ทำอย่างไรเมื่อเครื่องรางหมดอายุ ?
ว่าด้วยเรื่องเครื่องรางที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสุดฮิต ใครไปเที่ยวก็ซื้อมาฝากพ่อแม่พี่น้องเพื่อนป้าน้าอากันเป็นแถว แม้แต่คนญี่ปุ่นเองพกกันเป็นพวงก็ยังมี ซึ่งนอกจากชนิดของเครื่องรางที่มีมากมายเสียจนตกใจแล้ว มีที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ!!? ..ทราบกันไหมคะว่าเครื่องรางที่ซื้อมาเก็บไว้นั้นมีวันหมดอายุด้วยนะ!! แล้วจะรู้ได้ยังไงกันล่ะ?
เครื่องรางมีอายุ “1 ปี” นะ
โดยปกติแล้ว “เครื่องราง” จะมีอายุประมาณ 1 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเลยกำหนดเวลาไปแล้วจะไม่สมหวังนะคะ และถึงแม้ว่าเราจะสมหวังกับสิ่งที่ขอหรือไม่ก็ตามก็ขอแนะนำว่าให้กำจัดดีที่สุดค่ะ เช่นในกรณีที่เป็นเครื่องรางแบบเฉพาะเจาะจง อย่างการขอพรให้สอบผ่านหรือขอพรให้คลอดลูกอย่างปลอดภัยก็ควรนำไปกำจัดเมื่อครบกำหนดเวลาดีกว่าค่ะ
แล้วดูวันหมดอายุตรงไหน? โดยปกติแล้วคนญี่ปุ่นจะเปลี่ยนเครื่องรางใหม่เมื่อถึงสิ้นปี จึงจะนำเครื่องรางเก่าไปคืนและซื้ออันใหม่มาแทนเพื่อต้อนรับสิ่งใหม่ๆในปีใหมนั่นเองค่ะ
ได้มาจากที่ไหนนำไปคืนที่นั่นดีที่สุด
เครื่องรางจะมีทั้งของที่ศาลเจ้าและที่วัดค่ะ หากเราได้รับมาจากที่ใดก็ให้นำไปคืนที่นั่นค่ะ พร้อมกับ “แสดงความขอบคุณเครื่องราง” สำหรับสิ่งที่ผ่านมาตลอด 1 ปีด้วย และหากเราสามารถนำไปคืนด้วยตนเองได้จะยิ่งดีเลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องมีพิธีตรีตรองอะไรเลยด้วย
ที่ศาลเจ้าหรือที่วัดนั้นจะมีกล่องสำหรับใส่เครื่องรางเก่าโดยเฉพาะเอาไว้ค่ะ ซึ่งจะมีเขียนเอาไว้ว่า “古神符納め所” หรือ “お焚き上げ” ก็ให้นำไปคืนที่นี่ได้เลยค่ะ และหากเราจะนำจำนวนเงินที่เท่ากับเครื่องรางใส่คืนไปพร้อมกับเครื่องรางที่นำไปคืนด้วยก็ได้นะคะ (ไม่บังคับน้า) เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณต่อเครื่องรางที่ได้ดูแลช่วยเหลือเรามาตลอดและส่งมอบกลับไปค่ะ
หากอยู่ไกลและไม่สามารถนำไปคืนได้ล่ะ?
หากเป็นเช่นนั้นเราก็สามารถนำไปคืนที่ศาลเจ้าหรือวัดใกล้ๆที่สามารถไปได้ก็ได้ค่ะ (แค่บอกว่านำไปคืนที่เดิมจะดีที่สุด) แล้วก็ได้มาจากที่ไหนให้นำไปคืนที่นั่น หมายความว่า หากได้รับมาจากที่ศาลเจ้าก็ให้นำไปคืนที่ศาลเจ้า หากได้รับมาจากที่วัดก็ให้นำไปคืนที่วัดนะคะ
สำหรับบางท่านอาจมีคำถามว่าถ้าหากเราไปคืนให้กับวัดนิกายอื่นล่ะ? หากไม่มั่นใจลองหาข้อมูลเอาไว้ก่อนดีกว่านะคะ หรือเราเข้าไปถามที่จุดชำระเงินหรือผู้เกี่ยวข้องของสถานที่นั้นๆก็ได้ค่ะ เพื่อความชัวร์
ถ้าไปด้วยตนเองไม่ได้แล้วยังทำลายเองไม่ได้ด้วย….
และแน่นอนว่า หากไปคืนที่เดิมไม่ได้ หรือคืนที่อื่นก็ไม่ได้ด้วย สามารถส่งคืนทางไปรษณีย์ได้ค่ะ(แล้วทำไมไม่บอกแต่แรกชะมะ) ถ้าหากไม่ทำตามวิธีดังกล่าวข้างต้น สามารถส่งคืนทางไปรษณีย์ได้ค่ะ (จริงๆ) ซึ่งก็สามารถลองเข้าไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากทางศาลเจ้าหรือที่วัดก่อนได้ ไม่เป็นการรบกวนแน่นอนค่ะ เข้าไปถามได้เลย
ในกรณีที่ต้องการส่งไปรษณีย์ ควรมีค่านำส่งคืนด้วย ในจำนวนที่เท่ากับตัวเครื่องรางเองนะคะ และควรเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนซึ่งสามารถขอแลกเงินได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ค่ะ พร้อมเขียนจดหมายแสดงความรู้สึกขอบคุณแนบไปกับเครื่องรางที่นำส่งด้วยนะคะ ที่ซองควรเขียนกำกับเอาไว้ด้วยว่า “お焚き上げ依頼” (สำหรับส่งคืนศาลเจ้า) และ “焼納依頼” (สำหรับส่งคืนที่วัด)
กำจัดด้วยตนเองก็ได้
> กำจัดด้วยการเผา
ถ้าหากทุกวิธีที่กล่าวมาข้างต้นยังรู้สึกว่ายุ่งยากลำบากมากไปหน่อย ก็สามารถทำลายด้วยตนเองได้เลย ด้วยการนำไปห่อด้วยกระดาษสีขาวแบบมาตรฐานของญี่ปุ่นที่ใช้เขียนพู่กัน (ขนาด 35x25cm) และโรยเกลือประมาณ 1 หยิบมือก่อนนำไปเผาค่ะ
> กำจัดด้วยการทิ้ง
สำหรับบางคนที่กลัวไฟ หรือรู้สึกว่าจะเผาเองก็ยุ่งยากอีก ก็สามารถนำไปทิ้งที่ถังขยะก็ได้ (ถ้าไม่รู้สึกเสียดายอ่านะ) ให้ทำตามขั้นตอนข้างต้นแต่เปลี่ยนกันตรงการเผาก็นำไปทิ้งแทนค่ะ แต่ขอให้มั่นใจว่าได้ส่งความรู้สึก “ขอบคุณ” ไปด้วยแล้ว (อย่าลืมเชียวนะ)
บทสรุป
- พรของเครื่องรางจะอยู่ได้ 1 ปี
- หากครบปีให้นำไปคืน
- ถ้านำคืนที่เดิมไม่ได้ก็ไปศาลเจ้าหรือวัดที่ใกล้ที่สุด
- หากจะทำลายด้วยตนเอง ก็ควรเตรียมผ้าขาวและเกลือเอาไว้
- นำส่งคืนทางไปรษณีย์ก็ได้
การจะเก็บสะสมเอาไว้ก็ไม่มีผลร้ายแรงอะไรหรอกนะคะ แต่ตามความเชื่อก็คือของที่เก่าแล้วเสื่อมแล้วจะเก็บเอาไว้กับตัวก็สูญเปล่า หากนำไปคืนและซื้ออันใหม่มาเพื่อต้อนรับสิ่งใหม่ๆและก้าวไปข้างหน้าน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่านะคะ