ความหมาย-ปริศนาธรรมของ "ธงกฐิน" จระเข้ ตะขาบ นางมัจฉา เต่า

ความหมาย-ปริศนาธรรมของ "ธงกฐิน" จระเข้ ตะขาบ นางมัจฉา เต่า

ความหมาย-ปริศนาธรรมของ "ธงกฐิน" จระเข้ ตะขาบ นางมัจฉา เต่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันออกพรรษา ถือเป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยในช่วงฤดูฝนนั่นเอง วันออกพรรษา 2564 นี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และหลังจากนี้ก็จะมีอีกหนึ่งประเพณีสำคัญได้แก่ประเพณีทอดกฐิน

หากใครเคยได้ไปงานบุญทอดกฐิน ก็คงจะได้เห็นธงที่เป็นรูปทั้ง 4 ได้แก่ จระเข้ ตะขาบ นางมัจฉา และเต่า ซึ่งธงกฐินที่ทุกคนเห็นนั้น นอกจากจะเพื่อแสดงให้รับรู้ว่าวัดนี้ได้รับผ้ากฐินแล้ว ยังมีปริศนาธรรมซ่อนอยู่ในรูปต่างๆ ด้วย แต่จะมีความหมายใดบ้างไปดูกัน

ธงกฐินรูปจระเข้

  • หมายถึงความโลภ เป็นการเปรียบให้เห็นว่าจระเข้เป็นสัตว์ปากใหญ่ กินไม่รู้จักอิ่ม และยังมีตำนานเล่าว่า ได้มีเศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย อีกทั้งธงกฐินจระเข้ยังเป็นเครื่องหมายแสดงว่าวัดนี้ได้มีการทอดกฐินแล้ว

ธงกฐินรูปตะขาบ

  • หมายถึง ความโกรธ เปรียบดั่งสัตว์มีพิษ ซึ่งพิษก็สะท้อนกับความโกรธที่แผดเผาจิตใจคน  อีกทั้งธงกฐินตะขาบยังเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าวัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว เพื่อให้ผู้ที่จะมาทอดกฐินผ่านไปวัดอื่น ไม่ต้องเสียเวลามาถาม

ธงกฐินรูปนางมัจฉา

  • หมายถึงความหลง เปรียบถึงเสน่ห์ของความงามชวนให้หลงใหล และเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความเชื่อว่าอานิสงส์จากการถวายผ้าแก่พระภิกษุสงฆ์ แล้วผู้ถวายจะมีรูปร่างงดงาม

ธงเต่า

  • หมายถึง สติ เปรียบถึงเต่าที่มีกระดองแข็งคอยคุ้มกันภัย และเป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงว่าวัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว โดยจะนำธงลงในวันเพ็ญเดือน 12
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook