จัดฮวงจุ้ยบ้านด้วยหลักหยิน-หยาง

จัดฮวงจุ้ยบ้านด้วยหลักหยิน-หยาง

จัดฮวงจุ้ยบ้านด้วยหลักหยิน-หยาง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายๆท่านคงเคยเห็นสัญลักษณ์ "ไท่เก๊ก" ที่แทนปรัชญาหยิน-หยาง อันเป็นบ่อเกิดของหลักวิชาฮวงจุ้ยอันเป็นภูมิปัญญาของชาวจีนโบราณกันบ้างแล้ว แนวคิดเรื่องหยินและหยางนี้ เชื่อว่าสรรรพสิ่งไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติวัตถุ พลังงานหรือสิ่งมีชีวิต ล้วนแบ่งออกเป็น 2 อย่างที่แตกต่างกัน โดยหยิน คือ ความมืด, สงบนิ่ง, เพศหญิง, อ่อนนุ่ม, กลวง เป็นต้น ส่วนหยาง คือ ความสว่าง, เคลื่อนไหว, เพศชาย, แข็ง, ตัน เป็นต้น


จัดฮวงจุ้ยบ้านด้วยหลักหยิน-หยางจัดฮวงจุ้ยบ้านด้วยหลักหยิน-หยาง


ภาพไท่เก๊กยังแสดงถึงการรวมกันของหยินและหยางอย่างสมดุลไม่แยกจากกันและไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นหยินทั้งหมดหรือเป็นหยางทั้งหมด นั่นคือในหยินจะมีหยางและในหยางก็จะมีหยิน ทุกอย่างไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ แต่ทั้งหมดจะมีรูปแบบที่สัมพันธ์กัน เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตตลอดเวลา

จัดฮวงจุ้ยบ้านด้วยหลักหยิน-หยางจัดฮวงจุ้ยบ้านด้วยหลักหยิน-หยาง

เมื่อนำหลักการมาพิจารณากับฮวงจุ้ยบ้าน เราก็จะต้องหาทางทำให้หยินและหยางของบ้านเกิดความสมดุลย์ แนวทางจัดฮวงจุ้ยให้เกิดสมดุลย์กันสามารถทำได้ดังนี้

นอกบ้าน หน้าบ้าน : หน้าบ้านเป็นการพิจารณาตำแหน่งของโชคลาภ โดยหน้าประตู คือ ปากทางรับโชค การรับโชคที่ดี หน้าบ้านต้องมีสภาพของความเป็นหยาง ต้องคึกคักแจ่มใส ให้ด้านหน้ามีสภาพโล่ง โปร่ง แสงแดดส่องถึง ให้มีลมเข้าและไหลเวียนดี อย่านำโต๊ะ ม้านั่ง มาบังปากทางเข้าประตูบ้านทั้งด้านในและด้านนอก บริเวณห้องรับแขกและห้องทำงานควรจัดให้อยู่บริเวณส่วนหน้าของบ้าน เพราะต้องเกี่ยวพันกับการพบปะผู้คนและเป็นบริเวณที่ทำงานเพื่อให้ก่อเกิดรายได้ ห้องจึงต้องสว่าง โปร่ง สะอาด ดูมีชีวิตชีวา จึงต้องเติมความเป็นหยางให้มากเข้าไว้

หลังบ้าน : การพิจารณาหลังบ้านเป็นเรื่องการพิจารณาคนว่ามีบารมี มีคนส่งเสริมสนับสนุน หรือมีสุขภาพดีหรือไม่ หลังบ้านต้องมีสภาพเป็นหยิน คือ สงบ ไม่อึกทึกจนเกินไป อาคารทางด้านหลังบ้านไม่สูงข่มจนเกินไป ห้องที่อยู่ทางด้านหลังบ้านจะต้องส่งเสริมคน เช่น ห้องนอนผู้สูงอายุ ห้องน้ำ ห้องครัว ควรจัดสภาพให้เป็นหยินอย่างเหมาะสม ไม่ให้มืดจนเกินไปและยังต้องให้อากาศไหลเวียนไปบริเวณห้องเหล่านี้ด้วย

กลางบ้าน : พลังหยินและพลังหยาง ทั้งเคลื่อนไหวและหยุดนิ่งจะมาพบกันที่กึ่งกลางของบ้าน ก่อนที่จะแปรสภาพเป็นพลังชุดต่าง ซึ่งเหินไปในตำแหน่งดีร้ายตามบริเวณต่างๆ ของบ้าน ดังนั้นบริเวณนี้จะต้องไม่มีส้วมหรือเตาไฟ มิฉะนั้นแล้วพลังของบ้านก็จะไม่มีการสะสมรวมตัวดีเท่าที่ควร เนื่องจากส้วมเป็นสิ่งปฏิกูลที่เราต้องทิ้งออกไปและยังอาจทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ไปทั่วบ้านด้วย ส่วนเตาไฟกลางบ้านก็จะทำให้บ้านร้อนเกินไป ทั้งควันและกลิ่นที่เกิดจากการทำอาหารก็จะรบกวนคนในบ้าน

ชั้นบน ชั้นล่าง : ด้านบนและด้านล่างควรให้มีสภาพต่างกันนั่นคือ ด้านล่างจัดให้มีสภาพเป็นหยาง ด้านบนจัดให้มีสภาพเป็นหยิน ด้านล่างเป็นที่สำหรับทำกิจกรรมต้องแต่งให้ดูเท่ มีสไตล์ โปร่ง โล่ง สว่าง แจ่มใส มีพลัง มีชีวิตชีวา ส่วนด้านบนต้องจัดให้มีพลังที่ค่อนข้างเป็นหยิน ให้ดูสลัวๆ ดูโรแมนติก เหมาะสมและสะดวกต่อการนอนหลับ หรือใช้แสงที่ดูสลัว มีสีสันอ่อนโยนก็จะทำให้เกิดความรักและเอื้ออาทรต่อคนในครอบครัวเดียวกัน ไม่ให้รู้สึกแข็ง แล้ง แห้ง จืดชืด

สภาพหยินหยางนั้นเป็นการบริหารสภาพของสิ่งเร้าของปัจจัยต่างๆ ตามความเหมาะสมและเหมาะกับกิจกรรมของห้องที่เราจะต้องใช้งานด้วย แต่ท่านอย่าลืมปัจจัยสำคัญพื้นฐานด้วยนั่นก็คือ บ้านจะมีชีวิตชีวาไม่ได้ หากขาดอากาศใหม่ๆ จากภายนอกไหลเวียนเข้าไปแทนที่อากาศเดิมของบ้าน หากท่านทำให้สภาพของบ้านท่านสมดุล โดยไม่ร้อนไป เย็นไป เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของท่าน 


ขอบคุณข้อมูลจาก www.100fs.com (โดย อาจารย์มาศ เคหาสน์ธรรม)
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook