พิธีตักบาตรเที่ยงคืน "พระอุปคุต" วันเป็งปุ๊ด
"วันเป็งปุ๊ด (เพ็ญพุธ)" หรือประเพณีตักบาตรเที่ยงคืน เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ ในทุกปีที่มีวันขึ้น 15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ โดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด พระภิกษุสามเณรทุกรูปจะออกบิณฑบาตในตอนเที่ยงคืน โดยมีความแตกต่างของการนับเวลาคือ ที่ จังหวัดเชียงใหม่เชียงราย จะตักบาตรคืนวันอังคารหลังเวลา 00.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่วันพุธ
ในขณะที่ลำปาง และแม่ฮ่องสอน แพร่ จะใส่ตักบาตรในคืนวันพุธเวลา 24.00 น. เป็นต้นไป บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวเหนือจะเตรียมข้าวสารอาหารแห้งไว้คอยใส่บาตรตั้งแต่หลังเที่ยงคืน โดยจะไปคอยใส่บาตรที่หน้าบ้าน ตามถนนสายต่าง ๆ หรือตามแยกใกล้ชุมชน เป็นต้น สำหรับประวัติความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด
โดยมีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ 1 ปี จะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณชาวพม่ามักตื่นแต่ดึก เพื่อเตรียมอาหารไว้ใส่บาตรพระอุปคุต โดยมีคติความเชื่อว่า หากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระอุปคุตแล้วจะได้บุญใหญ่หลวง เกิดโชคลาภและความเป็นสิริมงคลในชีวิต คติความเชื่อนี้จึงทำให้พุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ
ในประเทศไทยการใส่บาตรเที่ยงคืนนี้ชาวเหนือเชื่อกันว่าพระอุปคุตจะแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้วบุคคลนั้น จะประสบแต่ความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองได้อานิสงส์แรง ดังนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญตรงกับวันพุธชาวเหนือทุกคนจะไปคอยใส่บาตรเป็นพิเศษ โดยบางปีอาจมีครั้งเดียว หลายครั้ง หรือไม่มีเลย ก็ได้ เป็นประเพณีนิยมที่มีเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น จึงถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญทางศาสนา ที่สืบทอดปฏิบัติ
หากท่านใดสนใจก็สามารถร่วมสืบสานประเพณีงานบุญได้โดยไม่ต้องไปไกลถึงภาคเหนือ เพราะมีการจัดพิธีกรรมนี้ที่ในกรุงเทพฯ โดย "หมอต้องจิต ติดจรวด" ซึ่งได้จัดพิธีกรรมใน วันเป็งปุ๊ด ทุก ๆ ปี โดยภายในงานจะมีพิธีอัญเชิญพระอุปคุต พร้อมสวดสืบชะตา และร่วมตักบาตรเที่ยงคืน ณ ศูนย์การค้าเมโทร เวสต์ ทาวน์ (บ้านต้องจิตต์) ถ.กัลปพฤกษ์ แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ ซึ่งเป็นสถานที่จัดกิจกรรมบุญโดยไม่มีการพาณิชย์ใด ๆ
คาถาบูชาพระอุปคุต
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธ นะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โสอิทา นิมะหาเถโร นะมัสสิตตะวา ปะติฏฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะมะหาเถรัง ยัง ยัง อุปะทะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ
คาถาขอลาภพระอุปคุต
มหาอุปคุตโต จะ มหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโม โจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุ เม ฯ เอหิจิตติจิตตัง พันธะนัง อุปะคุโต จะ มหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ