ค่าชดเชย ต้องจ่ายยังไง

ค่าชดเชย ต้องจ่ายยังไง

ค่าชดเชย ต้องจ่ายยังไง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทนาย ทนายความ ทนายวิรัช

 

พอเศรษฐกิจเริ่มไม่ค่อยดี สิ่งแรกที่นายจ้างจะทำคือ ลดคน

เพราะเป็นต้นทุนที่สูงที่สุด นายจ้างจึงหาวิธีการอย่างไรให้ลูกจ้าง

ออกจากงาน ไม่ว่าจะเป็นการบีบให้ออกจากงาน โดยเปลี่ยนแปลงหน้าที่

ย้ายลูกจ้างออกไปทำงานต่างจังหวัด บีบลูกจ้างกันสุดสุด

 

มามองฝั่งลูกจ้างบ้าง พอทำงานมาสักระยะ หลายคนก็มีภาระ

เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์  ค่าเล่าเรียนลูก ทั้งลูกเมียน้อย ลูกเมียหลวง

ดังนั้น ไม่ว่านายจ้างจะบีบอัดอย่างไรก็ต้องอดทน เพราะการ

ตกงานและออกไปหางานใหม่ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

 

นายจ้างส่วนใหญ่ก็มักจะมีทนายความเป็นเพื่อนคู่คิดก็ได้รับความรู้ว่า

ถ้าให้ออกโดยลูกจ้างไม่มีความผิดต้องจ่ายค่าชดเชย ก็พยายามใช้

วิธีสารพัด เช่น ให้เขียนใบลาออก หรือ สมัครใจลาออก

ลูกจ้างก็ฉลาดไม่เบาบางคนก็ไปศึกษาหาความรู้มาว่า

 

"ลาออก บาทเดียวก็ไม่ได้"

 

ผมรู้ว่าคนที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ไม่เป็นนายจ้างก็ลูกจ้าง

อยากหาทางออกว่าวิธียังไงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เอาเป็นสรุปอย่างนี้ว่า

ถ้านายจ้างอยากให้ลูกจ้างออก และลูกจ้างก็ออกโดยได้รับเงินสมน้ำสมเนื้อ

ผมแนะนำว่าควรจ่ายค่าชดเชยให้มันจบๆ ไป ดังนั้นจึงควรมารู้ว่า...

 

หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแบบง่ายๆ เขาคิดกันยังไง

ลูกจ้าง ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี นายจ้างจ่าย 30 วัน

ลูกจ้าง ทำงานครบ 1 ปี  แต่ไม่ถึง 3 ปี นายจ้างจ่าย 90 วัน

ลูกจ้าง ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี นายจ้างจ่าย 180 วัน

ลูกจ้าง ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี นายจ้างจ่าย 240 วัน

ลูกจ้าง ทำงานตั้งแต่ 10 ปี นายจ้างจ่าย 300 วัน

 

วิธีง่ายๆ เท่านี้ไม่ต้องเขียนเป็นมาตรากฎหมายให้ปวดหัวกัน

 

ข้อคิดที่นายจ้างและลูกจ้างควรนำไปใช้ก็คือ...

นายจ้างก็ถือว่าเงินชดเชยจำนวนนี้เป็นของขวัญที่มอบให้กับ

ลูกจ้างที่เคยอยู่ช่วยกันมา ส่วนลูกจ้างก็ถือว่าได้รับของขวัญ

จากนายจ้าง เพียงเท่านี้ก็สบายใจทั้งสองฝ่าย

 

แล้วกลับมาติดตามบทความดีๆ จากทนายวิรัชได้ใหม่ในครั้งหน้า

 

เกี่ยวกับ ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ – ทนายความ อาจารย์ นักเขียน คอลัมนิสต์

พลาธิปัตย์ และ  ออลแม็คกาซีน ผู้ดำเนินการรายการทีวี สน.บานเย็น ช่อง Newtv 18

แขกรับเชิญในรายการ  What's up spring  ช่อง springnews 19

(สามารถติดตามที่ช่องทาง youtube.com)  และแสดงความเห็นด้านกฎหมายหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เดลินิวส์ โพสต์ทูเดย์ เป็นประจำ และเขียนบทความผ่าน tanaiwirat.com

 

ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของสำนักงานกฎหมายวิรัช หวังปิติพาณิชย์

งานของสำนักงาน ว่าความ คดีอาญา คดีแพ่ง มรดก ปรึกษากฎหมาย พินัยกรรม

จดโลโก้  โนตารีพับลิค  notary public   โดยมีหนังสือที่เขียนแล้ว 3 เล่ม

วางจำหน่ายที่ร้านซีเอ็ดและร้านหนังสือชั้นนำทั้่วไปในชื่อ  กฎหมายหลายรส

 

 

 

ติดต่อผู้เขียนและสอบถามคำถามด้านกฎหมายได้ที่...

Screenshot_2015-08-25-03-05-58  : facebook.com/tanaiwiratdotcom

Screenshot_2015-08-25-03-05-31  :  www.twitter.com/tanaiwirat

2014-07-22-16-31-07

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook