ท้องไม่รับ ทำอะไรได้บ้าง
Thailand Web Stat

ท้องไม่รับ ทำอะไรได้บ้าง

ท้องไม่รับ ทำอะไรได้บ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องการชิงสุกก่อนห่าม นี่เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ ครับ เข้าใจว่าเรื่องเซ็กซ์กับผู้ชายนั้น มันอยู่ข้างๆ กัน แต่หากรักจะชิงสุกก่อนห่ามแล้วก็ต้องรู้จักการป้องกัน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาเรื่องฝ่ายหญิงตั้งท้อง และปัญหานี้จะไม่ใช่ปัญหาครับ เมื่อฝ่ายชายยินยอมที่จะรับผิดชอบ และทางฝ่ายหญิงเขาก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเกิดว่า ผู้ชายไม่รับ ปัญหาต่างๆ ย่อมตามมาอย่างแน่นอน และผู้ชายที่ทำแล้วไม่ยอมรับผิดชอบก็รู้ไว้นะครับ ว่าฝ่ายหญิงก็สามารถเอาผิดคุณตามกฏหมายได้ ดั่งกรณีที่ Sanook! MEN จะนำมาให้เป็นกรณีศึกษานี้ครับ


ฝ่ายชายไม่รับเป็นพ่อเด็กทำอย่างไรดี

          น้องสาวอายุ 26 ปี ท้องประมาณ 4 เดือน แล้วก็บอกให้ญาติฝ่ายชายไปขอ  แต่ญาติฝ่ายชายกลับปฏิเสธ แบบนี้ฝ่ายหญิงต้องทำอย่างไรบ้าง  ตอนนี้ทำอะไรไม่ถูกเลย และถามต่อไปอีกว่า  ถ้าเกิดฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ  แล้วตอนเด็กคลอด  ผู้เป็นญาติหรือพี่หรือน้องฝ่ายหญิงสามารถเป็นพ่อ(ชื่อเป็นพ่อในใบเกิด) เด็กได้หรือไม่อย่างไร  และเมื่อเวลาผ่านไปฝ่ายชายอยากจะมีสิทธิในตัวเด็กจะทำได้หรือไม่

คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์

           1. น้องสาวย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้ชายรับผิดโดยฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555,1556
           2. เมื่อคลอดบุตรแล้ว ในใบแจ้งเกิดสามารถเว้นว่างช่องบิดาผู้ให้กำเนิดได้ หากกรอกข้อมูลที่เป็นเท็จ ย่อมมีความผิดอาญาฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในสูติบัตรอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน ตาม ป.อ. มาตรา 267

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1555 ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น

Advertisement

(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฏในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น

ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย

มาตรา 1556  การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้
เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่ผู้สืบสันดานของเด็กเป็นผู้เยาว์ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 276  ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากบิดาไม่รับเป็นบุตรบุญ ไม่สามารถใส่ชื่อบิดาในใบเกิดได้

ขอบคุณบทความจาก
ฝ่ายชายไม่รับเป็นพ่อเด็กทำอย่างไรดี
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=7236

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้