ปรับธาตุในร่างกายให้สมดุลตามปีนักษัตร

ปรับธาตุในร่างกายให้สมดุลตามปีนักษัตร

ปรับธาตุในร่างกายให้สมดุลตามปีนักษัตร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธาตุเกิดในร่างกายนอกจากจะช่วยบอกถึงลักษณะนิสัยของแต่ละคนได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังสามารถทำให้คุณๆ ชาว Sanook! Horoscope มีสุขภาพที่ดีได้อีกด้วยพูดมาแบบนี้คงกำลังสงสัยอยู่แน่ๆ ว่าธาตุเกิดสัมพันธ์กันอย่างไรกับเรื่องของดวงและสุขภาพ

ธาตุเกิดธาตุเกิด

ขอบคุณภาพจาก http://www.tsgclub.com/28434

ไม่ต้องคิดให้ปวดหัวค่ะ เพราะในวันนี้เรามีเคล็ดลับในการเลือกรับประทานอาหารตามธาตุเกิดจะช่วยเสริมให้ร่างกายเจ็บป่วยน้อยลงอีกด้วย...มาดูกันดีกว่าว่าคนเกิดธาตุใด ปีเกิดตามนักษัตรไหนควรรับประทานอย่างไรจะให้พ้นโรค

 

ธาตุดิน

ได้แก่คนที่เกิดปีจอ (หมา) และปีฉลู (วัว)

โรคที่มักจะเป็น

โรคท้องผูก ระบบย่อยอาหารไม่ค่อยปกติ ท้องอืดท้องเฟ้อ ความดันต่ำ ไขมันอุดตัน หินปูนเกาะกระดูก ปวดตามข้อ เส้นเลือดตีบ โรคหัวใจ ไต ชักกระตุก

อาหารที่ควรรับประทาน
- อาหารรสฝาด เชน กะหล่ำปลี ชะอม ถั่วพู ใบบัวบก ผักกวางตุ้ง ยอดกระถิน ยอดมะม่วงหิมพานต์ รากบัว สะตอ หัวปลี อาหารเหล่านี้รับประทานได้ทุกวัน
- อาหารรสมัน เช่น กะทิ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง นม เนย เผือก ฟักทอง มัน แห้ว อาหารเหล่านี้ควรรับประทานพอประมาณ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง อย่าให้มากกว่านั้น จะเป็นโทษ
- อาหารรสหวาน เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก เงาะ แตงโม ฝรั่ง มังคุด มะม่วงสุก มะละกอ และน้ำผึ้ง นอกจากนี้รับประทานได้แต่นิดหน่อย

 

ธาตุน้ำ

ได้แก่คนที่เกิดปีชวด (หนู) และปีกุน (หมู)

โรคที่มักจะเป็น

โรคภูมิแพ้ โรคหวัด โรคติดเชื้อต่างๆ แผลพุพองที่เรียกว่าน้ำเหลืองเสีย น้ำหนองไหล ปอดชื้น น้ำท่วมปอด โรคไตวายฉับพลัน โลหิตจาง เลือดออกตามไรฟัน และโรคอ้วน

อาหารที่ควรรับประทาน
- อาหารรสเปรี้ยว ได้แก่ กระท้อน กระเทียมดอง ขี้เหล็ก ดอกแค มะกอก มะเขือเทศ มะดัน มะนาว มะปราง มะม่วง ยอดมะขามอ่อน สับปะรด ส้มทุกชนิด และผักใบเขียวทุกชนิด อาหารรสเปรี้ยว แม้จะถูกกับผู้ที่มีธาตุน้ำมาก แต่ถ้ารับประทานมากไปก็จะทำให้ท้องอืด ถ้าเป็นแผลก็จะหายยาก อาจทำให้เกิดแผลในปาก และร้อนในได้

 

ธาตุลม

ได้แก่คนที่เกิดปีเถาะ (กระต่าย) ปีมะเมีย (ม้า) ปีมะแม (แพะ) ปีวอก (ลิง)

โรคที่มักจะเป็น

โรคกระดูกเปราะ โรคน้ำตาแห้ง โรคตาต่างๆ โรคลมจุกเสียด โรคลมดันหัวใจ โรคนอนกรน โรคผอมแห้งแรงน้อย โรคปวดหัววิงเวียนศีรษะ โรคท้องอืดท้องเฟ้อ โรคอ่อนเพลีย

อาหารที่ควรรับประทาน : อาหารที่รับประทานแล้วทำให้เกิดความร้อนในร่างกาย เช่น
- อาหารรสเผ็ด ได้แก่ กระชาย กระเทียม ขิง ขึ้นฉ่าย ขมิ้นขาว ตะไคร้ ถั่วต่างๆ ใบกะเพรา ใบชะพลู ใบแมงลัก ใบโหระพา ใบสะระแหน่ ผักชีฝรั่ง พริก ฟักทอง ยี่หร่า และพืชผักใบเขียวต่างๆ เช่นผักบุ้ง
- ผลไม้ ก็มี ชมพู่ แตงไทย แตงโม พุทรา เม็ดบัว เม็ดแมงลัก อาหารดังกล่าวมานี้ ควรเป็นส่วนประกอบของอาหารแต่ละมื้อ และรับประทานพอประมาณ

 

ธาตุไฟ

ได้แก่ คนที่เกิดปีขาล (เสือ) ปีมะโรง (งูใหญ่) ปีมะเส็ง (งูเล็ก) ปีระกา (ไก่)

โรคที่มักจะเป็น

ท้องผูก ริดสีดวง ความดันสูง เส้นโลหิตเปราะบาง ปวดศีรษะ โรคไต โรคกระษัย ปัสสาวะกะปริดกะปรอย วิตกกังวล เบื่ออาหาร โรคหัวใจ โรคไทรอยด์ ร้อนใน โรคกระเพาะ กระดูกเสื่อมเร็วก่อนวัย หงุดหงิดง่าย ใจสั่น แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เลือดเป็นพิษ โรคเลือดลักปิดลักเปิด

อาหารที่ควรรับประทาน : อาหารที่เหมาะสำหรับธาตุไฟ มีรสขม รสจืด รสเย็น
- รสขม ได้แก่ ใบปอ ใบยอ ผักขมจีนและไทย มะระขี้นก มะระจีน
- รสจืด ได้แก่ กระเจี๊ยบขาว ดอกกะหล่ำปลี ดอกสลิด ดอกโสน ถั่วพู ถั่วฝักยาว บวบงู บวบอ่อน ใบทองหลาง ผักกาดขาว ผักกระเฉด ผักตระกูลป่า ผักชีฝรั่ง ผักบุ้งจีน มะเขือยาว ยอดผักปลัง สายบัว
- รสเย็น ได้แก่ เก๊กฮวย เฉาก๊วย แตงกวา แตงไทย แตงล้าน แตงโม น้ำใบเตย ใบตำลึง ใบบัวบก ฟักเขียว มะตูม มะละกอ รากบัวหลวง ลูกตำลึงอ่อน สายบัว หัวไชเท้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook