วันไหว้พระจันทร์ 2567 ประวัติ และความหมายของขนมไหว้พระจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ 2567 ประวัติ และความหมายของขนมไหว้พระจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ 2567 ประวัติ และความหมายของขนมไหว้พระจันทร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันไหว้พระจันทร์ 2567 ตรงกับวันที่ 17 กันยายน 2567

เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีนที่มีขึ้นในกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ และในเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน กินขนมไหว้พระจันทร์ และชมพระจันทร์เต็มดวง เชื่อว่าพระจันทร์จะมีความสว่างไสวเป็นพิเศษในวันไหว้พระจันทร์ ในบางประเทศจัดเป็นประเพณีใหญ่ มีการเฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร ทั้งนี้จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น

ประวัติวันไหว้พระจันทร์ประวัติวันไหว้พระจันทร์

 

ประวัติวันไหว้พระจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ มีประวัติอันยาวนาน เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ในสมัยนั้น ชาวจีนเชื่อว่าดวงจันทร์เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ซึ่งจะประทานความอุดมสมบูรณ์ให้กับชาวนา ชาวจีนจึงไหว้พระจันทร์เพื่อขอพรให้พืชผลอุดมสมบูรณ์

เทศกาลไหว้พระจันทร์ของทุกปี (วันที่ 15 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน) ทุกๆ ครัวเรือนจะซื้อขนมไหว้พระจันทร์มาไหว้พระจันทร์ พร้อมกับการชมพระจันทร์จนกลายเป็นประเพณีของจีนตลอดมา สำหรับประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ในวันไหว้พระจันทร์นั้น เกิดขึ้นเมื่อสมัยมองโกลเข้ามาปกครองแผ่นดินจีน เมื่อชาวมองโกลกดขี่ข่มเหงและทำร้ายชาวจีนอย่างโหดเหี้ยม และเพื่อควบคุมดูแลชาวจีนอย่างใกล้ชิด ชาวมองโกลจึงส่งทหารของตนไปประจำอยู่ในบ้านของชาวจีนครอบครัวละ 1 คน เป็นอันว่าชาวจีนทุกๆ ครัวเรือนต่างต้องเลี้ยงดูทหารมองโกล 1 คน ทหารมองโกลเหล่านี้ยังก่อกรรมทำชั่วไปหมด

ทำให้ชาวจีนขุ่นเคืองใจเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาท่านหลิวปั๋วเวิน คิดได้วิธีหนึ่ง คือ ให้นำกระดาษเขียนข้อความ แล้วสอดไส้ไว้ในขนม เรียกร้องให้ชาวจีนทุกคนลงมือสังหารทหารมองโกลที่ประจำอยู่ในบ้านของตน อย่างพร้อมเพรียงกันในวันเพ็ญเดือนแปด ทั้งนี้เพื่อให้ชาวจีนที่ไปซื้อขนมมารับประทานกัน ต่างได้อ่านข้อความดังกล่าวและช่วยกันกระจายข่าวนี้ออกไป เพื่อก่อการปฏิวัติโดยพร้อมเพรียงกัน ณ วันเพ็ญเดือนแปด ทำให้สามารถโค่นล้มอำนาจการปกครองของมองโกลในที่สุด

เพื่อเป็นการฉลอง และรำลึกการกอบกู้แผ่นดินที่ประสบความสำเร็จ ประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ในวันเทศกาลดังกล่าวจึงมีการสืบทอดกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าแห่งหนใดที่มีชาวจีนเดินทางไปถึงก็จะพาประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ ไปด้วย สำหรับขนมไหว้พระจันทร์ที่แพร่หลายในไทยนั้น เป็นแบบของกวางตุ้งโดยส่วนใหญ่ หลายปีที่ผ่านมา ขนมไหว้พระจันทร์ที่ผลิตในไทย ไม่ว่าด้านคุณภาพ รสชาติ และการบรรจุล้วนมีระดับที่สูงขึ้น 

ขนมไหว้พระจันทร์

นอกจากนี้แล้ว ยังมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่างๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้ แต่ชาวสนุก! ดูดวงรู้หรือไม่ว่าประวัติความเป็นมาของวันไหว้พระจันทร์มีที่มาที่ไปอย่างไร...

ความหมายของไส้ขนมไหว้พระจันทร์

ซึ่งขนมไหว้พระจันทร์ในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงทั้งรสชาติและรูปร่างหน้าตาให้ดูทันสมัยหลากหลายไส้มากขึ้น แต่ก่อนที่เราจะไปทราบว่าไส้ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมีอะไรบ้างเรามารู้กันสักนิดว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" ทำไมต้องเป็นทรงกลม คำตอบก็คือเพราะขนมไหว้พระจันทร์เป็นขนมที่เราใช้ไหว้พระจันทร์ จึงต้องทำออกมาในลักษณะทรงกลมคล้ายดวงจันทร์นั่นเอง ส่วนตัวขนมจะทำจากแป้งและใส่ไส้เอาไว้ภายใน เจ้าไส้ที่ว่านี่แหละที่เป็นจุดเด่นที่ทำให้ขนมไหว้พระจันทร์มีจุดเด่นต่างกันออกไป ซึ่งส่วนใหญ่หากเป็นแบบต้นตำหรับจะเป็นธัญพืชต่างๆ เช่น ทุเรียน, เมล็ดบัว, แมคคาเดเมีย, พุทราจีน เป็นต้น

  • เม็ดบัว เป็นสัญลักษณ์ของจิตใจที่บริสุทธิ์ อายุยืนยาว ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความสงบสุข
    เม็ดบัว
  • ลูกพลัม เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและความหวัง ดุจดังดอกพลัมที่ชูช่อในฤดูหนาว
    ลูกพลัม
  • ธัญพืช เป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ และความอุดมสมบูรณ์
    ธัญพืช
  • เกาลัด หมายถึง ลูกชาย และสิ่งอันเป็นที่รัก
    เกาลัด
  • ถั่วแดง ชาวจีนเชื่อว่าไตเป็นอวัยวะที่ขับความกลัวออกมา ซึ่งถั่วแดงนั้นช่วยเพิ่มความกล้าหาญให้ไตได้
    ถั่วแดง

ขนมไหว้พระจันทร์มีไส้อะไรบ้าง

ขนมไหว้พระจันทร์ สามารถใส่ไส้ได้หลากหลาย แต่ขนมแบบดั้งเดิมจะนิยมใช้เป็นไส้ธัญพืชและเนื้อของผลไม้กวนหลากรส มักใช้เป็นผลไม้ที่เก็บไว้ได้นานผ่านการแปรรูปแล้วเช่น ทุเรียนกวน, เมล็ดบัว, ถั่วกวนต่างๆ ส่วนในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ต่างๆ ให้มีความหลากหลาย มากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มเนื้อสัตว์ต่างๆ เข้าไป เช่น ขนมไว้พระจันทร์ไส้หมูแฮม ไส้ไข่เค็ม ไส้หมูแดงและหมูหยองเป็นต้น

แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการดัดแปลงทำให้ทันสมัยและรับประทานง่ายขึ้นด้วยการทำไส้ที่หลากหลายเช่น ชาเขียว อัลมอลด์ ช็อกโกแลต ครีมคัสตาร์ด หรือบางแห่งก็จะทำออกมาคล้ายๆ ขนมโมจิ มีสีสันและรูปทรงน่ารับประทานมากขึ้นนั่นเอง พอเรารู้จักที่มาที่ไปประวัติวันไหวพระจันทร์กันแล้ว และได้รู้ถึงเรื่องราวของขนมไหว้พระจันทร์กันไปพอสมควรสิ่งต่อไปก็คือ ขั้นตอนของการไหว้พระจันทร์ต้องทำอย่างไร?

ขั้นตอนพิธีการไหว้พระจันทร์

พิธีไหว้พระจันทร์ จะไหว้กลางแจ้งหลังพระอาทิตย์ตกดินหรือเริ่มตอนหัวค่ำ (เมื่อเห็นพระจันทร์ก็สามารถไหว้ได้เลย) การตั้งโต๊ะจะจัดให้เรียบร้อยก่อนพระจันทร์ลอยสูงเกินขอบฟ้า และเก็บก่อนที่พระจันทร์เลยหัวไปหรือเมื่อเทียนดอกใหญ่ดับลง สถานที่ไหว้พระจันทร์อาจเป็นลานบ้านหรือดาดฟ้าก็ได้

เครื่องบวงสรวงที่ใช้จะไหว้ด้วยของเจเหมือนไหว้เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งไหว้พระจันทร์เพื่อให้มีคู่ คนจีนจะถวายอาหารเป็นเลขคู่ แต่บางคนอาจถวายอย่างละ 5 ก็ได้ ของไหว้ควรเป็นของแห้ง เพราะการไหว้พระจันทร์จะทำพิธีในตอนกลางคืน หากไหว้ด้วยของสดอาจเน่าเสียได้ง่าย

ของไหว้ประกอบไปด้วย

  1. น้ำชาหรือใบชา 4 ถ้วย
  2. อาหารเจ 4 อย่าง เช่น วุ้นเส้น, ดอกไม้จีน, เห็ดหูหนู, เห็ดหอม, ฟองเต้าหู้ เป็นต้น
  3. ขนมหวาน 4 อย่าง เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมเปี้ยะ สาคูแดง 4 ถ้วย ขนมโก๋สีขาว
  4. ผลไม้ 4 อย่าง ควรเป็นผลไม้ที่เป็นมงคล เช่น 
    • ทับทิม ที่มีเมล็ดมากมาย หมายถึง การมีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง
    • แอปเปิ้ล หมายถึง ความสงบสุข สันติ
    • ส้มโอ หัวเผือก
    • องุ่น หมายถึง มีแต่ความเพิ่มพูน
    • ส้ม หมายถึง เป็นสิ่งมหามงคล
    • สาลี่ หมายถึง มีแต่เรื่องดีๆ สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต
      ผลไม้ไหว้พระจันทร์ผลไม้ไหว้พระจันทร์
  5. ดอกไม้สด 1 คู่ ธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก เทียน 1 คู่ และกระถางธูป
  6. ของใช้ส่วนตัวของผู้หญิง เช่น ชุดเครื่องแป้ง เครื่องสำอาง เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายของผู้หญิง
  7. โคมไฟ เพื่อให้มีชีวิตที่สว่างไสว
  8. อ้อย 1 คู่ สำหรับทำเป็นซุ้ม
  9. กระดาษไหว้พระจันทร์ กระดาษเงิน กระดาษทอง เช่น ค้อซี, กอจี๊, เนี้ยเก็ง, โป๊ยเซียนตี่เอี๊ย คือ กระดาษเงินกระดาษทอง, เนี้ยเพ้า คือ ชุดเจ้าแม่พระจันทร์

ตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์ตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์

จากนั้นนำของทั้งหมดมาจัดวาง เริ่มจากการตั้งโต๊ะ มีซุ้มประตูที่ทำจากต้นอ้อยผูกโคมไฟไว้กับต้นอ้อยให้สวยงาม วางกระถางธูป เทียนไว้ด้านหน้าสุด ดอกไม้วางไว้สองข้าง ผลไม้จัดตามความสวยงาม ส่วนขนมไหว้พระจันทร์ที่จัดเรียงเป็นชั้น วางขนมโก๋ และขนมหวานต่างๆ รอบโต๊ะวางประดับประดาด้วยกระดาษลวดลายที่มี อย่างไรก็ดีการจัดตั้งโต๊ะนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แล้วแต่ใครมีวิธีการที่ต่างกันไปเน้นความสวยงามเป็นหลัก จากนั้นก็ไหว้อธิษฐานขอพรต่อพระจันทร์

บทสวดไถ่อิมแชกุงเสี่ยเก็ง “พระคัมภีร์แม่พระจันทร์”

ไถ่ อิม ผ่อ สัก เฮี่ยง ตัง ไล๊
โชย เต๊ง ตี่ เง็ก กิ๋ว เต่ง ไค
จับ บ่วง โป้ย โซย จู ผ่อ สัก
จู ฮุก ผ่อ สัก เหลียง เปียง ไป๊
จู จุง ฮุก เก่ง บ่อ ฮุ๊ง ตี่
ฉุก จุ้ย โน๊ย ฮวย หมั๋ว ตี่ ไค
ท้าว ตั่ว ฉีก จั๊ง จู ป้อ ถะ
พั๊ว ซอ สี่ ไก่ งั้ง กวง เม็ง
เจก ฮุก ป่อ ตับ ที ตี่ อึง
หยี่ ฮุกป่อ ตับ แป๋ บ้อ อึง
ต่อ แซ แป่ บ้อ เจ็ง ฮก ซิ่ว
ก่วย สี่ แป่ บ้อ จ๋า เถี่ยว แซ
นำ มอ ฮุก นำ มอ หวบ
นำ มอ ออ นี ถ่อ ฮุก
ที ล๊อ ซี๊ง ตี่ หล่อ ซี๊ง
นั๊ง หลี่ หลั่ง หลั่ง หลี่ ซิง
เจก เฉียก ใจ เอียง ฮ่วย อุ่ย ติ๊ง
อู่ หนั่ง เนี่ยม ติ๊ก ฉีก เพียง ไถ่ อิม เก็ง
แซ ซี่ ปุก ตะ ตี่ เง็ก มึ๊ง

ถ้าหากใครที่ไม่สะดวกจะเตรียมของมากมายดังที่กล่าวไว้ สามารถใช้เพียงขนมไหว้พระจันทร์หรือขนมอื่นๆ ร่วมด้วยแต่ต้องเป็นขนมรูปทรงกลม รวมไปถึงของใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้หญิง และโหลหรือชามใส่น้ำตั้งเอาไว้เพื่อให้เป็นแสงสะท้อนจากเงาจันทร์เสมือนว่าเราได้อาบแสงจันทร์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ไหว้นั่นเอง

และสุดท้ายสิ่งที่หลายๆ คนหรือหลายๆ ครอบครัวจะได้จากการไหว้ใน วันไหว้พระจันทร์ ก็คือสมาชิกในครอบครัวได้มาอยู่พร้อมหน้ากันเพราะวันดีๆ แบบนี้จะมีเพียงปีละครั้ง นอกจากนี้ยังจะได้รับประทานอาหารพร้อมหน้ากันภายใต้พระจันทร์เต็มดวง อันเป็นการนำความสุขสมบูรณ์มาสู่สมาชิกครอบครัวได้เป็นอย่างดี นับว่ามีคุณค่าแก่การสืบทอดและเผยแพร่ตลอดไป

อัลบั้มภาพ 16 ภาพ

อัลบั้มภาพ 16 ภาพ ของ วันไหว้พระจันทร์ 2567 ประวัติ และความหมายของขนมไหว้พระจันทร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook