รู้จัก โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร โหรรุ่นใหม่ที่ท่านเรวัช บอกว่าแม่น!

รู้จัก โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร โหรรุ่นใหม่ที่ท่านเรวัช บอกว่าแม่น!

รู้จัก โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร โหรรุ่นใหม่ที่ท่านเรวัช บอกว่าแม่น!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำความรู้จัก โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร โหรรุ่นใหม่ที่ ท่านเรวัช กล่าวชื่นชมและบอกว่าแม่น!

หลังจาก ท่านเรวัช พลตำรวจโท เรวัช กลิ่นเกษร เจ้าของฉายา มือปราบขุนดง ไลฟ์สดในโลกเชียลโดยช่วงหนึ่งกล่าวชื่นชมถึงบุคคลหนึ่งว่า “ผมว่าไอ่หมอคนนี้มันดูแม่นนะ...ผมก็ไม่รู้ชื่อ..หมอลักยิ้มอะไร หมอภัทรอะไร ไอ่หมอหนุ่มนี่ ผมดูมันเข้าท่า ความรู้ดี เรื่องตำราโหร”

ท่านเรวัชเล่าด้วยว่า ตนเป็นคนชอบดูหมอดูทำนาย ดูแล้วก็จดไว้เพื่อมาดูว่าเรื่องไหนเกิดขึ้นจริง โหรลักยิ้มคนนี้เป็นผู้มีความรู้เรื่องโหราศาสตร์และทำนายได้แม่นยำ เคยทำนายไว้ว่าดวงพิธา ลิ้มเจริญรัตน์  ไม่ได้เป็นนายกจนทัวร์ลง แล้วก็เป็นอย่างนั้นจริง ทำเอาชาวเนตตามหาว่า โหรลักยิ้มคือใคร จากนั้นชาวเนตที่ยังไม่รู้จักจึงค้นหาชื่อ โหรลักยิ้ม เพื่อติดตามกันรัว ๆ Sanook Horoscope จึงพาทุกคนมาทำความรู้จัก

โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร คือใคร

บุคคลที่ท่านเรวัชเล่าถึงคือ โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร มีชื่อเล่นว่า ฟลุ๊ค มีฉายาว่า “โหรลักยิ้ม” เพราะมีลักยิ้มเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เจ้าของช่องติ๊กต่อก โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร (@flukepatsmile) มีผู้ติดตามกว่า 5 แสนคน หลังได้รับคำชมจากท่านเรวัช ผู้ติดตามก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก จนอาจารย์ภัทร ต้องออกมากล่าวขอบคุณท่านเรวัชที่เมตตากล่าวถึง มีผู้ติดตามใหม่จนแชทแทบแตก

โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร 

แชร์ความรู้ “โหราศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องงมงาย”

อาจารย์ภัทรอธิบายในช่องอย่างชัดเจนว่า ช่อง โหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร ไม่ใช่ช่องดูดวง แต่เป็นช่องที่ให้ความรู้เรื่องโหราศาสตร์ เนื่องจากตนไม่อยากให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องงมงาย และเล่าที่มาที่ไป

“เจตนาของการเปิดช่องนี้ สำหรับ FC ที่เพิ่งทักเข้ามา ต้องเข้าใจก่อนว่าช่องนี้ไม่ใช่ช่องดูดวงแต่เป็นช่องที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโหราศาสตร์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีความจำเป็นไม่ต้องทักมาดูดวงนะครับ

เจตนาของการเปิดช่องนี้ก็คือ ไม่อยากให้การดูดวงกลายเป็นเรื่องงมงาย เพราะเดี๋ยวนี้มิจฉาชีพเยอะ ผมแค่อยากเผยแพร่ว่าการดูดวงแบบโหราธิบดีท่านดูดวงยังไง ในสมัยวัยเด็ก ผมเติบโตมาในครอบครัวของข้าราชการพ่อเป็นทหารมหาดเล็ก คุณแม่เป็นอาจารย์ (ปัจจุบันคุณพ่ออายุ 90 คุณแม่อายุ 77 ปี) ซึ่งการท่องตำรับตำรา เป็นเรื่องปกติในชีวิตผมมาก หลักๆ ก็จะมีการฟังธรรมะ อ่านพระไตรปิฎก แต่แน่นอนว่าเมื่อเราอยู่ทางโลกเราก็ต้องเรียนวิชาอื่นควบคู่ไปด้วย ที่คุณพ่อคุณแม่ผมให้เรียน เหตุเป็นเพราะว่าเป็นหนึ่งใน 18 วิชาที่กษัตริย์อินเดียโบราณเรียน แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ และปรินิพพาน ก็ได้เรียน 18 วิชานี้”

อาจารย์ภัทร เล่าต่อว่า หนึ่งใน 18 วิชา ก็คือ โหราศาสตร์ “รากเหง้าของวิชาโหราศาสตร์ ก็คือ การดูนาฬิกา คนสมัยโบร่ำโบราณไม่มีนาฬิกา แต่เราจะรู้โมงยามได้อย่างไร วิชานี้คือวิชาการวางเวลา การมองเวลา การเข้าใจเวลา คนเมื่อก่อนต้องดูพระอาทิตย์ ดูพระจันทร์ พอคนเก่งขึ้นมา ก็ดูดาวดวงอื่นไปด้วยเท่านั้นเอง”

ดวง คือ ธรรมชาติ
โหราศาสตร์ คือ ตำรา

อาจารย์ภัทรอธิบายว่า ดวง เท่ากับ ดวงดาวชีวิต เป็นดั่งสัตว์ที่ออกหากิน คนธรรมดาดูฤกษ์อาทิตย์ ผู้มีความรู้ดูฤกษ์พระจันทร์ โหรดูฤกษ์ดาวนพเคราะห์  สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “ธรรมะ+ชาติ”  ชาติ ก็คือการเกิด เป็นปกติ เราไม่สามารถเคลื่อนจันทร์เคลื่อนโลกหรือตกแต่งขึ้นมาใหม่ได้ เราจึงต้องปรับตัวเข้าหามัน นั่นคือ เรียกว่าวิชาการดูดวง โดยนำทั้ง 3 วิชามารวมกัน ก็คือ ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์สถิติ และคณิตศาสตร์ความน่าจะเป็น

“โหราศาสตร์ก็เหมือนการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์เล่มหนึ่ง รัชกาลที่ 1 วางฤกษ์ตั้งเมืองไว้วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 (ดาวอาทิตย์ราศีเมษ ธาตุไฟ ปีขาล คนในบ้านในเมืองจะไม่ย่อท้อ ต่อโชคชะตา เช่นอำนาจแห่งพระเพลิง) ขึ้น 10 ค่ำเดือน 6 ปีขาล ดวงเมืองถูกวางไว้ ดวงเมืองถูกวางไว้ที่ปักษ์ทวารจารราศีแม่ธาตุไฟของราศีเมษ โดยมีดาวอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวธาตุไฟกลุ่มลัคนาซ้ำไปอีก ทำให้อาณาจักรเหล่านี้ตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี ร่นมาจนสุดกรุงเทพฯ แล้วรัชกาลที่ 1 ตั้งมา แบบถอยไม่ได้อีกแล้ว ปกติเวลาอยุธยารบจะรอให้ข้าศึกมาถึงกำแพงเมือง แต่กำแพงเมืองรัตนโกสินทร์ไม่เคยมีข้าศึกมาเหยียบถึง เพราะยุทธศาสตร์ของชาติ ได้เปลี่ยนไปเป็นการออกไปรบ ไปต่อสู้ เช่นสงคราม 9 ทัพ เป็นต้น”

“เพราะฉะนั้นเราอ่าน เราศึกษาเพื่อให้เห็นว่าบรรพบุรุษของเรามีแนวคิดอย่างไรในการก่อร่างสร้างเมืองนี้ หรือว่าการรักษาบ้านรักษาเมืองก็ดี คนยุคนี้อ่านหนังสือน้อย แต่ชอบด่ามาก มิจฉาชีพความงมงายก็เยอะ”

“สุดท้ายนี้การดูดวงไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขอแค่คุณเป็นคนดีเท่านั้นก็เพียงพอแล้วโหรลักยิ้ม อาจารย์ภัทร กล่าวทิ้งท้าย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook