ผักผลไม้พิชิตมะเร็ง

ผักผลไม้พิชิตมะเร็ง

ผักผลไม้พิชิตมะเร็ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในชายไทย ยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของมะเร็งในผู้ชาย โดยมีอัตราการเกิดโรคประมาณ 1 ใน 10 หมายความว่าในผู้ชายทุกๆ 10 คน จะมี 1 คนป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มีข้อมูลยืนยันว่า อาหารที่มีไขมันสูงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรค โดยคนอ้วนมีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคนี้สูงกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวน้อย พบในผู้ชายอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

สำหรับการใช้พืชผักสมุนไพรในการดูแลรักษาและป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น แนะนำให้ทานมะเขือเทศ เนื่องจากมะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศทุกชนิดมี ไลโคปีน ซึ่งเป็นสีแดงในมะเขือเทศ มีบทบาทเป็นสารต้านอนุมูลอิสระฤทธิ์แรง ป้องกันกระบวนการเสื่อมของเซลล์ต่อมลูกหมากได้ดี มีรายงานว่าไลโคปีนสามารถป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ มะเขือเทศสุก เช่น น้ำมะเขือเทศ ซุปมะเขือเทศ จะดีกว่ามะเขือเทศสด เนื่องจากการทำให้สุก ทำให้ไลโคปีนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่า ที่สำคัญไลโคปีนในมะเขือเทศยังสามารถลดอัตราเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ เต้านม ปอด และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย นอกจากมะเขือเทศแล้ว เรายังสามารถหาไลโคปีนได้จากผลไม้อื่นๆ ได้แก่ แตงโม ฝรั่ง และสับปะรด

นอกจากนี้ยังแนะนำเมล็ดฟักทอง ที่เด่นในเรื่องการป้องกันมะเร็งต่อมลูกมาก และยังพบว่าในเมล็ดฟักทองนั้นอุดมด้วยสารสำคัญพวกกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ กรดอะลานีน ไกลซีน กลูตามิก รวมทั้งธาตุสังกะสี และแมกนีเซียมที่มีความจำเป็นต่อต่อมลูกหมาก มีงานวิจัยว่าสารสกัดจากเมล็ดฟักทอง มีฤทธิ์ในการรักษาต่อมลูกหมากโต จากการทดลองในผู้ป่วยกว่าสองพันคน พบว่า 41% มีการปัสสาวะได้ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย โดยไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด ประโยชน์ของเมล็ดฟักทอง ช่วยให้ต่อมลูกหมากทำงานปกติ ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มีสังกะสีเป็นส่วนประกอบมากที่สุด ในเมล็ดฟักทองเป็นแหล่งของสังกะสีซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการ เจริญเติบโตทั่วไป และการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ที่พอเหมาะ ตลอดจนการทำงานตามปกติของ ต่อมลูกหมาก (prostate gland) การขาดสังกะสีเป็นสาเหตุของการเป็นหมัน และทำให้ขนาดและโครงสร้างของต่อมลูกหมากผิดปกติได้

ข้อมูลจาก : กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ กรุงเทพฯ,

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook