คาถาอธิษฐานขอพร เสด็จพ่อ ร.5 แต่ห้ามบนบาน!

คาถาอธิษฐานขอพร เสด็จพ่อ ร.5 แต่ห้ามบนบาน!

คาถาอธิษฐานขอพร เสด็จพ่อ ร.5 แต่ห้ามบนบาน!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว sปวงชนชามไทยมักเรียกท่านว่า เสด็จพ่อ ร.5   "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" โดยวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเป็น "วันปิยมหาราช" เป็นช่วงเวลาที่ผู้ที่เคารพนับถือ สมเด็จพระปิยมหาราช ต่างพากับไปถวายเครื่องสักการะ เพื่อขอพรให้ท่านคุ้มครอง

แต่การไหว้สักการะที่หลายคนอาจเข้าใจผิด หรืออาจทำด้วยความคุ้นชิน คือไหว้ขอพรพร้อมบนบานศาลกล่าว เช่น ขอให้ได้สิ่งหนึ่งหากได้ดังหวังจะนำสิ่งของบางอย่างมาถวาย ซึ่งมักเอ่ยกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบ้าน หรือองค์เทพต่าง ๆ ที่นับถือ แต่การไหว้สักการะองค์เสด็จพ่อร. 5 เป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์เทิดพระเกียรติแสดงถึงความจงรักภักดีต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โบราณจารย์จึงแนะให้ผู้กราบไหว้ สักการะด้วยจิตตั้งมั่นและอธิษฐานขอพร โดยมิต้องบนบานแต่อย่างใด ดังพระคาถานี้

พระคาถาอธิษฐานขอพร เสด็จพ่อ ร.5  (ห้ามบนบาน)

"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง"

จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด

ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์

ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

"ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ)

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่งๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่งๆ ขึ้น"

หลายท่านตั้งโต๊ะสักการะ เสด็จพ่อ ร.5  ไว้ที่บ้าน สามารถสวดบูชาควรได้ทุกวัน หากไม่ได้บูชาทุกวันเพราะมีกิจจำเป็นก็ให้บูชาทุกวันอังคาร (ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์) และวันพฤหัสบดี (ซึ่งเป็นวันครู) และควรบูชาในทุกวันพระเป็นประจำทุกวันพระก็ได้ แต่หากทำอย่างต่อเนื่องจักเป็นมงคลต่อชีวิตอย่างยิ่ง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook