คาถาบูชาพญานาค ในวันบั้งไฟพญานาค 15 ค่ำเดือน 11

คาถาบูชาพญานาค ในวันบั้งไฟพญานาค 15 ค่ำเดือน 11

คาถาบูชาพญานาค ในวันบั้งไฟพญานาค 15 ค่ำเดือน 11
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“พญานาค” ถือเป็นสัตว์ในตำนานที่มีความเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสีรุ้งที่พระพุทธเจ้าเดินเชื่อมไปโปรดเทวดาต่างๆ ระหว่างสวรรค์ โลกมนุษย์ และบาดาล เป็นตัวแทนของความความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ และวาสนา (อ่าน "ตำนานความเชื่อโบราณเกี่ยวกับพญานาค" ที่นี่)


พิธีบุญบั้งไฟพญานาค มีความเชื่อกันว่า ในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแห่งแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี จึงจุดบั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีทุกปี และเนื่องจากเชื่อว่าพญานาคเป็นเจ้าบาดาล เป็นผู้ให้กำเนิดน้ำ ดังนั้นเมื่อชาวนาจะทำพิธีแรกไถนา จึงต้องดูวัน เดือน ปี และทิศที่จะบ่ายหน้าควายเพื่อไม้ให้ควายลากไถไปในทิศที่ทวนเกล็ดนาค ไม่อย่างนั้นการทำนาจะเกิดอุปสรรคต่างๆ ขึ้น


ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี จึงมีประเพณีบุญบั้งไฟพญานาค ที่ริมแม่น้ำโขง ทั้งฝั่งประเทศไทย (จังหวัดหนองคาย) และฝั่งประเทศลาว (เวียงจันทร์) จึงถือเป็นฤกษ์งามยามดีที่จะบูชาอธิษฐานขอพรกับพญานาค สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวไทย และชาวลาวมาช้านาน


คาถาบูชาพญานาค

สุมะโน สุมะนะจะโล อะระวาเฬระปัตตะโก
จัมเปยโย มุจะลินโท จะ กัมพะโล ภุชะคิสสะโร
สุมนะนาคราช สุมนจละนาคราช อรวาฬะนาคราช

(เอฬปัตตกะนาคราช จัมเปยยะนาคราช มุจลินทะนาคราช กัมพละนาคราชผู้เป็นใหญ่)


กาละนาโค มะหากาโฬ สังขะปาโล มะโหทะโร
มะณิกัณโฐ มะณิอักขิ นันทะนาโคปะนันทะโก
(กาละนาคราช มหากาฬะนาคราช สังขปาละนาคราช มโหทระนาคราช

มณิกัณฐะนาคราช มณิอักขินาคราช นันทะนาคราช อุปนันทะนาคราช)


วะรุโณ ธะตะรัฏโฐ จะ กุงคุวิโลปะลาละโก
จิตระนาโค มะหาวีโร ฉัพยาปุตโต จะ วาสุกี
(วรุณะนาคราช ธตรัฏฐะนาคราช กุงคุวิละนาคราช อปลาลกะนาคราช

จิตระนาคราช มหาวีระนาคราช ฉัพยาปุตตะนาคราช วาสุกีนาคราช)


กัณหาโคตะโม ภุชะคินโท อัคคิธูมะสิโข ตะถา
จูโฬทะโร อะหัจฉัตโต นาคา เอราปะถาทะโย
(กัณหาโคตรมะนาคราช นาคผู้เป็นจอมนาค อัคคิสิขะนาคราช ธูมะสิขะนาคราช

อหิจฉัตตะนาคราชจูโฬทระนาคราชพญานาคทั้งหลายมีเอระปะถะนาคราชเป็นต้น)


อาสีวิสา โฆระวิสา เย สัพเพ นะยะนาวุธา
ชะลัฏฐา วา ถะลัฏฐาวา ปัพพะเตยยา นะทีจะรา
กะโรนตุ โน มะหาโสตถิง อายุมาโรคิยัง สะทา

(หมู่นาคราชทั้งปวงเหล่าใด เป็นนาคราชมีพิษร้ายแรง (คือพิษแล่นไปเร็ว)มีพิษ น่าสะพรึงกลัวมีนัยน์ตาเป็นอาวุธ ดำรงอยู่ในน้ำ ดำรงอยู่บนบก ดำรงอยู่ที่ภูเขา หรือว่าเที่ยวไปในน้ำ ขอนาคราชทั้งปวงเหล่านั้น จงประทานความสวัสดีอัน ประเสริฐ ความมีอายุ และความไม่มีโรค แก่พวงข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด.....)


มะหันตา นาคะสา นาคา เวสาลา สะหะ ตัจฉะกา
กัมพะลัสสะตะรา จาปิ เมรุปาทะสิตา พะลา

(เหล่านาคผู้อาศัยอยู่ในสระน้ำชื่อว่า นาคสะ อัสสะตะระนาคราช จำนวนมากพร้อมกับบริวารของท้าวตัจฉกะ และนาคผู้อาศัยอยู่ในนครเวสาลีและกัมพละนาคราช อัสสตระนาคราช ผู้มีพละกำลังผู้อาศัยอยู่ที่เชิงเขาสุเมรุ)


ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ สัพเพ นาคา ยะสัสสิโน
เอราวะโณ มะหานาโค โน กะโรนตุ อะนามะยัง

(นาคผู้อยู่ในแม่น้ำยะมุนา และนาคชื่อว่าธตรัฏฐะ และนาคทั้งหลายทั้งปวง ผู้มีบริวารเป็นจำนวนมาก และท้าวเอราวัณผู้มีชื่อว่ามหานาค จงประทานความไม่มีโรค แก่พวกข้าพเจ้าด้วยเถิด)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ค ภาณุพงศ์ สุธรรม
ภาพประกอบจาก songkhlacity.go.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook