ขั้นตอนถวายเทียนพรรษา พร้อมคําถวายเทียนพรรษา

ขั้นตอนถวายเทียนพรรษา พร้อมคําถวายเทียนพรรษา

ขั้นตอนถวายเทียนพรรษา พร้อมคําถวายเทียนพรรษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)

การถวายเทียนพรรษา เป็นกิจกรรมที่สำคัญในวัฒนธรรมพุทธศาสนิกชน ทำในวันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนาของไทย ซึ่งเริ่มต้นมาจากวันอาสาฬหบูชา พระสงฆ์จะอยู่พักตัวในวัดหนึ่ง 3 เดือนในช่วงฤดูฝน และไม่ค้างแรมที่อื่น วันเข้าพรรษาจะเริ่มต้นขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี พุทธศาสนิกชนจะถวายผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์ ดังนั้น วันนี้เราจึงอยากแนะนำ ขั้นตอนการถวายเทียนพรรษา และคําถวายเทียนพรรษา ดังนี้

วิธีการถวายเทียนพรรษา

วิธีการถวายเทียนพรรษาคือสิ่งสำคัญที่ศึกษาและทำควบคู่กันอย่างเต็มที่ ในขั้นตอนของการถวายเทียนพรรษา มีประเพณีและวิธีการหลายแบบ มาติดตามดูเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภณีดังนี้

  1. การถวายเทียนพรรษาตามประเพณีหลวง

    ประเพณีหลวง หรือการพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา คือ พระมหากษัตริย์ทรงหล่อเทียนพรรษาด้วยพระองค์เอง จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินทรงจุดบูชาพระรัตนตรัย เฉพาะพระอารามหลวงที่สำคัญ หรือโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์

  2. การถวายเทียนพรรษาตามประเพณีราษฎร

    ประเพณีราษฎรหรือเรียกกันติดปากว่า "เทียนพรรษา" คือ ประชาชนหรือพุทธศาสนิกชนทำเทียนพรรษาด้วยตนเอง มักจะแบ่งเทียนออกเป็น 2 ประเภทคือ เทียนพรรษาที่สามารถจุดไฟได้และเทียนพรรษาที่ไม่สามารถจุดไฟได้ โดยเทียนพรรษาที่ไม่สามารถจุดไฟได้นั้นมักใช้เพื่อการประกวดหรือเป็นการถวายเท่านั้น

ขั้นตอนในการถวายเทียนพรรษามีดังนี้

  1. เตรียมเทียนพรรษาที่ต้องการถวาย
  2. นิยมถวายเทียนพรรษาในวันเข้าพรรษาหรือก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน
  3. เดินทางไปวัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ต้องการถวาย
  4. พบพระสงฆ์และแจ้งความประสงค์ว่าต้องการถวายเทียนพรรษา
  5. พระสงฆ์จะรับเทียนพรรษา
  6. ผู้ที่ถวายเทียนพรรษาจะกล่าวคำถวายเทียนพรรษา
  7. พระสงฆ์จะจุดเทียนพรรษาและอธิษฐานจิตให้ผู้ที่ถวายเทียนพรรษา
  8. ผู้ถวายเทียนพรรษาจะกรวดน้ำและรับพรจากพระสงฆ์

คำถวายเทียนพรรษา

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)

ยัคเฆ ภันเต, สังโฆ ปะฏิชานาตุ,
มะยัง ภันเต, เอตัง ปะทีปะยุคัง,
สะปะริวารัง, เตมาสัง, พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ,
อิมัสสะหมิง อะโปสะถาคาเร, นิยยาเทมะ, สาธุ โน ภันเต,
อะยัง เตมาสัง, พุทธัสสะ, ปูชะนัตถายะ, ปะทีปะยุคัสสะ,
ทานัสสะ, อานิสังโส, อัมหากัญเจวะ,
มาตาปิตุอาทีนัญจะ, ปิยะชะนานัง, ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์โปรดรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวายเทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ อุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออานิสงส์แห่งการถวายคู่เทียน เพื่อเป็นพุทธบูชา ตลอดพรรษานี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ

กำเนิดเทียนพรรษา

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นับถือวัวเพราะถือว่า วัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ  แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้ง ร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็น ศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ

เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน

เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)

อานิสงส์ของการถวายเทียนพรรษา

  • ทำให้เกิดปัญญา สว่างไสว
  • ชีวิตรุ่งเรือง
  • ครอบครัวอบอุ่น
  • มีอายุยืนยาว
  • ประสบพบแต่ความสุขความเจริญ

การถวายเทียนพรรษาเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ นอกจากจะทำให้เราได้รับอานิสงส์มากมายแล้ว ยังเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของชาวพุทธอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook