วาราลักษมี วรัทตัม วันขอพรพระแม่ลักษมี ขอความรัก ขอความมั่งคั่งร่ำรวย

วาราลักษมี วรัทตัม วันขอพรพระแม่ลักษมี ขอความรัก ขอความมั่งคั่งร่ำรวย

วาราลักษมี วรัทตัม วันขอพรพระแม่ลักษมี ขอความรัก ขอความมั่งคั่งร่ำรวย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันวาราลักษมี​ วรัทตัม นับเป็นอีกหนึ่งวันมงคลสำคัญทางศาสนาฮินดู ในการบูชาพระศรีลักษมีเทวี​ หรือ พระแม่ลักษมี เทวีแห่งความงดงาม ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งโดยปกติแล้ว วัน "วาราลักษมี​ วรัทตัม" จะตรงกับข้างขึ้นของเดือนศรวณะตามปฏิทินฮินดู มักจะตรงกับวันศุกร์ก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนศรวณะ ซึ่งจะอยู่ในราวช่วงเดือน กรกฎาคม หรือ สิงหาคม โดยในปีนี้จะตรงกับวันวันที่ 16 สิงหาคม 2567

วันวาราลักษมี​ วรัทตัม คือวันอะไร?

สำหรับวันวาราลักษมี​ วรัทตัม นั้น เป็นวันสำคัญทางศาสนาฮินดู ในการบูชาพระแม่ลักษมี เป็นการบูชาเพื่อขอความรัก โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่มีคู่ครอง แต่งงานแล้ว หรือคู่รักทุกเพศ​ ที่จะออกมาขอพรให้คู่ครองและตนเองพบกับความรุ่งเรือง และความสมหวัง ให้การครองคู่กับคนรักให้ยังคงอยู่ตลอดไป หรือขอพรเพื่อให้เกิดความอยู่ดีกินดีในครอบครัว ตามคติความเชื่อของชาวฮินดู

แล้วคนโสดไม่มีคู่ครองล่ะ? สามารถเข้าร่วมพิธีได้หรือไม่ บอกเลยว่าคนโสดนั้นก็สามารถเข้าร่วมพิธีได้เช่นเดียวกัน เพราะมีความเชื่อว่า ผู้ที่ได้เข้าไปในพิธีนี้ จะสมหวังกับการขอพรความรัก และรวมไปถึงความร่ำรวย ความอุดมสมบูรณ์ และเกิดความกล้าหาญ เพราะเชื่อว่าการเข้าร่วมพิธีนี้จะได้รับพรจากพระแม่ลักษมีทั้ง 8 องค์​ เปรียบเสมือนเป็นการอัญเชิญพระอัษฏลักษมี 8 องค์ มาให้พรแบบครบถ้วนเลยก็ว่าได้

การประกอบพิธีในวันวาราลักษมี​ วรัทตัม

วันวาราลักษมี​ วรัทตัม ในทุกๆ ปี จะเป็นวันที่ผู้ที่เคารพในพระแม่ลักษมี จะออกมาร่วมพิธีการสถาปนาหม้อกลัศ​ และอลังกาลัม (ตกแต่ง)​ ซึ่งหลักหัวใจสำคัญนั้นคือ เป็นการสถาปนาองค์พระแม่ศรีลักษมี โดยการใช้หม้อกลัศ หม้อทองเหลือง หรือหม้อเงินแท้ เสมือนการเป็นตัวแทนของพระแม่ลักษมี โดยเรียกว่า "ลักษมีอลังกาลัม" ซึ่งหมายถึงการตกแต่งเทพ หรือทำให้พระองค์งดงามขึ้นด้วยเครื่องประดับ ด้วยผ้าส่าหรี ด้วยมะพร้าว และด้วยใบมะม่วง 5 ใบ ซึ่งที่ต้องใช้มะพร้าว เพราะเชื่อว่าเป็นตัวแทนของศีรษะของเทพ กล่าวโดยคือเป็นตัวแทนศีรษะของพระแม่ลักษมี ซึ่งก็จะมีการวาดหน้าบนมะพร้าวด้วย ให้มีคิ้ว ตา จมูก ปาก เพราะเชื่อว่าทุกอย่างที่กระทำมีลมหายใจ และมีชีวิต โดยซึ่งหมดนี้เรียกว่า "พิธีสถาปนาหม้อกลัศ" โดยพิธีดังกล่าวจะเป็นพิธีของทางพราหมณ์

นอกจากนี้ในพิธียังมีการภาวนาสรรเสริญถึงพระแม่ลักษมี การทรงสนานอาบน้ำให้พระแม่ ด้วยขั้นตอน​โศรทปราจารย์​ ทรงสนาน 16 ขั้นตอนด้วยการอัญเชิญประทับ​การสรงด้วย​ น้ำ​เปล่า, น้ำนม,​ เนย,​ น้ำผึ้ง​, น้ำอ้อย,​ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว และการถวายไฟ​ ถวายดอกไม้​ ถวายควันกำยาน ถวายประสาช​ ที่เป็นธัญพืชต่างๆ​ ขนมหวาน​ และการตกแต่งด้วยผ้าส่าหรี ​และเครื่องประดับแด่พระแม่ลักษมี

ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้ที่เข้าร่วมพิธีจะแต่งตัวด้วยสีสันที่สดใส เน้นไปทางสีแดง สีบานเย็น พร้อมกับตกแต่งสถานที่ต้อนรับพระแม่ด้วยดอกไม้ ดอกบัว ที่มีสีสันต่างๆ ในพิธี

พิธีวันวาราลักษมี​ วรัทตัม ในประเทศไทย

สำหรับการประกอบพิธีวันวาราลักษมี​ วรัทตัม ในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมไปไหว้พระแม่ลักษมีที่วัดแขก (สีลม) วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดวิษณุ เขตยานนาวา ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมอันมงคล รวมถึงวันวาราลักษมี​ วรัทตัม ด้วย

ซึ่งหากใครที่กังวลว่า ถ้าไปร่วมพิธีแล้วจะไม่รู้เรื่อง หรือไม่เข้าใจในบทสวดต่างๆ แต่หากเรามีจุดมุ่งหมาย และความศรัทธา การไปกราบไหว้พระแม่ลักษมีด้วยใจ ตัวเรานั้นรู้ว่าครั้งนี้ เรามาสถานที่ดังกล่าวเพื่ออะไร หรือสิ่งนี้สำคัญอย่างไรกับตัวเรา เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ที่จะได้รับพรจากพระแม่ และได้รับมหาบุญกุศล

การประกอบพิธีในวันวาราลักษมี​ วรัทตัม ด้วยตนเองที่บ้าน

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • รูปปั้นพระแม่พระแม่ลักษมีขนาด 5 นิ้วขึ้นไป
  • ดอกบัวสีชมพู 8 ดอก
  • กำยาน 1 ดอก หรือธูป 8 ดอก
  • เทียน 2 เล่ม
  • ขนมบารฟี่ (Kaju katli barfi (काजू कतली)) หรือ ขนมเพชร

กล่าวบทสวดบูชาขอพรสรรเสริญ​พระแม่ลักษมี 15 ภาค

โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ  (8 จบ)

จุดเทียนจุดไฟ​ จุดประธีปถวาย​ และท่องว่า

โอม​ ธีปัม  สะมะระประยามิ​

จุดกำยาน 1 ดอกเท่านั้น​ ถ้าใช้ธูปจุด 8 ดอกถวายได้ และท่องว่า

โอม​ ธูปัม  สะมะระ​ ประยามิ
โอมปารวตี ปัตตเย ฮารา ฮารา ฮารา มหาเทวา
คาชานะนัม ภูตะคะณาธิเสวิตัม
กะปิตะชัมพู ผะละจารุภักษะณัม
อุมาสุตัม โศกะวินาศะ การะกัม
นะมามิ วิฆะเนศวะระ ปาทะปังกะชัม
โอม ศรี สรัสวะติไย นะมะห์ (5 จบ)
โอม สรัสวตี นะมัส ตุภะยัม
วาระเท กามะรูปินี
วิทยา รัมภัม กะริชยามิ
สิทธิ ภะวะตุ เม สะทา
โอม​ ฮรีม​ ขรีม​ กรีม​ มหาลักษมี​ นะมะหะ​ 21/109 จบ

ถวายดอกไม้แด่พระแม่ลักษมีและท่องว่า

โอม​ ปุษะปัมมาลัม​ สะมะระประยามิ
โอม​ มหาลักษมี​ ไย​ จะ​ วิทมาเฮ
วิษะณุ  ปัทนะไย​ ดีมาฮี
ตันโนด​ ลักษะมี​ ประโจตะยาทเต่อ
โอม ศานตาการัม ภูชะคะสะยะนัม
ปัทมานาภัม สุเรศัม วิศวาธารัม
คะคะนะสะทฤศัม เมฆะวรรณัมศุภางคัม
ลักษมีการตัมกะมะกะละนะยะนัม
โยคิภีระธยานะคัมมะยัม​ วันเทวิษณุ
ภะวะภะยะหะรัม สรรวะโลกัยกานาถัม

ยกของถวายที่จัดเตรียมมา​ และท่องว่า

โอม​ ไนเวทะยัม​ สะมะระ​ ประยามิ​

ถวายของที่ละอย่าง และแตะที่มือของพระแม่​ หรือยกขึ้นให้ท่านเห็น พร้อมอธิบายให้พระแม่ลักษมีฟังว่ามีอะไรบ้าง

ยา เทวี สะระวะ ภูเตชุ
ลักษมี รูเปนะ สัม สะถิตา
นะมัส ตัสไย นะมัส ตัสไย
นะมัส ตัสไย​ นะโม นะมะห์
โอม อาทิ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
ปะระ พรหมมา สะวะรูปินี
ยะโส เทหิ ธะนัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม สันตะนะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
ปุตระ เปาตระ ประทายินี
ปุตะราน เทหิ ธะนัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม วิทะยะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
พรหมมา วิทะยา สะวะรูปินี
วิทะยัม เทหิ กะลัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม ธะนะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ ทะริทะรึยะ นาศินี
ธะนัม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม ธัญญะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวา ภะระนะ ภูษิเต
ธันญัม เทหิ ธะนัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม เมธา ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
กาลี กะละมะศะ นาศินี
ประคะนาม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม คะชะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ เทวะ สะวะรูปินี
อะสะวัม จะ โคกุลัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม วีระ ลักษมี นะโมสะเตสะตุ
ปะระ ศักติ สะวะรูปินี
วีระยัม เทหิ พะลัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม ชะยะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ การะยะ ชะยะ ประเธ
ชะยัม เทหิ ศุภัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม ภาคะยะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
เสามังคะละยะ วิวาระธะนี
ภะคะยัม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม กีระติ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
วิษะณุ วักษะ สะตะละ สะติเต
กีระติม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม อะโรคะยา ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ โรคา นิวารินี
อายุระ เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม สิทธา ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะ สิทธิ ประธายินี
สิทธิม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม สุนทะรียะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
สะระวะลังการะ โศภิเต
รูปัม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
โอม สัมราชะยะ ลักษะมี นะโมสะเตสะตุ
ภักติ มุกติ ประธายะนี
โมกะษัม เทหิ ศะริยัม เทหิ
สะระวะ กะมามสะจะ เทหิ เม
มังคะเล มังคะลาธะเร
มังคะละเย มังคะละประเธ
มังคะลาระตัม มังคะเลสิหิ
มังคะละยัม เทหิ เม สะทา
สะระวะ มังคะละ มังคะละเย
ศิเว สะระวะระตะ สาธะเก
ศะรังเย ตะริอัมพิเก
เคารี นารายะนี นะโมสะตุเต
ศุภัม ภะวะตุ กะละยาณิ
อายุระ อะโรคะยะ สัมปะธัม
มามะ ศัตรู วินาศะยะ
ทีปะ ชะโยติ นะโม นะมะหะ
โอม ชยะตี ชคะนิธิวะตี ภาคยะวตี
ธะนะวันตี ชยะ ชลละชะ วิลาสินี
คตะมหานะ วิจรัญตี ชยะ ศรี กะมะเล
หะริปรีเย ชลละนิธิ ตนะเย​ อัมพา
วิณาวัตตะ สุนทระทาสา อิกะมานะ
เตระหินะ อวะลัมพาฯ
โอม ไชยะ ปัทมา วิศาลักษิ
ไชยะ ตวัม ศรี ปติ ปริเย
ไชยะ มาตา มหาลักษมี
สะมะ สะระณะ วันณะวะ ธาระนีฯ

ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ลักษมี
ผู้ทรงมีพระเนตรงดงามดั่งดอกบัว
ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ลักษมี
ผู้เป็นที่รักแห่งองค์พระวิษณุมหาเทพ
ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ลักษมี
ผู้เป็นมหามารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง
ขอชัยชนะจงมีแด่พระแม่ลักษมี
ผู้นำพาเราข้ามมหาสมุทรอันไพศาล

บทนี้ใช้ในการขับร้องแบบภชันขอพร และใช้เสริมในการร้องถวายด้วยประทีปได้

โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะห์
โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะห์
โอม ธะนะ ประทาไย นะโม นะมะห์

โอม วิศวา จะนันไย นะโม นะมะห์​ (ท่อง 3 จบ)

โอม การัม พินทุสัมยุกตัม
นิตยัม ทะยายันติ โยคินา
กามะทัม โมกะษะทัม ไจวะ
โอม การายะ นะโม นะมะ
โอม บูร์ บูวาส สวาฮา
ตัธ สาวิธูเร วาเรนยัม
บฮาร โก เดวาสยา ดีมาฮี
ดิโย โยนาฮา ปราโจดะยาธ
โอม ศานติ อันตะริกษัม ศานติ
ปฤถิวี ศานติ
อาปาศะ ศานติ
โอสะธะยะษะ ศานติ
วนัสสะปัตตะยะษะ ศานติ
วิศศะเวเทวะ ศานติ
พรหมมะ ศานติ
สะระวะ ศานติ
ศานติ เรวะ ศานติ
โอม ศานติ ศานติ ศานติฮีฯ

ขอความสงบจงเกิดแก่ผืนดิน
ขอความสงบจงเกิดแก่ผืนน้ำ
ขอความสงบจงเกิดแก่พืชพรรณ
ขอความสงบจงเกิดแก่สรรพชีวิต
ขอความสงบจงเกิดแก่พรหม
ขอความสงบจงเกิดแก่เหล่าเทวะ
ขอความสงบจงเกิดแก่ทุกๆสิ่ง
ขอจงมีแต่ความสงบ ความสงบ
และความสงบเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook