รักขมต้องอ่าน ! โอ้วว วาเลนไทน์ ! ทำไม’ความรักทำให้คนตาบอด’ ?

รักขมต้องอ่าน ! โอ้วว วาเลนไทน์ ! ทำไม’ความรักทำให้คนตาบอด’ ?

รักขมต้องอ่าน ! โอ้วว วาเลนไทน์ ! ทำไม’ความรักทำให้คนตาบอด’ ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

14 กุมภา วันวาเลนไทน์ ใครมีรักหวานซึ้งก็ดีไป ส่วนใครยังไม่เฉียดเข้าใกล้ หรือมีแล้ว แต่เข้าข่าย ‘รักขม’ ก็มักถูกเพื่อนแซะปมว่าทำไมไม่เลิกๆกันไป ? แถมไม่วายยังตอกย้ำด้วยคำกล่าวที่ว่า นี่แหละหนา ‘ความรักทำให้คนตาบอด’ !

ประโยค love is blind หรือในภาษาไทยที่ว่า ความรักทำให้คนตาบอด นั้นเป็นวลีฮิตได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ แน่นอนว่าดูทรงแล้ว ไม่ใช่คำพังเพยไทยแท้มาแต่เดิมอย่างแน่นอน หากแต่มีที่มาข้ามทวีปจากโลกตะวันตก โดยเชื่อว่าเป็นแนวความคิดที่เกิดในยุค ‘เรอเนสซองส์’ หรือ ยุคฟื้นฟูสหวิทยาการเมื่อราวๆ 400 กว่าปีที่แล้วโน่น

หลักฐานสำคัญปรากฏในบทละครเรื่อง The Merchant of Venice จากปลายปากกาอภิมหากวี เจ้าพ่อแห่งโศกนาฏกรรมความรัก อย่าง วิลเลียม เชคสเปียร์ และน่าจะปรากฏในวรรณกรรมยุคเดียวกันอีกหลายเล่ม

(จากซ้าย) วิลเลียมเชคสเปียร์ กวีชื่อก้องโลก ภาพสีน้ำมันไม่ปรากฎชื่อศิลปิน , บอตติเชลลี จิตรกรยุคเรอเนสซอง (จากซ้าย) วิลเลียม เชคสเปียร์ ผู้แต่งบทละครเรื่อง The Merchant of Venice ,ซานโดร บอตติเชลลี จิตรกรยุคเรอเนสซองส์ จิตรกรชาวอิตาเลียน ผู้วาดภาพ La Primavera อันโด่งดัง

บทละครที่ว่านี้ เชื่อกันว่าถูกแต่งขึ้นในราว ค.ศ.1596-1598 เดิมถูกจัดไว้แนวตลกขบขัน ต่อมาได้รับการพิจารณาย้ายหมวดหมู่มาสู่แนวรักโรแมนติก เพราะเต็มไปด้วยถ้อยคำลึกซึ้งกินใจในด้านความรัก รวมถึง love is blind ‘ความรักคือการตาบอด’
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำวรรณกรรมดังกล่าวมาแปลเป็นกลอนบทละครในชื่อ ‘เวนิสวาณิช’ ซึ่งส่วนหนึ่งถูกนำมาแต่งเพลงบทเพลงคุ้นหู อาทิ

ความเอยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางวางหัวใจ หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเปนไฉนใครรู้บ้าง
อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงระตี
ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย ฯ

เวนิชวาณิช พระนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6
โดยทรงแปลจากบทละครของเชคสเปียร์ เรื่อง The Merchant of Venice เวนิสวาณิช พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 โดยทรงแปลจากบทละครของเชคสเปียร์ เรื่อง The Merchant of Venice (ภาพจาก www.siambook.net)
ย้อนกลับมาที่ประเด็นดวงตาอันมืดบอด

ฆนัท นาคถนอมทรัพย์ นักวิชาการอิสระ และเจ้าของร้านหนังสือ book I’m in อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งศึกษาที่มาของวลีดังกล่าว ระบุว่า ช่วงเวลาก่อนยุคเรอเนสซองส์ ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง love is blind แต่มีนิยามความหมายที่เชื่อมโยงกับสิ่งอื่น เช่น กรีกโบราณ เชื่อว่า ความรักคือ ‘อาการป่วย’

ทว่า เมื่อเข้าสู่ยุคเรอเนสซองส์ ก็พบในงานวรรณกรรม รวมถึงภาพเขียนที่จิตรกรจงใจวาดให้คิวปิด หรือกามเทพ ซึ่งเป็นเทพแห่งความรักถูก ‘ปิดตา’

คิวปิด หรือกามเทพในภาพเขียนของบอตติเชลลี ซึ่งวาดให้ถูกปิดตา สอดคล้องแนวคิด ความรักคือการตาบอด หรือความรักทำให้คนตาบอด คิวปิด หรือกามเทพ ในภาพเขียนของซานโดร บอตติเชลลี ซึ่งวาดให้ถูกปิดตา สอดคล้องแนวคิด ความรักคือการตาบอด หรือ ความรักทำให้คนตาบอด

“Cupid เป็นภาษาละตินหมายถึงแรงปรารถนา ในภาษากรีกเรียกคิวปิดว่าอีรอส (Eros) แปลว่า Sexual love ในงานศิลปกรรม ก่อนยุคเรอเนสซองส์ อีรอส หรือ คิวปิด ไม่เคยปรากฏว่าถูกปิดตามาก่อน แต่ในงานจิตรกรรมชื่อดังของยุคที่ชื่อว่า La primavera ถูกวาดในปี ค.ศ. 1482 โดยจิตรกรชาวอิตาเลียนชื่อว่า ซานโดร บอตติเชลลี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักหลากหลายรูปแบบ แต่ที่สำคัญที่อยากเน้นในที่นี้คือการวาดรูปคิวปิดที่อยู่เหนือวีนัส โดนปิดตาสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าความรักทำให้คนตาบอด” ฆนัทกล่าว และยังบอกอีกว่าความรักเป็นสิ่งที่ไม่คงที่สุดแล้วใน “อารมณ์” ที่หลากหลายของมนุษย์และมันทำให้ดวงตามืดบอด ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เพราะจะไม่เห็นแสงสว่างที่คนยุคเรอเนสซองส์ให้ความสำคัญ และเป็นการก่อรูปของแนวคิด Age of Enlightenment ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 อีกด้วย

สุขสันต์วันวาเลนไทน์ ขอให้ความรักทำให้คุณตาสว่าง !

ที่มา มติชนออนไลน์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook