ตำนาน "พญาปุริสาท" มหาอำมาตย์คู่บารมี “ท้าวเวสสุวรรณ”

ตำนาน "พญาปุริสาท" มหาอำมาตย์คู่บารมี “ท้าวเวสสุวรรณ”

ตำนาน "พญาปุริสาท" มหาอำมาตย์คู่บารมี “ท้าวเวสสุวรรณ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"พญาปุริสาท" กลายเป็นที่กล่าวขานอย่างแพร่หลายในโลกโซเชียล แต่ออกแนวตื่นตะลึงกับภาพลักษณ์แปลกตาของรูปปั้นเทพร่างกำยำหน้าประตู  เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยพระฌาน จ.ลำปาง กล่าวว่าเป็นพญาปุริสาท ตั้งใจสร้างตามมุมมองทางศิลปะ แต่ถึงอย่างนั้นหลายคนเข้าใจผิดคิดว่า พญาปุริสาท เป็นพญาครุฑตนหนึ่งในตำนาน หรืออาจไม่เคยได้รู้ได้ยินชื่อนี้มาก่อน  ครั้งนี้ Sanook Horoscope จึงชวนทุกท่านมาความรู้จักกับ พญาปุริสาท ให้มากขึ้น 

พญาปุริสาท วัดพระธาตุดอยพระฌาน จ.ลำปาง พญาปุริสาท วัดพระธาตุดอยพระฌาน จ.ลำปาง

"พญาปุริสาท" คือใคร มาจากไหน

คนไทยบูชาท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ หรือท้าวกุเวร หนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ เทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนาและพุทธสถานทางทิศเหนือ และเป็นอธิบดีแห่งอสูรขจัดภูติผีปีศาจ ในตำนานทั้งตามคติพราหมณ์และพุทธกล่าวถึงท้าวเวสสุวรรณในแง่ เทพเจ้าแห่งโภคทรัพย์  อาศัยอยู่ในดินแดนมหาทรัพย์บนภูเขาไกลาส มีสระโบกขรณี มีบัวอันหอมประหลาด พรั่งพร้อมด้วยบริวารคือ เหล่ายักษ์และรากษสนับล้านตน ผู้คนจึงหันมาบูชาท้าวเวสสุวรรณเพื่อส่งเสริมตนเรื่องโชคลาภ นอกเหนือจากพุทธคุณที่ช่วยขจัดภัยให้แคล้วคลาดปลอดภัย

ด้วยความเชื่อนี้ ท้าวเวสสุวรรณจึงเป็นที่พึ่งทางใจอย่างแพร่หลาย มีการจัดสร้างรูปเคารพบูชาหลายแห่ง แต่มิได้กล่าวถึงบริวารที่เกี่ยวข้องมากนัก กระทั่งไม่กี่ปีหลังมานี้จึงเริ่มเห็นชื่อพญาปุริสาทนอกแวดวงวัตถุมงคลอย่างชัดเจน ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นผลมาจากช่วงปี 2564 อาจารย์โอเล่ ญาณสัมผัส ได้กล่าวถึงมหาอำมาตย์สำคัญของท้าวเวสสุวรรณ นั่นคือ พญาปุริสาท ผ่านการไลฟ์สดและรายการ The ghost secret ไขความลับโลกวิญญาณ ด้วยเห็นว่าคนไทยบูชาท้าวเวสสุวรรณกันมาก แต่ไม่บังเกิดผลดีต่อหลาย ๆ กรณี รวมทั้งคนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก พญาปุริสาท จึงให้ข้อมูลเป็นระยะเพื่อสืบสานความเชื่อตามตำนาน

อาจารยฺโอเล่เล่าว่า พญาปุริสาท คือบริวารเทพยักษ์กึ่งสิงห์ ซึ่งเสมือน “เลขา” หรือ “มือขวา” ของท้าวเวสสุวรรณ เป็นผู้ถือกุญแจขุมทรัพย์ ดูแลบัญชีบุญเก่ากุศลเดิมของเหล่าเวไนยสัตว์ และกินภูติผีปีศาจร้าย คนโบราณนิยมบูชาท้าวเวสสุวรรณและบูชาพญาปุริสาทด้วย เป็นเคล็ดในการบูชาหากบุญตนไม่ถึงพร้อมหรือไม่เหมาะแก่การบูชาท้าวเวสสุวรรณ ทั้งเป็นการอาศัยบริวารให้ช่วยส่งสารคำอธิฐานของตนไปถึงท่าน และเชื่อกันว่าพญาปุริสาทกินอาถรรพ์ กินภูติผีปีศาจเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงบริวารนรสิงห์ที่อยู่ในครึ่งล่างของตน ผู้บูชาจะปลอดภัยจากผีร้าย คุณไสย มนต์ดำ แก้เสนียดจัญไรในชีวิต

 พญาปุริสาท วัดสะตือเจีย์งาม จ.สระบุรี The ghost secret พญาปุริสาท วัดสะตือเจีย์งาม จ.สระบุรี

"พญาปุริสาท" มิใช่พญาครุฑ

ในปีเดียวกันอาจารย์โอเล่ร่วมกับพิธีกรและศิลปินที่มีความเชื่อความศรัทธาจัดสร้างประติมากรรม องค์พญาปุริสาท และบวงสรวงตามโบราณประเพณีมอบถวายให้แก่วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วัดสำคัญที่เต็มไปด้วยความศรัทธาของผู้คนที่มีต่อท้าวเวสสุวรรณ สร้างแล้วเสร็จและจัดพิธีบวงสรวงถวายพญาปุริสาท ในเดือนมกราคม 2565  ปัจจุบันพญาปุริสาทประดิษฐานอยูข้างท้าวเวสสุวรรณที่นิยมไปกราบไหว้ แต่หลายท่านที่ไปวัดจุฬามณีอาจไม่ทันได้สังเกต อาจารย์โอเล่ยังสร้างพญาปุริสาทถวายให้กับวัดอีกหลายแห่งในหลายจังหวัด (โดยมิได้ปล่อยเช่าบูชาวัตถุมงคลแต่อย่างใด)

อาจารย์โอเล่ ญาณสัมผัส The ghost secret อาจารย์โอเล่ ญาณสัมผัส และพญาปุริสาทที่จัดสร้างถวายวัดสะตือเจีย์งาม จ.สระบุรี

รูปลักษณ์องค์พญาปุริสาทตามที่มีการจัดสร้างถวายวัด ร่างกายครึ่งบนเป็นมนุษย์มีเขี้ยวดั่งยักษ์ทรงเครื่องทอ อุ้งมืออุ้งเท้าและครึ่งล่างเป็นสิงห์ ข้างหนึ่งเหยียบหีบสมบัติ อีกข้างเหยียบหัวกะโหลกข่มอาถรรพ์

นอกจากคำเล่าขาน ข้อมูลที่ค้นพบทางออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารของวัดหลายแห่งที่มีการจัดสร้างตั้งพิธีเบิกเนตรพญาปุริสาทมากขึ้น เช่นเดียวกับการเช่าบูชาในรูปแบบวัตถุมงคลที่มีการออกแบบแตกต่างกันไป โดยกล่าวถึงพุทธคุณของพญาปุริสาทในด้านการป้องกันภูติผี บัลดาลโชคลาภแก่ผู้บูชาเป็นหลัก 

เชื่อกันว่าสัญลักษณ์เทพตรงฐานท้าวเวสสุวรรณคือพญาปุริสาทเชื่อกันว่าสัญลักษณ์เทพตรงฐานท้าวเวสสุวรรณคือพญาปุริสาท

เทพพิทักษ์ไล่อสูร

ยักษ์ในพุทธสถานในประเทศไทยพบเห็นได้ทั่วไปทั้งประติมากรรมและภาพจิตรกรรม ยักษ์กึ่งเทพ ยักษ์แบก ยักษ์มีปีก ตามแต่ที่มา หากระบุเฉพาะรูปลักษณ์ที่เชื่อว่าเป็น พญาปุริสาท หาพบได้น้อยในวัดภาคกลาง เล่ากันว่า พบเห็นได้มากตามวัดในภาคเหนือหรือทางล้านนาที่เชื่อมโยงกับมอญพม่ามาแต่ครั้งก่อน ทั้งในลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ ขึ้นไปจนถึงมหาเจดีย์ทองคำชเวดากอง และวัดสำคัญในเมืองต่าง ๆ ที่พม่า ต่างมีปูนปั้นลักษณะคล้ายกันคือเทพกึ่งมนุษย์กึ่งสิงห์ ที่เชื่อว่าเป็นพญาปุริสาท อันเป็นสัญลักษณ์ว่าท้าวเวสสุวรรณได้ส่งบริวารมาคุ้มครองปกปักษ์รักษาวัดแห่งนั้น

จิตรกรรมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แสดงถึงบริวารจตุโลกบาลทั้งสี่จิตรกรรมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แสดงถึงบริวารจตุโลกบาลทั้งสี่

ในมุมประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีเรียกรูปปั้นเหล่านี้ว่า “มนุษย์กึ่งสิงห์” ที่สันนิษฐานว่าอาจมีรากความเชื่อเดียวกับสฟิงซ์ของอียิปต์ ที่สร้างไว้ในสถานที่สำคัญเพื่อปกป้องภยันตรายด้วยเช่นกัน มนุษย์กึ่งสิงห์ในพม่ามีตำนานเทพพิทักษ์ปกป้องพระพุทธศาสนาที่แตกต่างจากสิงห์เฝ้าวัดทั่วไป พบบันทึกกล่าวว่าเป็นร่างแปลงของพระอรหันต์เพื่อขับไล่ผีกินเด็กหรืออสูรร้าย คนมอญเรียก "มนุสสีหะ" รูปลักษณะมีลำตัวเป็นสิงห์ มีหัวเป็นมนุษย์สวมชฎา คนมอญโบราณใช้ใบลานทำสัญลักษณ์มนุษย์สีหะแขวนบนเปลทารกที่เกิดใหม่ สอดคล้องกับความเชื่อคนไทยที่มียันต์ “แม่ซื้อ”เป็นภูตประจำตัวเด็ก หรือมียันต์ท้าวเวสสุวรรณ ช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้าย 

ประติมากรรม วัดผาลาด  จังหวัดเชียงใหม่iStockประติมากรรม วัดผาลาด จังหวัดเชียงใหม่

 

มนุสสีหะ ในวัดพม่าiStockมนุสสีหะ ในวัดพม่า

มนุสสีหะ เจดีย์ชเวดากองiStockมนุสสีหะ เจดีย์ชเวดากอง พม่า

แม้ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า พญาปุริสาท คือตนเดียวกับมนุสสีหะ หรือตรงกับประติมากรรมในพุทธศาสนาที่สร้างในรุ่นหลังนี้หรือไม่ แต่หากตำนานความเชื่อที่เล่าขานนำสู่กุศลหนทางสว่าง ย่อมเกิดประโยชน์แก่ผู้มีความศรัทธาทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามอาจารย์โอเล่ย้ำว่า ผู้มีความเชื่อความศรัทธา มิควรยึดพญาปุริสาทเป็นสรณะ แต่การหมั่นทำความดีสะสมบัญชีบุญสำคัญกว่าสิ่งใด

 

การบูชาพญาปุริสาท  

อาจารย์โอเล่กล่าวว่าการบูชาเทพ ถ้าขอได้ไหว้ถูกก็รุ่งเรืองได้เหมือนกัน การบูชาเทวดานั้นดี หากจิตเราถึงก็ยิ่งถือว่างอกเงยงอกงาม ส่วนการบูชาท้าวปุริสาทนั้น เปรียบได้กับการบูชาปี่เซียะที่ช่วยเรียกทรัพย์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย หากเลือกบูชาสามารถตั้งไว้หน้าบ้านก็ได้ หรือไว้ที่ห้องพระก็ได้ แนะนำให้สวดบูชาคาถาชินบัญชร ซึ่งมีพลานุภาพมาก หรือเป็น คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร หรือ บทสวดพาหุงมหากา ก็ได้เช่นกัน

คาถาบูชาพญาปุริสาท

พุทธัง ธัมมัง สังฆัง
อาราธนานัง โอม ปุริสาท
เทวะ อมาตยักขา
อนุรักข้นตุ ยักขะเทวามหา
ลาโภ มหาอิทธิโย มหาปัญโญ
ประสิทธิเมโอมตะถานุ เสวะ
กะนัง สัพเคราะห์ สัพโศก
สัพภัย วินาศสันตุ

คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร

(ตั้งนะโม 3 จบ)

ปัญจะมาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
จะตุสัจจัง ปะกาเสติ ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง
(สวด 9 จบ) 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook