เปิดที่มาสำนวนความเชื่อ "วันพุธห้ามตัด วันพฤหัสห้ามถอน"

เปิดที่มาสำนวนความเชื่อ "วันพุธห้ามตัด วันพฤหัสห้ามถอน"

เปิดที่มาสำนวนความเชื่อ "วันพุธห้ามตัด วันพฤหัสห้ามถอน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อกันว่า "วันพุธห้ามตัด วันพฤหัสห้ามถอน" เพราะเหตุนี้เอง!

ความเชื่อเรื่องฤกษ์งามยามดีอยู่คู่คนไทยมาช้านาน ด้วยเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและวิธีปฎิบัติที่สืบทอดต่อกันเรื่อยมาเช่นเดียวกับสำนวนที่ว่า "วันพุธห้ามตัด วันพฤหัสห้ามถอน" ประโยคคนไทยคุ้นกันมาก ผู้ที่มีความเชื่อจึงมักหลีกเลี่ยงการตัดผมวันพุธ และไม่ถอดถอนสิ่งต่างๆ ในวันพฤหัสฯ

แล้วทำไม วันพุธห้ามตัด วันพฤหัสฯห้ามถอน ความเชื่อนี้มาจากไหนกันนะ?

ข้อมูลจาก สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ไขที่มาความเชื่อนี้ว่า นอกจากเหตุผลที่คนทั่วไปเข้าใจว่า ไม่ตัดผมวันพุธ ซึ่งตรงกับวันตัดผมของกษัตริย์ในสมัยโบราณ จึงถือเป็นธรรมเนียมว่าคนทั่วไปไม่ควรตัดผมในวันพุธเช่นกษัตริย์แล้ว ตามความเชื่อของคนโบราณยังถือกันด้วยว่า วันพุธเป็นวันแห่งความเจริญงอกงาม การเติบโต และวิวัฒนาการ จึงถือเคล็ดว่าห้ามตัดผม ตัดไม้ หรือตัดสิ่งต่างๆ ในวันพุธ หากใครตัดผมในวันพุธนั้นจะทำให้ผู้ตัดมีปัญญาทราม ไม่เจริญก้าวหน้า

ส่วนความเชื่อว่า “วันพฤหัสห้ามถอน” เพราะถือว่า วันพฤหัสบดีเป็นวันครู เป็นวันดีสำหรับการเรียนวิชา พัฒนาชีวิตให้มีความรุ่งเรืองเจริญก้าวหน้า ซึ่งสัมพันธ์กับมุมมองในทางโหราศาสตร์ที่เชื่อว่า วันพฤหัสบดีเป็นวันที่ให้คุณทางความเจริญ ความรุ่งเรือง เพิ่มพูนทางทรัพย์สิน เงินทอง ความมั่นคง

ดังนั้นวันพฤหัส จึงไม่ควรถอนอะไรทั้งสิ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถอนรากถอนโคน เช่น ไม่ควรถอนหญ้า ถอนผม ถอนเกล้า ถอนต้นไม้ ถอนเสาเรือน หรือถอดถอนสิ่งสำคัญต่างๆ หรือถอนรื้อสิ่งใดทั้งสิ้น ด้วยถือว่าเสมือนกับผู้ที่ไม่เคารพนับถือครูบาอาจารย์ที่มักตกอับ ทำอะไรก็ไม่เจริญ

อย่างไรก็ตามยุคสมัยที่แปรเปลี่ยน ความเชื่อเสื่อมคลาย ทำให้ลดความสำคัญลงได้ หากแต่สิ่งที่แฝงมากับความเชื่อเหล่านี้ มีความสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ความต้องการให้คนในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีแบบแผนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่นเดียวกับการใช้จารีตประเพณีท้องถิ่นนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook