เปิดกรุพระเครื่องเด่นดัง : พระงบน้ำอ้อย หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี

เปิดกรุพระเครื่องเด่นดัง : พระงบน้ำอ้อย หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี

เปิดกรุพระเครื่องเด่นดัง : พระงบน้ำอ้อย หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าพูดถึงพระเครื่องเด่นดังที่มีพุทธคุณในด้านคงกระพัน อันเป็นที่ใฝ่หาของเหล่าชายชาตรีทั้งหลาย นอกจากพระตระกูลยอดขุนพลต่างๆ ที่รู้จักกันดี อย่างพระร่วงหลังรางปืน พระหูยาน พระท่ากระดาน พระมเหศวร พระพุทธชินราชใบเสมา ฯลฯ แล้ว พระงบน้ำอ้อย หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี ถือเป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่เหล่าชายชาตรียอมรับว่า "คงกระพัน" นักแล ประวัติความเป็นมาะจะเป็นอย่างไร dealfish.co.th มีมาฝากครับ

 

ประวัติความเป็นมา
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย บ้านสามหมื่น อำเภอบางปลาม้า เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งชาวสุพรรณบุรี ทั้งในวงการพระและคนทั่วไปรู้จักกันดี และเป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วกัน ด้วยมีการเล่าสืบต่อกันมาถึงปาฎิหารย์ด้านต่างๆ ของท่านไว้อย่างน่าระทึกใจทีเดียว

หลวงพ่อเนียม เกิดเมื่อ พ.ศ. 2374 ในสมัยรัชกาลที่ 3 (ท่านมีอายุยืนยาวถึง 4 รัชกาล) มีชีวิตคลุกคลีอยู่กับวัดตั้งแต่เด็ก เพื่อศึกษาเล่าเรียนทั้งอักขระขอม และภาษาบาลี เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้ทำการอุปสมบทในบวรพุทธศาสนา เมื่ออุปสมบทถือเพศบรรพชิตแล้ว ท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์ในจังหวัดพระนคร หรือธนบุรี ขณะที่ท่านได้ศึกษาธรรมะอยู่นั้นท่านก็ได้สนใจด้านวิปัสสนาธุระ และไสยศสตร์คาถาอาคมอีกด้วย และยังสันนิษฐานกันว่าท่านอาจเป็นศิษย์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีก็ได้

การทำพระเครื่องของหลวงปู่
วัสดุที่นำมาทำ พระงบน้ำอ้อย เป็นตะกั่วผสมปรอท โดยต้องทำให้ปรอทแข็งตัว ซึ่งในยุคสมัยนั้นไม่ใช่ของทำง่าย ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคมและต้องมีส่วนผสมเฉพาะ ที่สำคัญต้องทำในฤดูฝน เพราะใบแตงหนูจะขึ้นเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมสำคัญอย่างใบสลอดและข้าวสุก

หลวงพ่อท่านจะนำของสามอย่างมาโขลกปนกันเป็นการไล่ขี้ปรอทออกให้หมด เพื่อให้ได้ปรอทที่ขาวที่สุด ซึ่งท่านจะต้องโขลกและกวนส่วนผสมอยู่ถึง 7 วันจึงจะเข้ากันดี พอครบ 7 วัน ก็นำส่วนผสมไปตากแดด แล้วนำมากวนต่อจนเข้ากันดี เสร็จแล้วจึงนำมาแยกชั่งเป็นส่วน ส่วนละ 1 บาท (ขนาดเหรียญบาท) จากนั้นนำไปใส่ครกหิน เติมกำมะถัน และจุนสีโขลกให้เข้ากัน โดยจะต้องทำตอนกลางคืน ทำอยู่เช่นนั้น 3 คืน แล้วจึงนำปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไปสุมอยู่ถึง 7 วัน โดยจะสุมไฟเฉพาะตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะทำพิธีปลุกเสกด้วยพระคาถาคม พอครบ 7 ไฟ ก็เทลงแม่พิมพ์จึงได้พระตามต้องการ

 


คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด


คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด

คนที่เคยบูชาพระงบน้ำอ้อย หลวงพ่อเนียม ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "สุดยอดคงกระพัน"

แหล่งซื้อ-ขาย พระเครื่อง ของขลัง วัตถุมงคล ที่ dealfish.co.th

ขอบคุณเนื้อหา : http://blog.dealfish.co.th/lifestyle/amulet-collect/พระงบน้ำอ้อย-วัดน้อย/
ข้อมูลอ้างอิง : The Art of Siam ISSM 1906-2389
ภาพประกอบ : rumruay.com, suphaninsure.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook