สีกับการเสริมดวงและสีประจำวันเกิด
สี กับการเสริมดวง
"สี" มีอิทธิพลต่อชีวิตคนเราในหลายๆ ด้าน ในด้านของความเชื่อและเรื่องของโหราศาสตร์นั้น การเลือกใช้สีที่มีอิทธิพลหรือส่งเสริมในเรื่องต่างๆ นอกจากจะให้ความสำคัญกับเรื่องของสีแล้ว ควรดูเรื่อง "วันเกิด" และ "ฤกษ์" ในการใช้เป็นครั้งแรกด้วย
ความหมายของสีตามหลักภูมิทักษา
ในด้านโหราศาสตร์ "สี" ก็เป็นสิ่งที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อชะตาชีวิต ส่งผลดีเรียกว่า "สีมงคล" ส่งผลร้าย เรียกว่า "สีอัปมงคล, สีกาลกิณี" ผู้ที่เกิดในวันต่าง ๆ โบราณาจารย์แห่งโหราศาสตร์ ท่านกำหนดสีตามหลัก "ภูมิทักษา" คือ
1. สีที่เป็น "บริวาร" หมายถึง สีที่จะได้เกี่ยวข้องอยู่ตลอด เป็นคนรอบข้าง ผู้ใต้บังคับบัญชา บุตร สามี ภรรยา ที่ได้ข้องเกี่ยวกับแทบทุกวัน
2. สีที่เป็น "อายุ" หมายถึง สีที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ การใช้ชีวิต การสืบต่ออายุ
3. สีที่เป็น "เดช" หมายถึง สีที่ส่งเสริมเรื่องอำนาจวาสนาบารมี
4. สีที่เป็น "ศรี" หมายถึง สีที่ส่งเสริมความดีงาม โชคลาภ ความสำเร็จ มงคลชีวิต การได้สม ปรารถนา
5. สีที่เป็น "มูละ" หมายถึง สีที่ส่งเสริมความมั่นคงเรื่องต่างๆ เช่น ความมั่นคงแห่งทรัพย์พื้นฐาน การ ลงหลักปักฐาน ความมั่นคงแห่งหน้าที่การงาน
6. สีที่เป็น "อุตสาหะ" หมายถึง สีที่มีอิทธิพลต่อความเพียรพยายาม การฟันฝ่าอุปสรรค ความเหนื่อย ยาก ความมุ่งมั่น ความเครียด และความลำบากใจ
7. สีที่เป็น "มนตรี" หมายถึง สีที่ส่งเสริมการอุปถัมภ์ค้ำชู เสริมความรักเมตตาจากผู้ใหญ่ ให้การ ช่วยเหลือเกื้อกูล ความสำเร็จ การได้ขั้นได้ตำแหน่งใหญ่โต
8. สีที่เป็น "กาลี" หรือ "กาลกิณี" หมายถึง สีที่เป็นอัปมงคล ตัดรอนสิ่งดีงาม เป็นอุปสรรคปัญหา ความเจ็บ ไข้ได้ป่วย ความลี้ลับ พลัดพราก ห่างไกล
สีประจำวันเกิด
ท่านที่ทราบวันเกิดของตัวเองแล้ว มีความต้องการที่จะใช้สีที่เป็นมงคล ขอแนะนำสีที่ควรให้ความสำคัญอันดับแรก คือสีที่เป็น "ศรี" และ "มนตรี" (เอาความดีงามนำหน้า) หรือต้องการอำนาจบารมี ก็ใช้สีที่เป็น "เดช" แต่สีที่ควรเว้นคือ "กาลี" ความหมายให้ย้อนดูตามหลักภูมิทักษา แล้วมาปรับใช้สีประจำวันเกิดของตัวเอง ดังนี้
เมื่อทำความเข้าใจในหลักการทางโหราศาสตร์ได้ดังนี้ คุณก็สามารถนำมาปรับมาเสริมดวงชะตาให้กับตัวเองได้ เช่น คุณจะแต่งกายด้วยสีอะไรจึงจะเป็นมงคล ก็ดูสีที่เป็นมงคลตามตาราง คุณจะซื้อรถสีอะไรจึงถูกโฉลกกับตัวเอง จะใช้กระเป๋าสตางค์สีอะไรเงินทองจะไหลเข้า รวมไปถึงเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นๆ เอาหลักการนี้ไปใช้ได้หมดครับ
ที่มา.. ช.ชินวัฒน์