ความเชื่อเกี่ยวกับ "แม่ซื้อ" ทั้ง 4 ภาค กลาง เหนือ อีสาน ใต้

ความเชื่อเกี่ยวกับ "แม่ซื้อ" ทั้ง 4 ภาค กลาง เหนือ อีสาน ใต้

ความเชื่อเกี่ยวกับ "แม่ซื้อ" ทั้ง 4 ภาค กลาง เหนือ อีสาน ใต้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของ แม่ซื้อ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะมาคู่กับเด็กแรกเกิด ซึ่ง "แม่ซื้อ" หมายถึงเทวดา หรือผีที่คอยดูแลเด็กทารก และปกป้องรักษา เปรียบเสมือนเป็นพี่เลี้ยงของเด็ก ซึ่งในแต่ละภาคในประเทศไทย ความเชื่อเกี่ยวกับแม่ซื้อก็อาจจะมีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันออกไป โดยในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยได้มีการกล่าวถึงความเชื่อเกี่ยวกับแม่ซื้อในแต่ละภาค ดังนี้

ภาคกลาง

เชื่อว่าแม่ซื้อนั้น เป็นภูตประจำตัวเด็ก ตามวันทั้ง 7 วัน โดยมีชื่อดังนี้

แม่ซื้อวันอาทิตย์

  • มีนามว่า วิจิตรมาวรรณ ลักษณะรูปร่าง หัวเป็นสิงห์ ผิวกายสีแดง

แม่ซื้อวันจันทร์

  • มีนามว่า วรรณนงคราญ ลักษณะรูปร่าง หัวเป็นม้า ผิวสีกายขาวนวล

แม่ซื้อวันอังคาร

  • มีนามว่า ยักษ์บริสุทธิ์ ลักษณะรูปร่าง หัวเป็นมหิงสา ผิวกายสีชมพู

แม่ซื้อวันพุธ

  • มีนามว่า สามลทัศ ลักษณะรูปร่าง หัวเป็นช้าง ผิวกายสีเขียว

แม่ซื้อวันพฤหัสบดี

  • มีนามว่า กาโลทุกข์ ลักษณะรูปร่าง หัวเป็นกวาง ผิวกายสีเหลืองอ่อน

แม่ซื้อวันศุกร์

  • มีนามว่า ยักษ์นงเยาว์ ลักษณะรูปร่าง หัวเป็นโค ผิวกายสีฟ้าอ่อน

แม่ซื้อวันเสาร์

  • มีนามว่า เอกาไลย์ ลักษณะรูปร่าง หัวเป็นเสือ ผิวกายสีดำ

ภาคเหนือ

แม่ซื้อ จะเปรียบเสมือนเทวดา ที่จะคอยคุ้มครองเด็ก หรือที่เรียกว่าเทวดาประจำตัวเด็ก จะมีชื่อ และลักษณะที่คล้ายกับทางภาคกลาง

ภาคอีสาน

มีความเชื่อว่า เด็กในครรภ์มารดา จะมีแม่ผู้สร้างทารก และคอยเลี้ยงดูเด็กในครรภ์ เรียกว่า มนายเดิม หรือ มนายสะโนน ซึ่งแม่ที่กล่าวถึงนี้เป็นผีพรายที่จะมาสร้างเด็กในครรภ์ และคอยเลี้ยงดูจนถึงวันที่เด็กคลอดออกมา

ภาคใต้

เชื่อว่า แม่ซื้อ นั้น เป็นสิ่งเร้นลับ ไม่มีตัวตน ไม่มีปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีฐานะเป็นเทวดา หรือภูตผี แต่จะมีด้วยกัน 4 ตน เป็นผู้หญิงชื่อ ผุด ผัด พัด และผล มีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเด็กทารกตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 12 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook