ตั้งพระหน้ารถ หันเข้าหรือหันออก หันหน้าพระไปทางไหนดี?

ตั้งพระหน้ารถ หันเข้าหรือหันออก หันหน้าพระไปทางไหนดี?

ตั้งพระหน้ารถ หันเข้าหรือหันออก หันหน้าพระไปทางไหนดี?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตั้งพระหน้ารถหันเข้าหรือหันออก หันหน้าพระไปทางไหนดี แบบไหนดีที่สุด?   

ตั้งพระหน้ารถหันเข้าหรือหันออกกันแน่นะ? ตั้งพระหน้ารถอย่างไรดี? คำถามที่หลายคนสงสัยเพราะผู้ขับขี่มีความเชื่อเรื่องการตั้งพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์หน้ารถยนต์ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย แต่มีวิธีการตั้งพระที่แตกต่าง ทั้งหันหน้าพระออกไปทางหน้ารถ บ้างหันหน้าพระเข้าทางห้องโดยสาร รวมถึงคล้องแขวนกับกระจกมองหลัง แต่แบบไหนจึงเรียกว่าดีและถูกต้อง

Sanook Horoscope สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวมถึงสอบถามผู้ขับขี่หลากหลาย ทั้งผู้ใช้รถทั่วไป คนขับแท็กซี่ นักธรรมเปรียญธรรม 9 ประโยค รวมถึงพระภิกษุสงฆ์ ในหลักการตั้งพระหน้ารถของคนไทยได้ข้อมูลที่หลายหลาย สรุปได้ดังนี้

ตั้งพระหน้ารถหันออกไปทางถนน ตั้งพระหน้ารถหันออกไปทางถนน

ตั้งพระหน้ารถหันออก หันหน้าพระไปทางถนน

ตั้งพระหน้ารถหันออก หันหน้าพระไปทางถนน เป็นการตั้งพระความเชื่อ หนึ่งคือ เชื่อตามหลักฮวงจุ้ย ที่มีข้อแนะนำว่าการตั้งหิ้งพระที่ดี นอกเหนือจากการจัดทิศมงคล ควรให้หิ้งพระหันออกนอกบ้าน เพื่ออาศัยบารมีแห่งความศักดิ์สิทธิ์ให้ท่านได้มองเห็นผู้อาศัยทั้งเข้าและออกและคุ้มครองผู้อยู่และสถานที่ สองคือ เชื่อว่าตั้งพระให้คุ้มครองตน ให้พระหันหน้าออกเหมือนกับการคล้องสร้อยพระที่คอ มักหันหน้าพระออกนอกเสมอ เมื่อตั้งหน้ารถบริเวณบนคอนโซลหน้ารถจึงมีความเชื่อนี้เช่นเดียวกัน หันหน้าพระออกเพื่อให้ท่านมองเห็นภัยเบื้องหน้าและช่วยปกป้องให้การเดินทางปลอดภัย แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ

ตั้งพระหน้ารถหันเข้า หันหน้าพระมายังห้องโดยสารตั้งพระหันหน้าเข้ามายังห้องโดยสาร

ตั้งพระหน้ารถหันเข้า หันหน้าพระมายังห้องโดยสาร

ตั้งพระหน้ารถหันเข้า หันหน้าพระมายังห้องโดยสารหรือผู้ขับขี่ เป็นการตั้งพระตามหลักปฏิบัติพุทธบูชา  คือ การกราบระลึกถึงพุทธคุณย่อมปฏิบัติต่อหน้าองค์พระ เช่นเดียวกับการกราบไหว้พระพุทธรูปในอุโบสถ หรือโต๊ะหมู่บูชาในบ้าน เมื่อเข้าห้องโดยสารได้เห็นองค์พระจึงยกมือกราบไหว้ หรือเพียงเห็นก็เป็นการเตือนสติให้รู้ตัวทั่วพร้อม นำสู่การขับขี่อย่างมีสติ นำมาซึ่งความแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุทั้งปวง

พระในรถพระในรถ พระในรถพระในรถ

ติดตั้งพระในจุดต่างๆ ภายในรถ

ติดตั้งพระในจุดต่างๆ ภายในรถ เป็นการติดตั้งตามความสะดวกใจ บ้างเน้นการหลบเลี่ยงแสงแดดที่ส่องมายังคอนโซลหน้ารถเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้พระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชำรุดทรุดโทรมได้ง่าย หากเป็นองค์ลอยอาจเลี่ยงติดตั้งหน้าแผงไมค์ หลังพวงมาลัย บ้างติดไว้ที่บังแดดด้านบนเพื่อให้อยู่เหนือศีรษะ บ้างติดบนเพดานโถงโดยสาร ด้วยถือเป็นจุดสูงสุดของรถ ขึ้นอยู่กับลักษณะของวัตถุมงคลนั้น ๆ  เช่น เหรียญ พระเครื่อง หรือภาพถ่าย หากเป็นวัตถุมงคลสำหรับแขวน มักแขวนที่กระจกมองหลัง

เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการตั้งพระหน้ารถหรือพระในรถค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับหลักความเชื่อส่วนบุคคล ไม่มีตำราอ้างอิงใด ๆ ที่ระบุหรือตัดสินว่าแบบไหนถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับความเชื่อความศรัทธาเฉพาะตน แต่หากจิตระลึกรู้ถึงสิ่งนั้นแล้วเกิดสตินับว่าความศักดิ์สิทธิ์ตั้งมั่นที่ใจ จะตั้งองค์พระจุดใดก็ไม่สำคัญ เพราะผู้ขับขี่ไม่สามารถอาศัยเพียงแรงพุทธคุณหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ความระมัดระวังในการขับขี่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด

ตั้งพระหน้ารถหันเข้าและหันออกตามสะดวกใจตั้งพระหน้ารถหันเข้าและหันออกตามสะดวกใจ

อ่านเพิ่มเติม

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook