ความเชื่อเรื่อง "ตุ๊กแก" ในสมัยอยุธยา
หนังสือประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม โดย ฟรังซัว อองรี ตรุแปง ชาวฝรั่งเศส ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากบันทึกของพระสังฆราชแห่งตาบรากา ซึ่งเคยพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ได้เล่าถึงความเชื่อเกี่ยวกับ “ตุ๊กแก” ที่ปรากฏในสมัยอยุธยาไว้ โดยความเชื่อส่วนหนึ่งยังสืบทอดต่อมาถึงปัจจุบัน และมีบางส่วนได้จางหายไปแล้ว ดังเช่น
ถ้าใครได้กินมูลของตุ๊กแก จะทำให้คนนั้นไม่มีเสียงไป 1 เดือน หรือถ้าปัสสาวะของมันหยดลงบนมือหรือผิวหนังของใคร จะทำให้ผิวหนังของคนนั้นมีรอยดำๆ ติดอยู่ตลอดไป หรือถ้าโดนตุ๊กแกกัด มันจะกัดไม่ปล่อย
ซึ่งเป็นความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับตุ๊กแกอย่างหนึ่งคือสัตว์ชนิดนี้เป็นที่สิงของดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับแล้วท่านมาเตือนด้วยการส่งเสียงร้องซึ่งมีความหมายในรูปแบบต่างๆ บางตำราก็ว่าให้ดูจำนวนครั้งที่ร้อง
ถ้าร้อง 5 ทีไม่ดีนัก
ร้อง 6 ถือว่าเจ้าของบ้านจะมีเรื่องเดือดร้อนอึดอัด
ถ้าร้อง 7 ก็ยิ่งไม่ดีเพราะจะทำให้เสียทรัพย์ด้วย
แต่หากตุ๊กแกร้องมากกว่านี้เช่น 8, 9 หรือ 10 ครั้งนั้นจะโชคดี มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
โบราณท่านว่าควรจะเลี้ยง และถ้าพิเศษกว่านั้นคือถ้าร้อง 11 ครั้งนี่ถือว่าโชคดีหลายชั้นมากกับเจ้าของบ้านอาจพานพบเนื้อคู่ด้วย และในตำรายังบอกอีกว่าถ้าร้องเบาๆ หรือน้อยกว่า 5 ครั้งก็ไม่ต้องนับก็ได้เพราะไม่มีความหมาย