5 วิธีตรวจสอบ ′เครื่องใช้ไฟฟ้า′ รับหยุดยาวปีใหม่

5 วิธีตรวจสอบ ′เครื่องใช้ไฟฟ้า′ รับหยุดยาวปีใหม่

5 วิธีตรวจสอบ ′เครื่องใช้ไฟฟ้า′ รับหยุดยาวปีใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอภิสฤษฎิ์ นิรุชทรัพย์รดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาต้า เพาเวอร์ จำกัด ระบุว่า ในช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวันของหลายครอบครัว ซึ่งเรามักออกไปเที่ยวนอกบ้านเวลานาน ๆ เช่น เทศกาลฉลองปีใหม่ เราควรจะตรวจตราเครื่องใช้ไฟฟ้าเราสักนิดเพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่คาดฝัน จากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ปราศจากผู้ดูแลในช่วงพักผ่อนดังกล่าว ซึ่งในบางครั้งมีข่าวไม่คาดฝันเกิดขึ้นเป็นประจำกับหลายครอบครัว หากจะวิเคราะห์ถึงปัญหาอันเป็นที่มาของความไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจจะมาจากสิ่งใกล้ตัว เช่น การละเลยการตรวจตราเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้อยู่ในสภาพดี โดยเราสามารถที่จะป้องกันได้ด้วยแนวทางปฏิบัติง่าย ๆ ได้ดังนี้

1.ตรวจตรา

- อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มี STAND BY MODE หรือมีการปิดพักการทำงานแบบยังคงมีกระแสไฟมาเลี้ยงที่ตัวอุปกรณ์อยู่ การปิดอุปกรณ์ประเภทนี้ต้องมั่นใจว่ามีการปิดการทำงาน STAND BY MODE ดังกล่าวแบบสิ้นเชิง โดยสังเกตว่าจะไม่ปรากฏสัญญาณไฟสีแดงแบบจุดที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแม้ขณะเสียบปลั๊กอยู่ เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากกรณีกระแสไฟเกินที่อาจเข้ามายังอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเองและยังเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วยหรือ ใช้วิธีง่ายๆโดยการเสียบต่อกับปลั๊กพวงที่มีสวิตช์ไฟ แล้วกดปิดสวิตซ์การจ่ายไฟนั้น ๆ เสีย

2.ปิดสวิตช์ และ ถอดปลั๊ก

- ปิดสวิทช์ทุกตัวที่มีอยู่บนรางปลั๊กไฟ และถอดปลั๊กของรางปลั๊กไฟออกจากเต้ารับที่ผนัง ซึ่งการถอดปลั๊กของรางปลั๊กไฟนี้จะสมควรจะต้องทำอย่างยิ่งหากรางปลั๊กไฟที่เลือกใช้เป็นแบบที่ไม่มีสวิทช์ปิด-เปิด

3.ปิดเบรกเกอร์

- เครื่องใช้ไฟฟ้าใดที่มีการต่อเบรกเกอร์หรือสะพานไฟไว้ เช่น ที่เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ ควรจะปิดสวิทช์หรือสับเบรกเกอร์ลง เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับบ้านที่ไม่มีเบรกเกอร์แยกแต่ละเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีแผงควบคุมรวมหรือชุดเบรกเกอร์รวมก็สามารถเลือกปิดเบรกเกอร์ที่ควบคุมเครื่องทำน้ำอุ่นหรือเครื่องปรับอากาศเป็นบางส่วนได้โดยให้คงเปิดไว้เฉพาะเบรกเกอร์ที่ควบคุมไฟฟ้าส่องสว่างและเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

4.เลือกใช้รางปลั๊กไฟที่มีอุปกรณ์ป้องกัน

- ไม่เปิดไฟประดับทิ้งไว้ ซึ่งหลายๆ บ้านชอบเปิดไฟประดับประเภทแสงสีไว้แม้ขณะที่ตนเองไม่อยู่บ้าน เช่นไฟประดับต้นคริสต์มาส ไฟประดับที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดส่วนใหญ่มักไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกิน เช่น ฟิวส์ หรือ เบรกเกอร์ ควรเลือกรางปลั๊กไฟที่มีอุปกรณ์ป้องกันไฟเกินเช่น ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์จะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น

5.เพิ่มความปลอดภัยด้วยสายกราวด์

- บางครั้งการต่อไฟประดับจะเสียบจากปลั๊กไฟที่ต่อออกมาภายนอกบ้าน ซึ่งอุปกรณ์ทั้งปลั๊กไฟและตัวไฟประดับเองไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าน อันเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหากระแสไฟฟ้ารั่วลงสู่บริเวณใกล้เคียงได้ ควรติดตั้งสายดินกับตัวบ้านเพื่อป้องกันไฟรั่ว จากอุปกรณ์ไฟฟ้า

หากทำได้ดังที่ได้แนะนำมาข้างต้นนี้ ก็สามารถป้องกันปัญหาไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร ที่อาจลุกลามไปสู่เหตุการณ์ไฟไหม้ได้ และการไปท่องเที่ยวตลอดช่วงวันหยุดปีใหม่นี้จะทำให้หลายครอบครัวมีความสุขแบบไม่ต้องคอยกังวลใจอย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook