คิดจะตั้งบริษัท ถ้าไม่ได้อ่านบทความนี้ ถือว่า พลาด

คิดจะตั้งบริษัท ถ้าไม่ได้อ่านบทความนี้ ถือว่า พลาด

คิดจะตั้งบริษัท ถ้าไม่ได้อ่านบทความนี้ ถือว่า พลาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

PhotoGrid_1448085625983

 

 

คนที่กำลังเตรียมลาออกจากงาน  คนกำลังหางานใหม่

คนที่เบื่อเป็นลูกจ้าง คนที่เคยหุ้นส่วนกับเพื่อนแล้วผิดหวัง

 

กำลังมองหาวิธีการจัดตั้งธุรกิจ

  • ที่ปลอดภัย และ
  • ป้องกันตัวเองได้พอสมควร

ใช่ผมกำลังจะบอกว่า นั้นคือ " บริษัท"

 

วันนี้ผมขอนำเสนอข้อดีของการจัดตั้ง บริษัท

 

จำกัดความรับผิดชอบ นะครับ

เวลาที่เราจัดตั้งธุรกิจแบบ เจ้าของคนเดียว หรือ ห้างหุ้นส่วน

ถ้าดำเนินการไปแล้วผิดพลาด ถึงขั้นถูกฟ้องล้มละลาย

(ประหารชีวิตทางแพ่ง)  ผู้ประกอบการ หรือ หุ้นส่วนประเภท

ไม่จำกัดจำนวน จะต้องถูกฟ้องล้มละลาย ง่ายๆ คือ ตายตามกัน

แต่ในส่วนของ บริษัท นั้น บริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้น หรือ กรรมการ

ไม่ล้มละลายไปด้วยนะ ภาษาบ้านๆ เรียกว่า " ลอยนวล "

 

ระดมทุนได้ ไม่ยาก

ถ้าเป็นแบบเจ้าของคนเดียว การระดมทุนทำได้ยาก

เพราะใครจะมาลงทุน นอกจากครอบครัว และ ห้างหุ้นส่วน

นั้นจะมีขั้นตอนตามกฎหมายยุ่งยากพอสมควร

แต่แบบบริษัทสามารถระดมขายหุ้นกันได้เลย

ให้ทนายความช่วยร่างสัญญาโอนหุ้นกันเท่านั้นก็เสร็จละ

 

น่าคบหา และมีเครดิต นะครับ

รูปแบบบริษัท มีกฎหมายที่คอยกำกับ ทำให้

ผู้ที่จะมาลงทุน หรือ จะไปติดต่อขอกู้ยืมเงิน

จากสถาบันการเงิน ก็ทำได้ง่าย จะผิดจาก

เจ้าของคนเดียว หรือ ห้างหุ้นส่วน ที่จะทำได้ยาก

 

ภาษี น่าจ่าย

ถ้าเป็นรูปแบบของเจ้าของคนเดียว

อาจเสียภาษีสูงสุดถึง 35% แต่ในขณะที่

บริษัทเสียภาษีอัตราเดียว 30%

จึงสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ

และสบายใจ เอาสมองมาคิดเรื่องอื่นๆ ได้

 

รองรับความเจริญเติบโต ได้ดี

เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องปฎิบัติให้เป็นไปตาม

กฎหมาย ดังนั้น ผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องดำเนิน

ธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตรวจจสอบได้

เวลามีผู้ลงทุนใหม่ๆ เข้ามาก็สามารถตรวจสอบ

และลงทุนได้ไม่ต้องมาระแวงอะไรอีก

การดำเนินธุรกิจหรือการขยายก็ทำได้ง่าย

 

นี่เป็นเพียงบางส่วนของข้อดีของการจัดตั้งบริษัท

 

อ้าวแล้ว ข้อเสีย ไม่มีหรือ ?

 

ผมก็กำลังจะพิมพ์นี้ละ ในทุกข้อดี ก็มีข้อเสีย

ลองมาติดตามอ่านกันต่อ

 

ต้องมีการจัดทำบัญชี

เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้บริษัทต้อง

ดำเนินการจัดทำบัญชีเสนอต่อสรรพกร

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ด้านบัญชี

ในรายใหญ่อาจต้องมีฝ่ายบัญชี ทำเป็นเรื่อง

เป็นราวกันทีเดียว

 

ในบางรายจำเป็นต้องจ้างบุคคล

ภายนอกมาเพื่อจัดทำบัญชีเป็นรายวัน

และต้องมีการจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีมาเพื่อตรวจ

สอบบัญชีของบริษัทด้วย ตรงนี้ย่อมมีค่าใช้จ่าย

เช่นกัน ผู้ตรวจสอบค่าตัวไม่น้อยเช่นกัน

 

อำนาจควบคุมบริษัท ไม่เบ็ดเสร็จ

ในกฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ที่มีอำนาจในการ

จัดการต่างๆ ของบริษัท ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้น

ดังนั้น ถ้าใครถือหุ้นส่วนมากที่สุด ก็จะเป็น

ผู้ที่กำหนดที่ทิศทาง

 

ในบางเรื่องจำต้องต้องมีการประชุม

ผู้ถือหุ้นเพื่อตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ก็อาจทำให้ธุรกิจชะงักไปได้ เพราะบางที

ผู้ถือหุ้นแต่ละคนก็ไม่สะดวกที่จะมาประชุม

กัน อาจทำให้คู่แข่ง นำหน้าไปได้ ตรงนี้

ก็ต้องพึงระวัง

 

รายละเอียดกฎหมายค่อนข้างวุ่น

ในแต่ละการตัดสินใจของบริษัท ต้องใช้

ผู้ที่รู้กฎหมายพอสมควร ต้องเข้าใจประมวลกฎหมายแพ่ง

เพราะถ้าเกิดทำอะไรผิดพลาดไป อาจทำให้นิติกรรมนั้น

เสียไปได้ ตรงนี้ทุกคนต้องศึกษากฎหมาย

เป็นอย่างดี

 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้าสูง

ที่บอกว่าสูงก็เพราะว่า อาจต้องจ้างผู้บริหารมืออาชีพ

จากภายนอกค่าตัวก็ไม่น้อย ในจะค่าทำบัญชีในแต่ละ

เดือนเป็นจำนวนไม่น้อย และในบางครั้งต้องติดต่อ

กับเจ้าหน้าที่พอสมควร ซึ่งส่วนนี้เป็นเงินเป็นทองทั้งสิ้น

ดังนั้นคงต้องพิจารณาว่าคุ้มหรือไม่

 

การเลิกกิจการทำได้ยาก

กรณีธุรกิจไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้อีก

ไม่ใช่ว่าจะอยู่เฉยๆ ให้ปิดไป หรือ ไม่ส่งงบ

จริงๆ อยากบอกว่า อยู่เฉยๆ มีโทษนะครับ

หลายคนไม่เข้าใจ ปล่อยเลยตามเลย

ทางกรมจะส่งเอกสารดำเนินคดีมาให้

มีโทษปรับสูงเหมือนกัน

ดังนั้น ถ้าจะปิดกันจริงๆ ต้องมีการชำระบัญชี

และจัดการให้ถูกต้องตามระเบียบ

ข้อบังคับทางกฎหมาย

 

ข้อมูลสามารถรับรู้ได้โดยง่าย

ต้องบอกว่า เมื่อมีการจดจัดตั้งบริษัท

กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องเปิดเผยข้อมูล

ผู้ถือหุ้นคือใคร ลงหุ้นคนละเท่าไหร่ ทุนจดทะเบียน

มากน้อยเพียงใด

ดังนั้น ข้อมูลผู้ถือหุ้น  บุคคลภายนอกจึงสามารถ

ทราบได้ ไม่เป็นความลับ

 

ทั้งหมดนี้คือ บางส่วนทั้งข้อดีและข้อเสียของ

การจัดตั้งบริษัท คงต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ

ว่ารูปแบบนี้เหมาะสมกับธุรกิจของเราหรือไม่

 

หวังว่าคงจะตัดสินใจจัดตั้งบริษัทได้เร็วๆ นี้

 

อย่าลืมนะครับ  กฎหมายง่ายนิดเดียว

 

และกลับมาติดตามบทความดีๆ จากทนายวิรัชได้ใหม่ในครั้งหน้า

 

เกี่ยวกับ ทนายวิรัช หวังปิติพาณิชย์ – ทนายความ อาจารย์ นักเขียน

คอลัมนิสต์พลาธิปัตย์ และ  ออลแม็คกาซีน ผู้ดำเนินการรายการทีวี

สน.บานเย็น ช่อง Newtv 18  แขกรับเชิญในรายการ  What's up spring

ช่อง springnews 19  (สามารถติดตามที่ช่องทาง youtube.com)

และแสดงความเห็นด้านกฎหมายหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์

โพสต์ทูเดย์ เป็นประจำ และรับจ้างรีวิวบทความ  

 

ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของสำนักงานกฎหมายวิรัช หวังปิติพาณิชย์

งานของสำนักงาน ว่าความ คดีอาญา คดีแพ่ง มรดก ปรึกษากฎหมาย พินัยกรรม

จดโลโก้  โนตารีพับลิค  notary public   โดยมีหนังสือที่เขียนแล้ว 3 เล่ม

วางจำหน่ายที่ร้านซีเอ็ดและร้านหนังสือชั้นนำทั้่วไปในชื่อ  กฎหมายหลายรส

 

ติดต่อผู้เขียนและสอบถามคำถามด้านกฎหมายได้ที่...

Screenshot_2015-08-25-03-05-58  : facebook.com/tanaiwiratdotcom

Screenshot_2015-08-25-03-05-31  :  www.twitter.com/tanaiwirat

2014-07-22-16-31-07

ask abby

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook