สะเดาะเคราะห์ ต้อนรับวันปีใหม่ไทย (ด้วยตัวเอง)

สะเดาะเคราะห์ ต้อนรับวันปีใหม่ไทย (ด้วยตัวเอง)

สะเดาะเคราะห์ ต้อนรับวันปีใหม่ไทย (ด้วยตัวเอง)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การทำบุญ แผ่เมตตาอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศล สะเดาะเคราะห์ ต่าง ๆ เพื่อหวังว่าจะเปลี่ยนจากโชคร้ายที่จะเกิดขึ้นให้กลายเป็นสิ่งที่ดีรับปีใหม่ไทย หากท่านใดที่กำลังหาวิธีต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ เรามีเคล็ดวิธีมาฝากกัน เป็นวิธีง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ค่ะ

 

1. ถวายสังฆทาน 1 ชุด พร้อมกรวดน้ำแผ่เมตตา และปัจจัยอื่น ๆ ตามเหมาะสม เช่น (เป็นแนวทาง ตามอุปนิสัยความชอบของพระเคราะห์นั้น ๆ)

พระจันทร์เสวยอายุ ทำบุญด้วยผ้าอาบน้ำฝน น้ำดื่มน้ำใช้ ค่าน้ำ ของเย็น

พระอังคารเสวยอายุ บริจาคโลหิต เครื่องเย็บผ้าด้ายเข็ม เครื่องไม่เครื่องมือ ของมีคม

พระพุธเสวยอายุ ถวายผักผลไม้ ปลูกต้นไม้ บริจาคต้นไม้

พระเสาร์เสวยอายุ บริจาคโรงศพ เกี่ยวกับ งานศพของสีดำ

พระพฤหัสบดีเสวยอายุ ให้ทำบุญด้วยของสีเหลือง หนังสือ วิทยาทาน

พระราหูเสวยอายุ ถวายร่ม ถวายรองเท้า ทำบุญด้วยของสีดำ

พระศุกร์เสวยอายุ ทำบุญด้วยของหอม ของสวยงาม

พระอาทิตย์เสวยอายุ หลอดไฟ ตะเกียง เทียน และแสงสว่าง ค่าไฟ

 

 

2. ถวายพระประจำวันเกิด

เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิดคือ ปางถวายเนตร

พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งไปข้างหน้า ทอดพระเนตรดูต้นศรีโพธิ์พฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขาวทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสังวร

เกิดวันจันทร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางห้ามญาติ

พระพุทธรูปปางนี้นอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาทรงห้าม เป็นแบบทรงเครื่องก็มี

เกิดวันอังคาร พระประจำวันเกิดคือ ปางไสยาสน์

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา เมื่อคราวจะปรินิพพาน หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทายไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระวรกาย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาลักษณะตั้งซ้อนกัน

เกิดวันพุธ พระประจำวันเกิดคือ ปางอุ้มบาตร

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดติดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรอยู่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง

เกิดวันพุธ กลางคืน (วันราหู) พระประจำวันเกิดคือ ปางป่าเลไลย์

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสองข้างลง ทอดพระบาทเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุขวาเป็นกิริยาทรงรับ มีช้างหมอบถือน้ำยื่นถวาย และมีลิงหมอบถือรวงผึ้งถวายอยู่ข้างหน้า

เกิดวันพฤหัสบดี พระประจำวันเกิดคือ ปางตรัสรู้ หรือปางสมาธิ

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองหงายวางซ้อนกัน บนพระเพลา คือพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ขาวทับพระชงฆ์ซ้าย

เกิดวันศุกร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางรำพึง

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองประทับยืนชิดติดกัน

เกิดวันเสาร์ พระประจำวันเกิดคือ ปางนาคปรก

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองแบวางซ้อนกัน บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องพระเศียร

 3. ปล่อยชีวิต ไถ่ชีวิตสัตว์ ปล่อยนกปล่อยปลา ตามกำลังพระเคราะห์ที่เสวยอายุ

คือ พระอาทิตย์ 6 , พระจันทร์ 15 , พระอังคาร 8 , พระพุธ 17 , พระเสาร์ 10 , พระพฤหัสบดี 19 , พระราหู 12 , พระพระศุกร์ 21  อาทิเช่น พระเคราะห์เป็นพระอาทิตย์ ก็ปล่อยปลาจำนวน 6 ตัว เป็นต้น

 

4. ให้จุดธูปจำนวนดอกตามกำลังพระเคราะห์ ที่เข้ามาเสวยอายุ

กล่าวคำบูชาว่าตามกำลังพระเคราะห์ เช่น พระอาทิตย์ จุดธุป 6 ดอก ตั้งนโม 3 จบ แล้วกล่าวคาถาบูชาพระเคราะห์เสวยอายุ 6 ครั้ง แล้วก็ขอพร

คาถาบูชาพระเคราะห์เสวยอายุ / พระคาถาอิติปิโส ๘ ทิศ

พระจันทร์เสวยอายุ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา

พระอังคารเสวยอายุ ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง

พระพุธเสวยอายุ ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท

พระเสาร์เสวยอายุ โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ

พระพฤหัสบดีเสวยอายุ ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ

พระราหูเสวยอายุ คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ

พระศุกร์เสวยอายุ วา โธ โน อะ มะ มะ วา

พระอาทิตย์เสวยอายุ อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook