“เลิกเหล้า” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ ในหลวงรัชกาลที่ 9

“เลิกเหล้า” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ ในหลวงรัชกาลที่ 9

“เลิกเหล้า” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ ในหลวงรัชกาลที่ 9
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงที่มีงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิธ ทางกรมคุมโรคขอความร่วมมือประชาชน งดดื่มสุราในช่วงงานพระราชพิธีระหว่าง  25-29 ตุลาคมนี้ เพื่อร่วมใจน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศลด้วยความจงรักภักดีแด่ในหลวง รัชกาลที่ 9

แต่คงจะดีกว่า หากประชาชนร่วมใจกันเลิกดื่มสุราอย่างเด็ดขาด เพราะทุกคนต่างทราบกันดีอยู่แล้วนอกจากอุบัติเหตุเมาแล้วขับ หรือเมามายขาดสติจนเป็นเหตุให้ทำร้ายร่างกายผู้อื่นแล้ว การดื่มแอลกอฮอล์ยังไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพด้วย

โดยการดื่มสุราส่งผลเสียทั้งต่อสมอง ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหารและตับ ระบบหัวใจและหลอดเลือด  การทำงานของเม็ดเลือก ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์ และยังเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งด้วย

ดังนั้น หากถือโอกาสนี้ ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีด้วยการงดดื่มสุรา เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล ก็จะดีทั้งต่อตัวเองและครอบครัว ซึ่ง “สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า” มีข้อแนะนำในการเลิกสุราให้ได้เด็ดขาด ดังนี้

1.ตั้งใจจริง การเลิกเหล้าไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจความสำเร็จย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม

2.ตั้งเป้าว่าจะเลิกเหล้าเพื่อใคร เพราะเหตุใด เช่น  เพื่อพ่อแม่ เพื่อตัวเองจะได้มีสุขภาพดี แถมมีเงินเก็บมากขึ้น เพื่อลูกและครอบครัว…เพราะเหล้าเข้าปากทีไร เป็นต้องทะเลาะกันทุกที ถ้าเลิกเหล้าก็คงทะเลาะกันน้อยลง ครอบครัวจะได้มีความสุข มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น เป็นต้น

3.หยุดทันที! คนที่มีแนวคิดว่าเพียงแค่ดื่มเพื่อความสนุกสนานหรือต้องการเข้าสังคม เมื่อตั้งใจที่จะเลิกเหล้า ก็ต้องพยายามหักห้ามใจ และหยุดดื่มทันที

4.ปรับเปลี่ยนนิสัยการดื่ม สำหรับคนที่เคยดื่มเหล้าเป็นประจำอาจเลิกทันทีได้ยาก ให้ลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจช่วยให้ดื่มเหล้าน้อยลงได้ เช่น ดื่ม เหล้าพร้อมกับการรับประทานอาหาร หรือ หมั่นดื่มน้ำเปล่าควบคู่ไปด้วยระหว่างการดื่มเหล้า เปลี่ยนขนาดของแก้ว จากแก้วใหญ่เป็นแก้วเล็กดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำกว่าทดแทนไปก่อนใน ระยะแรก

5.ตั้งเป้าว่าจะลดปริมาณการดื่ม เช่น จากที่เคยดื่มวันละ 8แก้ว ก็อาจจะลดปริมาณการดื่มลงไปเรื่อยๆ จนเหลือวันละ 1แก้ว และไม่ดื่มเลยแม้แต่แก้วเดียวในที่สุด

6.หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ความเสี่ยงในที่นี้คือ สถานการณ์หรือสถานที่ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เราดื่มเหล้าได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ช่วงเวลาหลังเลิกงาน วันเงินเดือนออก วาระหรือโอกาสพิเศษต่างๆ การไปเที่ยวผับหรือร้านอาหาร สถานบันเทิง การชักชวนจากกลุ่มเพื่อนที่ดื่มจัด รวมถึงสาเหตุต่างๆ ที่นำไปสู่อาการเหน็ดเหนื่อย ทดท้อ เหงา เศร้า เครียด ฯลฯ

7.เมื่อมีเวลาว่าง ให้ทำกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์แทนการดื่มสังสรรค์ ทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพหลังเลิกงาน เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬาฉลองวาระพิเศษต่างๆ ด้วยแนวปฏิบัติแบบใหม่ เช่น ไปทำบุญแทนการดื่มเมื่อรู้สึกเหงา เศร้าหรือเครียด ให้หากิจกรรมสร้างสรรค์และจรรโลงจิตใจทำทันที อาทิ อ่านหนังสือ ฟังเพลง ชมภาพยนตร์ ตลอดจน เล่นกีฬา ฯลฯ

8.ฝึกปฏิเสธให้เด็ดขาด เช่น ถ้าเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่ม ให้บอกเค้าไปว่า “หมอห้ามดื่ม , ไม่ว่างต้องไปทำธุระ ฯลฯ”

9.หาที่พึ่งทางใจ รวมถึงหากำลังใจจากคนรอบข้าง เช่น พ่อแม่ คนรัก ลูก หรือเพื่อนสนิท ที่สามารถปรึกษาหารือให้คำแนะนำดีๆ แก่เราได้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเราต้องการ นอกจากนี้การพูดคุยหรืออ่านประสบการณ์ของคนที่เลิกเหล้าสำเร็จ ก่อนจะพบกับความสวยงามของชีวิตย่อมช่วยสร้างกำลังใจให้กับเราได้มากอย่างที เดียว

10.ปรึกษาหน่วยงานช่วยเหลือ หากไม่สามารถเลิกเหล้าด้วยตัวเองควรปรึกษาหน่วยงานช่วยเหลือดังต่อไปนี้ สายด่วนยาเสพติด สถานธัญรักษ์ กรมการแพทย์ โทร: 1165 , สายด่วนเลิกเหล้า ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา โทร: 1413,  โรงพยาบาลและสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

ข้อมูล : สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook