ภาพนี้คือ “เป็ด” หรือ “กระต่าย” กับความคิดสร้างสรรค์ของคุณ
จากภาพข้างต้น คุณเห็น “เป็ด” หรือ “กระต่าย”
นักจิตวิทยาจะมักจะใช้ภาพเป็นตัวกระตุ้นในการศึกษาเกี่ยวกับอารมณ์ ซึ่งแบบทดสอบต่อไปนี้จะช่วยตรวจสอบถึงบุคลิกภาพของคุณได้อย่างรอบคอบมากขึ้น โดยภาพที่คุณเห็นข้างต้นปรากฏครั้งแรกบนหน้านิตยสารของเยอรมนีในปี 1892 ในอีก 7 ปีต่อมา หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นหลังจากโจเซฟ แจสโทรว์ (Joseph Jastrow) ได้ทำงานของเขา ในการพยายามพิสูจน์ว่าผู้คนไม่ได้มองเห็นภาพนี้ด้วยตาเท่านั้น ซึ่งจากภาพข้างต้น คุณเห็นภาพ “เป็ด” หรือ “กระต่าย” ก่อนกัน
คนส่วนใหญ่จะเห็นเป็ดก่อน แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด เพราะจากงานที่แจสโทรว์พบ สิ่งสำคัญคือคนเราสามารถเปลี่ยนคำตอบได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ กล่าวคือ จากที่คุณเห็นเป็ดอยู่ คุณสามารถปรับเปลี่ยนสายตาของตนเองให้เห็นเป็นกระต่ายได้แทบจะทันทีหรือไม่ หากคุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสัตว์ทั้งสองออกได้อย่างง่ายดาย ก็แสดงว่าคุณเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง
และเมื่อไม่นานมานี้ ริชาร์ด ไวส์แมน (Richard Wiseman) นักจิตวิทยาอีกคนหนึ่งที่สนใจภาพนี้ เขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าคนที่มองเห็นภาพนี้สลับไปมาระหว่างเป็ดกับกระต่ายได้อย่างรวดเร็วนั้น เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยม การที่มนุษย์สามารถเปลี่ยนการมองเห็นจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่งได้นั้น เผยให้เห็นถึงขอบเขตของความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ นักจิตวิทยาอ้างว่าในขณะที่ภาพที่เราเห็นเปลี่ยนไป สมองส่วนที่ทำหน้าที่ด้านความคิดสร้างสรรค์จะจุดไฟความคิดให้สว่างขึ้น
ขั้นตอนต่อไปในการทดลอง คือ การตั้งคำถาม โดยผู้เข้ารับการทดสอบจะถูกขอให้ช่วยบอกชื่อของสิ่งของที่ใช้งานทั่วไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ จากสถิติพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่สามารถมองภาพดังกล่าวเปลี่ยนสลับไปมาระหว่างเป็ดกับกระต่ายได้อย่างง่ายดาย จะมีคำตอบที่หลากหลายกว่า
ยังไงก็ตาม แจสโทรว์ยังสังเกตเห็นอีกว่าภาพสัตว์ที่คนเห็นเป็นครั้งแรกจากภาพนี้ มีความสัมพันธ์กับสภาวะทางอารมณ์ของผู้คนและฤดูกาลด้วย ในฤดูใบไม้ผลิ คนส่วนใหญ่จะเห็นกระต่าย ในขณะที่ถ้าเป็นฤดูใบไม้ร่วง คนส่วนใหญ่จะเห็นเป็ด
ดังนั้น การทดสอบการมองเห็นภาพข้างต้นนี้ จึงพิสูจน์ว่าคนเราไม่ได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตาของเราเองเท่านั้น แต่ยังมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ด้วยสมองด้วย ดังนั้น เราจึงรับรู้สิ่งรอบตัวของเราผ่านทางปริซึมของประสบการณ์ของตัวเองเท่านั้น