทศชาติต่อไป การไหว้ครูนั้นเป็นการแสดงความคารวะยอมรับนับถือต่อครูบาอาจารย์และแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ที่ได้สั่งสอนอบรม ที่ให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้วิชาการต่างๆ เพื่อที่จะได้นำไปประกอบสัมมาอาชีพ และให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบัน

ดังนั้นจึงต้องมีพระคาถาไว้เพื่อกราบไหว้ครูบาอาจารย์ แสดงความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดทั้งท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณ ท่านเป็นผู้ให้วิชาความรู้ และช่วยชี้ทางสว่างให้กับชีวิต ให้สำเร็จผลดีดังหวังตั้งใจ ซึ่งมีการปฎิบัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ดังต่อไปนี้ 

 

บทไหว้ครู หรือ คาถาไหว้ครู

(ผู้นำสวด) ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา
สวดทานองสรภัญญะ
สวดพร้อมกัน ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพาคณาจารย์
ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสาเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทยเทอญฯ

(ผู้นำสวด) ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง


ความหมายบทไหว้ครู

ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา แปลว่า ครูอาจารย์เป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง เป็นผู้พร่าสอนศิลปวิทยากร
ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมเหล่านั้น ผู้ให้โอวาท ผู้ทาให้ปัญญาเจริญ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ครู อาจารย์เหล่านั้น ด้วยความเคารพ

 

คาถาไหว้ครู บูรพาจารย์

ใช่สวดภาวนานำก่อนจะกระทำการสิ่งใดๆ เกี่ยวกับพระเวทย์ พระพิธีคาถาต่างๆ ให้ขึ้น นะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ให้มั่น

โองการพินทุนาถัง อุปปันนานัง พรหมาสะหะ ปะตินามัง อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปทุมัง ทิสสะวา นะโมพุทธายะ วันทะนัง

วันทิตะวา อาจาริยัง ครูปาทัง อาคัจฉัยหิ สัพเพ ธัมมา ประสิทธิเม สัพพะ อันตรายัง วินาสสันติ สัพพะ สิทธิ ภะวันตุเม

เอหิคาถัง ปิยังกาโย ทิสาปาโมกขัง อาจะริยัง เอหิ เอหิ พุทธานุภาเวนะ เอหิธัมมานุภาเวนะ เอหิสังฆานุภาเวนะ

นะมัสสิตตะวา อิสี สิทธิโลกนาถัง อนุตตะรัง อิสีจะ พันธะนัง สาตราอะหัง วันทามิ ตัง อิสี สิทธิ เวสสะ

มะอะอุ อะทิกะมูลัง ตรีเทวานัง มหาสาตรา อุอุ อะอะ มะมะ มันสาตรา อุสาอาวา มหามนต์ตัง มะอะอุ โลปะเก เญยยัง อังการเส วาระชิโน ตรีนิ อักขะรานิ ชาตานิ อุณาโลมา ปะนะชายะเต นะโมพุทธายะ สัตถุโน พุทโธ

สิโรเม พุทธะเทวัญจะ นะลาเต พรหมเทวตา หะทะยัง นารายกัญเจวะ ทะเว หัตเถปะระเมสุรา ปาเทวิ สะณุกัญเจวะ สัพพะกัมมา ประสิทธิ์เม

พุทธัง วันทิตตะวา ข้าพเจ้าไหว้แล้วซึ่ง พระพุทธ คุณณัง

ธัมมัง วันทิตตะวา ข้าพเจ้าไหว้แล้วซึ่ง พระธรรม คุณณัง

สังฆัง วันทิตตะวา ข้าพเจ้าไหว้แล้วซึ่ง พระสงฆ์ คุณณัง


อนึ่งข้าพเจ้าขออาราธนาคุณพระพุทธเจ้า คุณอุปัชฌาย์ ครูอาจารย์ คุณพระฤาษีนารอท คุณพระฤาษีนาไลย์ คุณพระฤาษีกระไลยโกฏิ คุณพระฤาษีตาวัว คุณพระฤาษีตาไฟ คุณพระฤาษีกัสสะปะ คุณพระฤาษีไกรภพ คุณพระฤาษีทัสสนะมงคล ทั้งพระฤาษีเพชรฉลูกัญ แลนักสิทธิวิทยา อีกทั้งพระธรณี นางพระคงคา พระเพลิง พระพาย พระอิศวรผู้เป็นเจ้าฟ้า เธอจึงมาประสิทธิ พระพรชัยให้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอเชิญเทพยาดาทั้งหลาย ทั่วพื้นปฐพีดล พระฤาษีทั้งร้อยแปดตน บันดาลดล ด้วยสรรพพิทย์ แลวิทยา พระครูพา พระครูเฒ่า ครูพักแลอักษร สถาพร กรรมสิทธิ์ แก่ข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้ เถิด

อิติปิโส ภะคะวา ข้าพเจ้าขออัญเชิญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอยู่เหนือเกล้าเหนือผม ขออัญเชิยพระพรหมเสด็จมาอยู่เบื้องบ่าซ้าย ขออัญเชิญพระนารายณ์เสด็จมาอยู่เบื้องบ่าขวา ขออัญเชิญพระแม่คงคาเสด็จมาเป็นน้ำลาย ขออัญเชิญพระพายเสด็จมาเป็นลมปาก ขออัญเชิญพยานาคเสด็จมาเป็นสร้อยสังวาล ขออัญเชิญพระกาฬเสด็จมาเป็นดวงใจ ข้าพเจ้าจะทำการสิ่งใด เมื่อใด ภูตใด พรายใด อย่าได้มาเบียดเบียนบีฑา อย่าได้ประมาทพลาดพลั้ง

ขออัญเชิญคุณครูแต่หนหลัง พระฤาษีทั้งร้อยแปดตน เดชะครูบาธิยาย อันเลิศล้ำ คุณครูอยู่ในถ้ำต่างจงมาช่วยอวยพรให้แก่ข้าพเจ้า พุทธังประสิทธิ์ มหาประสิทธิ์ ธัมมังประสิทธิ์ มหาประสิทธิ์ สังฆังประสิทธิ์ มหาประสิทธิ์ โอม คุรุเทวะ นะมามิ ข้าพเจ้า ขอยอกรชุลีโดยเคารพ คำนับนบคุณครูเฒ่า แต่ก่อนเก่าปัจจุบัน ครูเลขแลครูยันต์ ครูว่านแลครูยา ครูตำหรับแลครูตำรา ครูเวทย์มนต์กลคาถา ครูนะโมกอ ขอ แล กอ กา ครูอักขระขอมไทย จนจบหมด ที่ข้าพเจ้าได้เล่าเรียนศึกษา ข้าพเจ้าขออัญเชิญ ครูบาธิยาย ทั้งหลายนั้น เชิญมาชุมนุน ประชุมกัน ณ สถานที่อันเป็นมงคลแห่งนี้

สิทธิกิจจัง กิจจานุกิจ ซึ่งบำเพ็ญกรณียกิจ จะเสร็จสม อย่าข้างขัดข้องแรมนานเลยนา สิทธิกัมมัง การงานผดุงเพื่อบำรุงรักษา อย่าเริศ อย่าโรยรา อย่าโรยช้า สิทธิได้พลันๆ เทอญ แลนา

สิทธิการิยะ ตถาคะโต พระสรรเพชรเสด็จมารมอดฉันใด ปลอดภัย แผ้วคลาดแคล้ว พ้นภัยพาลฉับพลัน เทอญนา

สิทธิลาโภ นิรันตะรัง อีกราชลาภ ทุกสิ่งสรรพจงนิรันดิ์ดร หลั่งล้นดังหนึ่งนที ธารท้นอย่าอยู่ขาดสูญเลยนา

สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง เดชอำนาจ แผ่ทั่วผอง อริสยองหย่อนห้าว จงมีชัยชนะทุกด้าว ปราบล้างไพรี แลนา

สัพพะ สิทธิ ภะวันตุโว ขอสรรพพร จงประสาท ประสิทธิ์ แก่ข้าเสร็จ สมดั่งคำพ้องพร่ำ ถวาย ฉะนี้ เทอญ

ในทางพระพุทธศาสนา ครูผู้ยิ่งใหญ่ของเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรารู้จักพระพุทธเจ้าในฐานะ ผู้เป็นพระบรมครู ศาสดาเอกของโลก   เราจึงควรศึกษาของดีๆ ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง และต่อผู้อื่นได้อย่างกว้างขวาง  พระพุทธเจ้าในสมัยเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียง คือ อาจารย์วิศวามิตร วิชาที่ทรงศึกษา คือ ศิลปศาสตร์ 18 ประการ อันเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จะเป็นกษัตริย์ จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการ คือ 

  1. ยุทธศาสตร์ วิชานักรบ
  2. รัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง
  3. นิติศาสตร์ วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ
  4. พาณิชยศาสตร์ วิชาการค้า
  5. อักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดี
  6. นิรุกติศาสตร์ วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน
  7. คณิตศาสตร์ วิชาคำนวณ
  8. โชติยศาสตร์ วิชาดูดวงดาว
  9. ภูมิศาสตร์ วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ
  10. โหราศาสตร์ วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ
  11. เวชศาสตร์ วิชาแพทย์
  12. เหตุศาสตร์ วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา
  13. สัตวศาสตร์ วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย
  14. โยคศาสตร์ วิชาช่างกล
  15. ศาสนศาสตร์ วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนาทุกศาสนา
  16. มายาศาสตร์ วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม
  17. คันธัพพศาสตร์ วิชาร้องรำหรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรีหรือดุริยางค์ศาสตร์
  18. ฉันทศาสตร์ วิชาการประพันธ์

หลักการสอนการปฏิบัติตนของพระบรมครูผู้ยิ่งใหญ่ของโลกนี่ ที่เราทุกคนควรนำหลักไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและประโยชน์ท่านได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook