ตั้งชื่อให้ถูกโฉลกของตนเอง ตามหลักทักษาปกรณ์

ตั้งชื่อให้ถูกโฉลกของตนเอง ตามหลักทักษาปกรณ์

ตั้งชื่อให้ถูกโฉลกของตนเอง ตามหลักทักษาปกรณ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าการตั้งชื่อมงคล ตั้งชื่อให้ถูกโฉลกกับบุคคลนั้นๆ จะช่วยเสริมในเรื่องของความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ และสิ่งดีๆ ในชีวิตตามหลักโหราศาสตร์ โดยหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อที่โหราจารย์หลายๆ ท่านได้กำหนดไว้ สามารถแยกได้ เป็น 4 ระบบ ใหญ่ๆ คือ ระบบทักษา ระบบราศีจักร ระบบเลขศาสตร์ และระบบอายตนะ 6 ซึ่งในวันนี้ เราจะมากล่าวถึงระบบทักษาโดยเฉพาะ เพราะนับว่าเป็นที่ยึดถือปฏบัติกันมากที่สุด

ระบบทักษา คืออะไร?

ทักษา มาจากคำว่า ทักษิณา ซึ่งหมายถึงการเวียนขวา โดยจะมีภูมิทักษาจากโหราจารย์สมัยโบราณเขียนกำหนดภูมิทักษาขึ้นจากการวางตำแหน่งดาวพระเคราะห์ ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระเสาร์ พระพฤหัสบดี พระราหู และพระศุกร์

โดยแบ่งออกเป็น 8 ช่องตามทิศทั้ง 8 คือ อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ และอุดร โดยมีลำดับการจัดเรียงตัวเลขแบบเฉพาะ โดยเริ่มจากพระอาทิตย์ แล้วเวียนขวาไปทางหมายเลข 2 3 4 7 5 8 และ 6 ตามลำดับ

ในระบบทักษา สิ่งทำคัญคือ คือ ภูมิทักษา หรือทักษาปกรณ์ ที่จะใช้ตีความหมายของเรื่องราวต่างๆ ตามค่าของดาวประจำทิศนั้นๆ คือ บริวาร อายุ เดช ศรี มูลละ อุตสาหะ มนตรี และกาลกิณี โดยมีความหมายดังนี้

บริวาร

  • บุตร หลาน คู่ครอง คนรับใช้ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา คนที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู

อายุ

  • สภาพความเป็นอยู่ สุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ อายุ การดำเนินชีวิต

เดช

  • ชื่อเสียง เกียรติยศ บรรดาศักดิ์ อำนาจ

ศรี

  • ทรัพย์สิน เงินทอง ความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ

มูละ

  • หลักฐานบ้านช่อง ถิ่นที่เกิด ถิ่นที่อยู่อาศัย ที่ดิน หลักทรัพย์หลักฐาน

อุตสาหะ

  • ความขยันหมั่นเพียร ความมานะ การกระทำ การทำงาน อาชีพ

มนตรี

  • ผู้ใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือ อุปถัมภ์ เจ้านาย ผู้บังคับบัญชา

กาลกิณี

  • อุปสรรคต่าง ๆ ความทุกข์โศก ความอับโชค เคราะห์ร้าย อัปมงคล ความเป็นศัตรู

การตั้งชื่อในหลักทักษา

ทักษาจะมีการจัดเรียงลำดับแบบเฉพาะ ซึ่งจะสลับตำแหน่งกันไม่ได้ เริ่มจาก พระอาทิตย์ (1) พระจันทร์ (2) พระอังคาร (3) พระพุธ (4) พระเสาร์ (7) พระพฤหัสบดี (5) พระราหู (8) และพระศุกร์ (6) ตามลำดับ โดยแต่ละวันจะมีอักขระ และชื่อนามประจำตำแหน่ง ดังนี้

  • อาทิตย์ (1) ครุฑนาม อ และสระต่างๆ
  • จันทร์ (2) พยัคนาม ก, ข, ค, ฆ, ง
  • อังคาร (3) ราชสีนาม จ, ฉ, ช, ซ, ฌ, ญ
  • พุธ (4) โสณนาม ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ
  • เสาร์ (7) นาคนาม ด, ต, ถ, ท, ธ, น
  • พฤหัสบดี (5) มุสิกนาม บ, ป, ผ, ฝ, พ, ฟ, ภ, ม
  • ราหู (8) คชนาม ย, ร, ล, ว
  • ศุกร์ (6) อัชชนาม ศ, ษ, ส, ห, ฬ, ฮ

อักขระอาทิตย์ (1) อนุโลมให้ใช้ ไม้หันอากาศ และเครื่องหมายทัณฑฆาต (การันต์) ได้

สรุปหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ

หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อโดยรวมทั้ง 4 ระบบ (ระบบทักษา ระบบราศีจักร ระบบเลขศาสตร์ ระบบอายตนะ 6) มีดังนี้

  • ห้ามตั้งชื่อ ที่มีอักษรกาลี ผู้ชายควรใช้อักษรเดช นำหน้า, ผู้หญิง ควรใช้อักษรศรี (ในปัจจุบันส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น หญิงหรือชาย ก็มักจะเน้นอักษรวรรค ศรี เพราะเป็นอักษรวรรคที่ส่งเสริม ด้านความสำเร็จ
    การเงิน โชคลาภ)
  • ถ้าจำเป็นต้องตั้งชื่อที่มีกาลี ก็อย่าให้มีอักษรวรรคคู่มิตร ของกาลีร่วมอยู่ด้วยเพราะจะทำให้กาลี มีกำลัง
  • ใช้อักษรวรรค ดาวที่เข้มแข็ง ให้คุณแก่ เจ้าชะตามากที่สุด และต้องไม่เป็นอักษรวรรค ดาวที่เป็นเจ้าเรือน อริ มรณะ วินาศ หรืออยู่ในเรือนดังกล่าว
  • ชื่อที่ตั้งต้องมีความหมาย และความหมายที่ได้ ต้องพิจารณาถึง ภาษาท้องถิ่นด้วย เพราะบางครั้งตั้งชื่อ ตามภาษากลางมีความหมายดี แต่พอไปอยู่ในท้องถิ่น ชื่อกับไปพ้องเสียงกับคำที่ไม่เป็นมงคล
  • ต้องไม่เป็นชื่อ ที่เรียกยาก เขียนยากจนเกินไป ผิดหลักไวยากรณ์ หรือ มีหลายพยางค์ จะเป็นการบั่นทอน พลังอำนาจของ อักษรวรรค ที่ให้คุณ
  • การตั้งชื่อ เน้นการออกเสียงเป็นสำคัญ
  • อย่าตั้งชื่อที่เป็นปรปักษ์ ขัดแย้ง กับตัวเอง หรือลักษณะนิสัยของตัวเอง เช่น เป็นคนผิวขาว แต่ตั้งชื่อว่า นิล ,เป็นคนกล้าแข็ง แต่ตั้งชื่อ ว่า ปุยฝ้าย เป็นต้น
  • อย่าตั้งชื่อ เหมือน เทพ เทวดา เพราะจะไม่เป็นการบังควร และอาจจะก่อให้เกิดเภทภัย แก่คนรอบข้างได้ เป็นการลบหลู่เทพเบื้องบน อย่างที่ไม่ได้ตั้งใจ
  • ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับ สภาพชีวิต และอาชีพ ที่ทำอยู่ เช่น ถ้าทำอาชีพค้าขาย ก็ต้องตั้งชื่อ ใช้อักษรวรรคศรี ให้มีความหมายเป็นไปทาง การค้าขาย ความสำเร็จ โชคลาภ
  • ชื่อเมื่อพิจารณา ในด้านเลขศาสตร์ แล้วต้องหลีกเลี่ยง เลข หรือกำลัง ดาวบาปเคราะห์
  • ในระบบ อายตนะ 6 (เป็นการนำกำลังของดาวมาพิจารณาประกอบ กับอักษรวรรคต่างๆ แล้วคำนวณ) ควรเลือกชื่อที่คำนวณได้เลข 1 2 6 7 8 9
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook