ทำไม "นอนน้อย" แล้วต้อง "กินมาก" ?

ทำไม "นอนน้อย" แล้วต้อง "กินมาก" ?

ทำไม "นอนน้อย" แล้วต้อง "กินมาก" ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทีมศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการนอนไม่เพียงพอกับการกินของว่างและขนมขบเคี้ยวเพิ่มมากขึ้นในวันรุ่งขึ้นในวารสารว่าด้วย "การนอนหลับ" เมื่อต้นเดือนมีนาคมนี้

โดยทีมวิจัยอาศัยอาสาสมัคร 14 คนเป็นกลุ่มตัวอย่างกำหนดให้ทดลองด้วยการนอนในห้องปฏิบัติการเป็นเวลา 8 ชั่วโมงครึ่งต่อเนื่องกัน 4 คืน และให้นอน 4 ชั่วโมงครึ่ง อีก 4 คืน หลังจากนั้นมีการตรวจสอบหาค่าของ ระบบ "เอ็นโดแคนนาบินอยด์" และสังเกตพฤติกรรมการกินของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

ผลการตรวจสอบพบว่าค่าของ "เอ็นโดแคนนาบินอยด์" โดยเฉลี่ยของการนอนทั้ง 2 รูปแบบออกมาเท่าๆ กัน แต่เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของค่าเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในจุดสูงสุดของการนอนทั้ง 2 รูปแบบพบว่า การนอนไม่เพียงพอคือ 4.5 ชั่วโมงนั้นมีค่าสูงสุดที่สูงกว่าอยู่มาก และขึ้นสูงสุดในช่วงเวลาบ่ายของวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่า เกิดอาการหิวมากกว่าปกติและมีอาการอยากกินสูงมาก

จากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจะกินขนมหรือของว่างในช่วงบ่ายรวมเกือบ 1,000 แคลอรี หากนอนน้อย แต่หากได้นอนอย่างเต็มที่จะกินขนมหรือของว่างจำพวกอาหารขยะเพียง 600 แคลอรีเท่านั้น ดังนั้นเมื่ออยู่ในช่วงนอนน้อยก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับตอนนอนปกติทั้งๆ ที่ปริมาณแคลอรีที่ได้รับในตอนลางวันยังคงเท่าเดิม

แพทย์หญิง เอริน แฮนลอน หัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้ สรุปว่า เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะนอนน้อย ร่างกายของบุคคลนั้นๆ จะมีการกระตุ้นการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความต้องการให้รางวัลตัวเองหรือการหาความสุขด้วยการกิน โดยเชื่อกันว่าระบบเดียวกันนี้เป็นที่มาของการกินจุบจิบอีกด้วย

ทั้งนี้ผลการวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่า การนอนน้อยทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเลปตินน้อยลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ยับยั้งความหิว และยังไปเพิ่มฮอร์โมนเกรลิน ที่ทำให้มีความหิวมากขึ้น

นสพ.มติชนรายวัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook