พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเวียนเทียน คือการเดินเวียนรอบปูชนียสถานสำคัญ เช่น อุโบสถ วิหาร หรือพระพุทธรูป เพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในวันสำคัญต่างๆ โดยใช้เทียนธูปและดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชา ถือไว้ในมือแล้วเดินเวียน 3 รอบ

ขณะที่เดินรอบนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบท "อิติปิโส" ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ
เนื้อหา

 

 

ประวัติพิธีเวียนเทียน

พิธีการเวียนรอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถานเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนั้น ไทยได้รับคตินี้มาจากอินเดียพร้อมกับพระพุทธศาสนา โดยปรากฏหลักฐานการแสดงความเคารพโดยการเวียนเทียนในพระไตรปิฎก ซึ่งใช้คำว่าเวียนประทักษิณาวัตร คือเวียนขวา 3 รอบ เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างสูงสุด

ไทยได้รับคตินิยมนี้มาและปรับประยุกต์ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทยโดยนำมาใช้เป็นการแสดงความบูชาต่อพระรัตนตรัยมาตั้งแต่โบราณ มีหลักฐานปรากฏเป็น "ฐานประทักษิณ" สำหรับการกระทำพิธีเวียนเทียน ในโบราณสถานทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี รวมทั้งปรากฏข้อความในพงศาวดารว่ามีการกระทำพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน...โดยพระภิกษุถือดอกไม้ธูปเทียนนำเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

การเวียนเทียน วัดต่าง ๆ มักกำหนดให้เวียนรอบปูชนียสถานสำคัญของวัด เช่นโบสถ์หรือพระเจดีย์

การจัดพิธีเวียนเทียนในปัจจุบัน

"การเวียนเทียน" ในปัจจุบันจะกระทำกันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันอัฏฐมีบูชา

 


ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก wikipedia

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook