บทสวดเจ้าแม่กวนอิม เทพแห่งความรักและความเมตตา เสริมสิริมงคล
"เจ้าแม่กวนอิม" หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นองค์เทพแห่งความรักและความเมตตา ตามความเชื่อคติมหายาน หลายคนอาจรู้จักเจ้าแม่กวนอิมจากวรรณกรรมจีนเรื่อง "ไซอิ๋ว" ซึ่งจริงๆ แล้ว เจ้าแม่กวนอิมมีประวัติที่มาหลากหลายความเชื่อ โดยในปัจจุบัน มักมีผู้ศรัทธาสวดคาถาบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล ทำให้บทสวดเจ้าแม่กวนอิม มีหลายฉบับด้วยกัน Sanook horoscope ได้นำข้อมูล บทสวดเจ้าแม่กวนอิม เพื่อเสริมสิริมงคล เรียกทรัพย์ มีดังนี้
สิ่งที่ต้องเตรียมไว้สำหรับบูชาเจ้าแม่กวนอิม
- ธูป 9 ดอก
- เทียน 2 เล่ม
- น้ำชา 1 ถ้วย หรือ 3 ถ้วย
- แจกัน 2 ใบ ใส่กิ่งหลิว หรือดอกบัวก็ได้
- ผลไม้ 2 ชนิด โดยห้ามถวาย มังคุด, ระกำ, ละมุด, มะม่วง และพุทรา
- นอกจากนี้ บางคนยังนิยมถวายขนมเปี๊ยะ หรือขนมไหว้พระจันทร์ด้วย
บทสวดเจ้าแม่กวนอิม (ต้นฉบับ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมฮุก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียงห่วยอุ่ยติ้ง
นำโมม่อออปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก
พระคาถาจีนแปลเป็นไทยโดยใจความ
- ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบนมัสการแทบเบื้องพระยุคลบาทแห่งองค์พระพุทธบิดรอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก
- ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ ต่อเจ้าแม่กวนอิมบรมโพธิสัตว์พุทธเจ้า พระผู้ทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากลำบากอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีการถือชั้นวรรณะ น้ำพระท้ยของพระองค์บริสุทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ประดุจดังกระแสแห่งทิพย์
- ข้าพเจ้าขอถวายอภิวาทต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์และพระอรหันต์สาวกสาวิกาทั้งหลาย เทพเจ้าบนสวรรค์ เทพเจ้าผู้รักษาแผ่นดิน ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากเคราะห์กรรมทั้งปวง ขอให้ข้าพเจ้า
ได้ปัญญาให้ข้าพเจ้าได้โลกุตตระ ให้ได้ถึงฝั่งแห่งแดนพระอริยะด้วยเทอญ.
บทสวดคาถาหัวใจ เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (ท่องภาวนาได้ทุกเวลา)
โอม มณี ปัท เม หุม
ทั้งหมดแปลตรงตัวคงแปลได้ว่า "โอ..ดวงมณีในดอกบัว" เสียง โอม คือสารัตถะแห่งรูปของผู้เข้าถึงความรู้แจ้ง มณี ปัทเม(เปเม) หรือ พยางค์ทั้งสี่ กลางบท หมายถึง คำพูดของผู้บรรลุธรรม หุม หมายถึง จิตใจของผู้เข้าถึงความรู้แจ้ง กาย วาจา และใจของพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ธิเบต (บทสวดมนต์มหากรุณาธารณีสูตร)
นำโม รัตนา ตายายะ นะโม อาริยะ จานะ
สักการา เปลอ จานะ ยูฮารา จายา
ตะทากาคะยา อะรา ฮาเต ซำ ยา ซำ พุทธายะ
นะโม สวา ตะถาคะเตเป อะรา ฮาตะเป
ซำ ยา ซำ พุทเธเป
นะโม อะริยะ อวโลกิเต สวารายา
พูทีสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหาการุณีตะยะ
ตะติยา ทา โอม ธารา ธารา ธีรี ธีรี ธูรู ธูรู
อิทธิเว อิทธิ จาเร จาเร ปูราจาเร ปูราจาเร
กุสุเม กุสุมา วาเร อิทธิ มิตรี จิตติ
จาลามะ ปานะ ยะ โชวฮา
ตำนานประวัติเจ้าแม่กวนอิม
เจ้าแม่กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลางพระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤตซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร
ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ
อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่างๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก wikipedia