ทำบุญเสริมดวงในประเพณี "วันออกพรรษา"

ทำบุญเสริมดวงในประเพณี "วันออกพรรษา"

ทำบุญเสริมดวงในประเพณี "วันออกพรรษา"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันออกพรรษา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ปีนี้ตรงกับวันพุธ ที่ 24 ตุลาคม 256 หรือตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี  ชาว Sanook! Horoscope คนไหนที่อยากทำบุญเสริมดวงในวันออกพรรษาฟังทางนี้ เรามีประเพณีการทำบุญในแต่ละภาคของประเทศไทยมาฝากกัน ซึ่งแต่ละที่จะมีรูปแบบและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป จะเป็นอย่างไรไปติดตามชมกันเลยค่ะ

ประเพณีวันออกพรรษาในแต่ละภาค ส่วนใหญ่แล้วในวันออกพรรษาของแต่ละภาคจะไม่เหมือนกันเราจะมาทำความรู้จักกับการทำบุญวันออกพรรษาในแต่ละภาคกันดังนี้

ภาคเหนือ นั้นจะเน้นในเรื่องของการปล่อยโคมลอยซึ่ง ชาวบ้านหรือคนเมืองเหนือจะนิยมเล่นหรือมีการแข่งขันกันทำโคมในเทศกาลงานประเพณีสำคัญ ๆ ของหมู่บ้านของตน อาทิ งานทำบุญวันเข้าพรรษา งานทำบุญวันออกพรรษา หรืองานบุญต่าง ๆ ตามวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

โดยชาวบ้านมักมีความเชื่อกันว่า "การปล่อยโคม" ให้ล่องลอยไปบนอากาศนั้น เพื่อให้ โคม ซึ่งเป็นเหมือนสื่อกลางในการพาเอาเคราะห์ร้ายภัยพิบัติ เรื่องราวที่ไม่ดี ต่าง ๆ ให้ลอยออกไปจากตัวเรา

ภาคกลาง ที่ จังหวัดอุทัยธานี จะมีประเพณี "การตักบาตรเทโว" พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากวัดซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง ลงมารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้ พระปางอุ้มบาตร ปางห้ามมาร ปางห้ามสมุทร ปางรำพึง ปางถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต 

ส่วนในจังหวัดนครปฐม ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็จะยืนรอคอยใส่บาตร

วันออกพรรษาวันออกพรรษา

ภาคใต้ ประเพณีชักพระ ซึ่งภาษาถิ่นทางภาคใต้จะเรียกว่า “พิธีลากพระ” ซึ่งมีด้วยกันถึง 2 แบบ คือ ชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ

1. การชักพระทางบก

จะจัดขึ้นเป็นประจำสืบเนื่องกันมาตลอดหลัก ๆ อยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งก่อนหน้าวันชักพระ 2 วันจะมีพิธีการตักบาตรหน้าล้อคือการใส่อาหารคาวหวานแล้ว ยังมีสิ่งที่สื่อแทนเป็นสัญลักษณ์ของการทำบุญวันออกพรรษา นั่นก็คือ "ปัด" โดยในภาคกลางมีชื่อเรียกว่า "ข้าวต้มลูกโยน"

โดยก่อนหน้าที่จะถึงวันออกพรรษาประมาณ 1-2 สัปดาห์ทางวัดจะทำเรือบก คือ การเอาท่อนไม้ขนาดใหญ่ 2 ท่อนมาแกะสลักทำเป็นพญานาค 2 ตัว เพื่อเป็นแม่เรือที่มีการยึดไว้อย่างแข็งแรง แล้วจึงปูด้วยแผ่นไม้กระดาน วางบุษบกก่อนจะนำพระพุทธรูปยืน ส่วนรอบบุษบกจะทำการวางเครื่องดนตรี ไว้เพื่อบรรเลงเวลาเคลื่อนขบวนพระไปยังบริเวณงานโดยรอบนั่นเอง

ครั้นพอถึงช่วงเช้าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะออกมาช่วยกันชักพระ โดยถือเชือกขนาดใหญ่ประมาณ 2 เส้นที่ได้ทำการผูกไว้กับพญานาคทั้ง 2 ตัว ซึ่งภายในบริเวณงานจะมีการสมโภช และมีการเล่นกีฬาพื้นบ้านต่าง ๆ มากมาย

พิธีลากพระพิธีลากพระ

2.การชักพระทางน้ำ

การทำพิธีชักพระทางน้ำ ก็จะจัดขึ้นก่อนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 เช่นกัน โดยทางวัดที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำ จะรับหน้าที่ในการตระเตรียมสิ่งของต่าง ๆ อย่างเช่นการนำเรือมาประมาณ 2-3 ลำ มาปูพื้นด้วยไม้กระดานเพื่อตั้งบุษบก หรือมีการพนมพระก่อนจะประดับประดาด้วยธงทิว ภายในตัวของบุษบกก็จะทำการตั้งพระพุทธรูปในเรือซึ่งในบางครั้ง ก็จะมีเครื่องดนตรีคลอไปตลอดทางที่เรือเคลื่อนตัวไปจนรอบสถานที่ ที่กำหนดเอาไว้

ภาคอีสาน ภายในมีกิจกรรมที่สำคัญที่จัดขึ้นโดยเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ในระหว่างวันที่ 5 ถึง 11 ตุลาคม 2557 ประกอบด้วยการแสดงแสง สี เสียง เปิดตำนานบั้งไฟพญานาค, ถนนอาหาร, การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ และการประกวดต่างๆ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมที่จัดในเขตอำเภอโพนพิสัย งาน "บั้งไฟพญานาคโลก" นั้น ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาหลายกิจกรรม เช่น การทำบุญมหากุศล 9 วัด, การเจริญศีลสวดมนต์ภาวนาและนั่งสมาธิ และการบวงสรวงวันเปิดโลก "บูชาพญานาค" เป็นต้น

และทั้งหมดนี้ก็คือ ประเพณีการทำบุญในวันออกพรรษแต่ละภาค แต่ละท้องถิ่นของไทยเรา ใครที่อยากสัมผัสกับงานประเพณีพื้นบ้านท้องถิ่นแบบนี้ สามารถไปร่วมงานได้ตามภาคต่างๆ ที่เรากล่าวไปค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook