ตำนานและความเชื่อเรื่องวันลอยกระทง

ตำนานและความเชื่อเรื่องวันลอยกระทง

ตำนานและความเชื่อเรื่องวันลอยกระทง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันลอยกระทงเป็นเหมือนประเพณีไทยที่ทำเพื่อขอขมาพระแม่คงคา ในปีนี้ วันลอยกระทง 2565 ตรงกับวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565

ตามความเชื่อในตำนานของวันลอยกระทงมีด้วยกันหลายประการ แต่หลักๆ แล้วมีอยู่ 2 ประการ ที่เป็นจุดประสงค์หลักของการลอยกระทงที่ชาวไทยเราทำกันทุกๆ ปี โดยมีความเชื่อดังนี้

ตำนานความเชื่อเรื่องวันลอยกระทงตำนานความเชื่อเรื่องวันลอยกระทง

1. เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท้องที่ถือว่าลอยกระทงเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสที่พระพุทธองค์ได้ไปแสดงธรรมในนาคพิภพ และทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที เพราะฉะนั้นการที่บ้านเรามีประเพณีลอยกระทง ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองก็เพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องในโอกาสนี้

ส่วนทางเหนือนั้นมีประเพณียี่เป็ง มีทั้งลอยกระทงและลอยโคมขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งบรรจุอยู่ในจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราจึงจุดประทีป ลอยโคม ส่งใจขึ้นไปบูชาพระเขี้ยวแก้วร่วมกับพระอินทร์ที่นำหมู่เทวดาบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณีในวันเพ็ญเดือนสิบสองนี้เช่นกัน

2. เพื่อบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้เพราะน้ำ ตั้งแต่โบราณมาชุมชนทั้งหลายเวลาสร้างเมือง ต่างก็เลือกติดแม่น้ำ ดังนั้นถึงเวลาในรอบ 1 ปี ก็เลือกเอาวันเพ็ญเดือนสิบสอง ระลึกว่าตลอดปีที่ผ่านมา เราได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต ขณะที่ลอยกระทงเราก็นึกถึงคุณของน้ำ ไม่ใช่ลอยเฉยๆ

ต้องรำลึกว่าต้องรู้จักใช้น้ำอย่างถูกวิธี และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ไม่ใช้ทิ้งขว้าง ไม่ทำให้น้ำสกปรก ไม่ปล่อยของเสียลงแม่น้ำ เป็นการขอขมาและขอบคุณพระแม่คงคา ไม่ใช่เป็นการไหว้เทวดาพระแม่คงคาแต่อย่างใด แต่เป็นการแสดงการขอบคุณน้ำ ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตเรา

ตำนานความเชื่อเรื่องวันลอยกระทงตำนานความเชื่อเรื่องวันลอยกระทง

แต่ก็ยังมีความเชื่อของประเพณีลอยกระทงของคนแก่สมัยโบราณที่พูดว่า "ลอยทุกข์ ลอยโศก โรคภัยต่างๆ ไปกับกระทง" 

ซึ่งในความเชื่อของการลอยกระทงเพื่อลอยทุกข์ ลอยโศกนี้ คนโบราณเชื่อว่ากระทงที่ลอยออกไปจะนำพาทุกข์โศกโรคภัยออกไปเราได้ โดยจะมีการตัดเล็บ ผม และเงินใส่ลงไปในกระทง สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อที่เป็นสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจ แต่ความจริงเราไม่สามารถที่จะลอยทุกข์โศกให้หมดไปได้ด้วยการลอยกระทง

ดังนั้นถ้าจะให้ทุกข์โศก โรคภัย เคราะห์ร้ายออกไปด้วย เราต้องสร้างบุญ โดยในตอนกลางวัน ก่อนที่จะไปลอยกระทง เราก็ไปทำบุญที่วัดก่อน แล้วนำบุญนั้นมาอธิษฐานในคืนวันลอยกระทง ด้วยกุศลผลบุญนี้ขอให้ทุกข์โศกโรคภัยทั้งหลายออกไปจากใจของเราเอง

 

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทงอีกอย่างหนึ่งคือ การขอขมาพระแม่คงคา ที่มีน้ำให้เราได้ดื่มได้ใช้กัน โดยมีความเชื่อดังต่อไปนี้

- เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ

- เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย

- เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ

- ส่วนชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้

 

คำกล่าวขอขมาพระแม่คงคา

ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป

วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ.

 Image result for ลอยกระทง 2560 sanook

คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง (อีกหนึ่งบท)

ข้าขอยอกร ขึ้นตั้งหว่างศร

สิบนิ้วพนม กราบก้มเกศา

ฝนตกท่วมป่า ไหลมามากล้น

หมู่สัตว์ หมู่คน กินอาบบาปมี

กระทงลูกนี้ ลอยละล่องท้องค่า

มาลาหลากสี ธูปเทียนอัคคี นำไปบูชา

บูชาเสร็จแล้ว ถึงพระเขี้ยวแก้ว อยู่เมืองลงกา

อานิสงส์ของข้าฯ นิพพาน ปัจจโย โหตุ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook