ไตเสีย...ซ่อมได้ แนะเช็กสัญญาณป่วย

ไตเสีย...ซ่อมได้ แนะเช็กสัญญาณป่วย

ไตเสีย...ซ่อมได้ แนะเช็กสัญญาณป่วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แต่ละคืนหากคุณต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกเกินกว่า 1 ครั้ง ที่สำคัญปัสสาวะเป็นฟองเยอะ หรือมีสีแดงเหมือนสีน้ำล้างเนื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคไต หากไม่รีบรักษาหรือควบคุม อาจกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรังได้

อ.นพ.สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต (วักกะวิทยา, Nephrology) ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์หรือ SiPH บอกว่า กลุ่มผู้ที่ปัสสาวะเป็นฟองมาก อาจมีปัญหาโปรตีนรั่วออกทางไต เป็นสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าไตมีปัญหา แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ปัสสาวะบ่อยจะต้องเป็นโรคไตเสมอไป ยังมีอาการรอบตาบวม หน้าบวม หรือเท้าบวม กดแล้วบุ๋มลงไป

"ตัวแรกที่ต้องตรวจเช็กคือ Blood Urea Nitrogen (BUN) ตัวที่สอง คือ Creatinine ซึ่งเป็นของเสียที่ต้องถูกขับออกทางไต เช็ก ว่าไตไม่ทำงาน หรือมีของเสียเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติหรือไม่ เมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจเช็กสุขภาพไตเป็นประจำทุกปี คนที่เป็นเบาหวานและความดันเลือดสูงถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง"

แนวทางการรักษาโรคไต แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกสามารถรักษาให้หายได้ เช่น กลุ่มโรคที่มีโปรตีนรั่วที่ไต (Nephrotic syndrome) หรือกลุ่มโรคไตอักเสบที่มีเม็ดเลือดแดงออกมา การอักเสบของเม็ดเลือดฝอยในไต เช่น SLE สามารถรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันได้ หรือถ้าเป็นนิ่วในไตก็ผ่าตัดเอานิ่วออก กลุ่มที่สอง กลุ่มที่มารักษาช้า หรือไม่สามารถรักษาได้ โดยกลุ่มนี้เกิดโรคไตเรื้อรังมีทั้งหมด 5 ระดับ ระดับหนึ่ง กับระดับสอง ความสามารถในการกรองของเสีย มากกว่า 60 ซีซีต่อนาที ผู้ป่วยกลุ่มนี้ความดันสูง มีโปรตีนในปัสสาวะ หรือมีการอักเสบของไตอยู่ หากควบคุมไม่ดีจะเข้าสู่ระดับที่สามระดับที่สี่และระดับที่ห้า ซึ่งความสามารถในการกรองของเสียลดลง

วิธีบำบัดทดแทนไต ทำได้ 3 วิธี คือ 1.การปลูกถ่ายไต 2.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ 3.การฟอกไตทางช่องท้อง 10 ปี ที่ผ่านมาคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยร้อยละ 5-10 ของประชากร หรือ 600 คน ต่อ 1 ล้านประชากร ที่ต้องใช้วิธีบำบัดทดแทนไต อ.นพ.สมเกียรติ อธิบายว่า การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีผลแทรก ซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจไม่มากนัก ส่วนการฟอกไตทางช่องท้องสามารถกลับบ้านทำเองได้ เหมาะกับกลุ่มคนที่มีความรู้ในการดูแลตนเองดีที่ศูนย์โรคไต SiPH มีห้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีประสิทธิภาพ ในอนาคตอาจมีการพัฒนาเครื่องฟอกไตเทียมแบบ พกพา ให้ผลการรักษาและอัตราการอยู่รอดใกล้เคียงกับการปลูกถ่ายไต เพราะไม่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางมา ร.พ. สิ่งสำคัญคือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต คือ ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง ต้องควบคุมเบาหวานและความดันโลหิต หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเซด

ผู้ป่วยต้องควบคุมอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนให้น้อยลง เน้นอาหารปลาทะเล ควบคุมอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ส่วนใหญ่อยู่ในธัญพืช เพราะฟอสเฟตจะจับแคลเซียมเป็นผลึกไปสะสมที่หลอดเลือดทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น รวมทั้งอาหารพวกนม ถั่ว ช็อกโกแลต ลูกเนียง มะเฟือง เชอร์รี่ หญ้าไผ่ ต้องไม่สูบบุหรี่ และลดความอ้วน

.....................................................................................................................

ติดตามทุกเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ชาย รวบรวมข้อมูลเรื่อง แฟชั่นผู้ชาย ทรงผมผู้ชาย น้ำหอมผู้ชาย
พร้อมด้วยหลากหลายบทความเกี่ยวกับ สุขภาพ สาวสวย และที่เที่ยวกลางคืนได้ที่นี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook