วันเหมายัน 22 ธันวาคม 2566 กลางวันสั้น กลางคืนยาวสุดในรอบปี
Thailand Web Stat

วันเหมายัน 22 ธันวาคม 2566 กลางวันสั้น กลางคืนยาวสุดในรอบปี

วันเหมายัน 22 ธันวาคม 2566 กลางวันสั้น กลางคืนยาวสุดในรอบปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุ “วันเหมายัน” (Winter Solstice) หรือที่คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” เป็นวันที่มีเวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี โดยจะเกิดขึ้นในช่วงประมาณวันที่ 21-22 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งในปีนี้จะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม 2566

วันเหมายัน คือวันอะไร

วันเหมายัน (อ่านว่า เห-มา-ยัน) คือ วันที่มีช่วงเวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด คนไทยเรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว"

การเกิดปรากฎการณ์ "เหมายัน" (อ่านออกเสียงว่า เห-มา-ยัน) นี้ เกิดขึ้นจากดวงอาทิตย์เคลื่อนมาในตำแหน่งเฉียงไปทางทิศใต้มากที่สุดในวันเหมายันของแต่ละปี ทำให้มีเวลากลางวันที่สั้นที่สุด และเวลากลางคืนยาวนานที่สุด

สำหรับ "วันเหมายัน" ในปี 2566 ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06.36 น. และจะตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 17.55 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาที

นอกจากนี้ วันเหมายัน ยังถือเป็นวันแรกของการเข้าสู่ฤดูหนาวสำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ แต่สำหรับประเทศทางซีกโลกใต้นั้นจะนับเป็นวันแรกที่เข้าสู่ฤดูร้อน

สำหรับ "ฤดูกาล" บนโลก เกิดจากแกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วย เหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั่นเอง สังเกตได้ว่าในฤดูร้อนดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า เวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน แตกต่างกับฤดูหนาวที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน

Advertisement

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่

  1. วันครีษมายัน (Summer Solstice) เป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุด
  2. วันเหมายัน (Winter Solstice) เป็นวันที่กลางคืนยาวนานที่สุด
  3. วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) เป็นวันที่มีกลางวัน และกลางคืนยาวนานเท่ากัน
  4. วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) เป็นวันที่มีกลางวัน และกลางคืนยาวนานเท่ากัน

ความเชื่อของวันเหมายัน

  • ที่กองหินสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) อนุสรณ์สถานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่กลางทุ่งราบซัลลิสเบอร์รี (Salisbury Plain) บริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ จะมีผู้คนที่มีความเชื่อที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่ยุคชาวดรูอิดไปรวมตัวกันเพื่อรับแสงอาทิตย์ของวันที่สู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ
  • คนจีน “เหมายัน” ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ฤดูหนาวที่เป็นมงคล โดยในอดีต คนจีนให้ความสำคัญเสมือนเทศกาลสิ้นปี เรียกว่า เทศกาลตังโจ่ย (วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว) จะมีการกินขนมที่มีหน้าตาคล้ายบัวลอยเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และมีการทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล
  • ขณะที่ความเชื่อของอินเดียนั้น ฤดูหนาว เป็นฤดูของปรโลก ไม่ถือว่าเป็นมงคล เป็นช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนาน จึงไม่มีการเฉลิมฉลองใด ๆ แต่จะมีการฉลองเมื่อพระอาทิตย์เริ่มย้ายขึ้นเหนือ เข้าสู่ราศีมังกร ที่เรียกว่า “มกรสงกรานติ” โดยจะมีการทำความสะอาดบ้าน และห้องครัว หรือเล่นว่าวเฉลิมฉลอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้