สารอาหาร...สร้างภูมิคุ้มกัน
ความจริงแล้ว ทุกคนที่เกิดมาล้วนมีภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บอยู่ในตัว เพราะการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาตินั้นเริ่มขึ้นก่อนที่เราจะเกิดด้วยซ้ำ ตั้งแต่ตอนที่อยู่ในท้องแม่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ของผู้เป็นแม่ในช่วงนั้นจะทำให้ทารกมีภูมิคุ้มกันดี
เมื่อคลอดออกมาจนอายุ 6 เดือน น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ดีมาก หลังจากนั้น ช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 1 ขวบ หากยังสามารถให้นมแม่ต่อไปควบคู่กับนมผสมและอาหารเสริม ก็จะช่วยให้ทารกแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นไปอีกเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่การรับประทานอาหารที่มีสารเสริมสร้างภูมิคุ้มกันก็มีส่วนช่วยได้มากเช่นเดียวกัน
วิธีง่ายๆ เพื่อเพิ่มพูนภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติคือ บริโภคผักผลไม้วันละ 5-9 ส่วน ธัญพืชไม่ขัดสีวันละ 2-3 ส่วน รวมทั้งเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือถั่วเหลืองเพื่อเสริมสังกะสี
สารอาหารหลักสำหรับเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ “วิตามินเอ” ช่วยผลิตเม็ดเลือดขาว สร้างเซลล์บุเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบย่อย เซลล์เหล่านี้จะเป็นด่านแรกในการป้องกันการติดเชื้อ
วิตามินซี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า วิตามินซีช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของการเป็นหวัดได้ แม้ไม่สามารถป้องกันหวัดอย่างเต็มที่ แต่สามารถลดระดับอนุมูลอิสระและสารฮิสตามีน (histamine) ซึ่งทำให้เกิดอาการคัดแน่นจมูก
วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันระบบภูมิคุ้มกันจากอนุมูลอิสระ และช่วยสร้างเม็ดเลือดขาวป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
ธาตุเหล็ก องค์ประกอบสำคัญของเอ็นไซม์มากมายในร่างกาย ช่วยฆ่าเชื้อ หากขาดธาตุเหล็กจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย
ซีลีเนียม ช่วยสร้างแอนติบอดี้และเอ็นไซม์ซึ่งป้องกันระบบภูมิคุ้มกัน แต่ถ้าเสริมมากเกินไป (4 เท่าของระดับที่แนะนำ) จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความเสียหายได้
สังกะสี จำเป็นต่อการทำงานที่ละเอียดอ่อนของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อรา พยาธิและเชื้อโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
วิตามินและแร่ธาตุรวม มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานเสริมเพียงวันละเม็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการผ่าตัด จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และลดการเจ็บป่วย 17 วันต่อปี คำเตือนคือ ควรเสริมในระดับ 100% ของความต้องการประจำวัน และเมื่อใช้ไประยะหนึ่งก็ควรจะหยุดบ้าง
สารอาหารอื่นๆ ที่เพิ่งมีการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ และพบว่าช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี คือสารพฤกษาเคมี “อะพิจีนีน” (apigenin) พบมากในเซลลารี มีคุณสมบัติช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในเลือด สารพฤกษาเคมี “โพลีฟีนอล” พบในจมูกข้าวสาลีและบักวีท (เมล็ดพืชชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม) ช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันที่อืดลงให้ทำงานดีขึ้นอีกครั้ง
ไขมัน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของกรดไขมันชนิดต่างๆ ในน้ำมัน นักวิจัยแนะนำว่า “กรดโอเมก้า 6” ซึ่งพบในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ถ้าใช้มากๆ อาจไปเพิ่มการอักเสบ และยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโพไซต์ (lymphocytes) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงควรบริโภคแต่พอดีๆ
ในทางกลับกัน “กรดโอเมก้า 3 หรือน้ำมันปลา” ซึ่งพบมากในปลาแซลมอนและปลาทูน่า รวมทั้งในเมล็ดปอ (flax seed) และวอลนัท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันและยับยั้งการอักเสบได้ งานวิจัยหลายชิ้นยังพบอีกว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจส์ (macrophages) ซึ่งช่วยดักจับและทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
ยิ่งนับวันโรคร้ายยิ่งคุกคาม โรคเก่าก็ไม่หมดไป แถมโรคใหม่ยังมีมากขึ้น ดังนั้นทางหนึ่งในการป้องกันตัวคือสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอ และการบริโภคสารอาหารต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันดังที่กล่าวมาก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำกันได้ทุกวัน เพียงแต่เติมความ “ใส่ใจ” ลงไปให้มากๆ แค่นั้นเอง
เมื่อคลอดออกมาจนอายุ 6 เดือน น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ดีมาก หลังจากนั้น ช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 1 ขวบ หากยังสามารถให้นมแม่ต่อไปควบคู่กับนมผสมและอาหารเสริม ก็จะช่วยให้ทารกแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นไปอีกเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่การรับประทานอาหารที่มีสารเสริมสร้างภูมิคุ้มกันก็มีส่วนช่วยได้มากเช่นเดียวกัน
วิธีง่ายๆ เพื่อเพิ่มพูนภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติคือ บริโภคผักผลไม้วันละ 5-9 ส่วน ธัญพืชไม่ขัดสีวันละ 2-3 ส่วน รวมทั้งเนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือถั่วเหลืองเพื่อเสริมสังกะสี
สารอาหารหลักสำหรับเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ “วิตามินเอ” ช่วยผลิตเม็ดเลือดขาว สร้างเซลล์บุเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบย่อย เซลล์เหล่านี้จะเป็นด่านแรกในการป้องกันการติดเชื้อ
วิตามินซี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า วิตามินซีช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของการเป็นหวัดได้ แม้ไม่สามารถป้องกันหวัดอย่างเต็มที่ แต่สามารถลดระดับอนุมูลอิสระและสารฮิสตามีน (histamine) ซึ่งทำให้เกิดอาการคัดแน่นจมูก
วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันระบบภูมิคุ้มกันจากอนุมูลอิสระ และช่วยสร้างเม็ดเลือดขาวป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
ธาตุเหล็ก องค์ประกอบสำคัญของเอ็นไซม์มากมายในร่างกาย ช่วยฆ่าเชื้อ หากขาดธาตุเหล็กจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย
ซีลีเนียม ช่วยสร้างแอนติบอดี้และเอ็นไซม์ซึ่งป้องกันระบบภูมิคุ้มกัน แต่ถ้าเสริมมากเกินไป (4 เท่าของระดับที่แนะนำ) จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความเสียหายได้
สังกะสี จำเป็นต่อการทำงานที่ละเอียดอ่อนของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อรา พยาธิและเชื้อโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
วิตามินและแร่ธาตุรวม มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานเสริมเพียงวันละเม็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการผ่าตัด จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และลดการเจ็บป่วย 17 วันต่อปี คำเตือนคือ ควรเสริมในระดับ 100% ของความต้องการประจำวัน และเมื่อใช้ไประยะหนึ่งก็ควรจะหยุดบ้าง
สารอาหารอื่นๆ ที่เพิ่งมีการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ และพบว่าช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี คือสารพฤกษาเคมี “อะพิจีนีน” (apigenin) พบมากในเซลลารี มีคุณสมบัติช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในเลือด สารพฤกษาเคมี “โพลีฟีนอล” พบในจมูกข้าวสาลีและบักวีท (เมล็ดพืชชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม) ช่วยฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันที่อืดลงให้ทำงานดีขึ้นอีกครั้ง
ไขมัน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของกรดไขมันชนิดต่างๆ ในน้ำมัน นักวิจัยแนะนำว่า “กรดโอเมก้า 6” ซึ่งพบในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ถ้าใช้มากๆ อาจไปเพิ่มการอักเสบ และยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโพไซต์ (lymphocytes) ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงควรบริโภคแต่พอดีๆ
ในทางกลับกัน “กรดโอเมก้า 3 หรือน้ำมันปลา” ซึ่งพบมากในปลาแซลมอนและปลาทูน่า รวมทั้งในเมล็ดปอ (flax seed) และวอลนัท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันและยับยั้งการอักเสบได้ งานวิจัยหลายชิ้นยังพบอีกว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจส์ (macrophages) ซึ่งช่วยดักจับและทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
ยิ่งนับวันโรคร้ายยิ่งคุกคาม โรคเก่าก็ไม่หมดไป แถมโรคใหม่ยังมีมากขึ้น ดังนั้นทางหนึ่งในการป้องกันตัวคือสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอ และการบริโภคสารอาหารต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันดังที่กล่าวมาก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำกันได้ทุกวัน เพียงแต่เติมความ “ใส่ใจ” ลงไปให้มากๆ แค่นั้นเอง