คุยกับหมอพิณ เมื่อปากไม่ได้จูบกับปาก
Thailand Web Stat

คุยกับหมอพิณ เมื่อปากไม่ได้จูบกับปาก

คุยกับหมอพิณ เมื่อปากไม่ได้จูบกับปาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องจูบนั้นสำคัญไฉน โรคอะไรที่มากับการจูบปากต่อปากกันได้บ้าง

สัปดาห์นี้ เราจะมาคุยกันเรื่องเมื่อปากไม่ได้จูบกับปาก แต่ไปป๊ะกับอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งจะขอเน้นอยู่ที่อวัยวะบริเวณเหนือหัวเข่า ใต้สะดือนะคะ กิจกรรมที่ใช้ปากกับอวัยวะบริเวณดังกล่าว หรือเรียกกันคุ้นหูว่า Oral Sex นำพาโรคอะไรมาสู่กันได้บ้าง

โรคแรกที่จะพูดถึง ได้แก่ โรคเอดส์ค่ะ

ความเสี่ยงในการติดโรคจะอยู่ที่เจ้าของปากค่ะ ส่วนผู้ที่ได้รับการปฏิบัติจะปลอดภัย เพราะโรคเอดส์ไม่ส่งผ่านกันทางน้ำลายค่ะ โดยความเสี่ยงจะมากขึ้นในกรณีที่มีแผลในปาก เช่น เพิ่งไปทำฟันมา เสี่ยงมากขึ้นถ้ามีการหลั่งน้ำอสุจิในช่องปาก

โรคมะเร็งช่องปาก โดยนักวิชาการกล่าวว่า มะเร็งในส่วนช่องปากและลำคอ (Oropharynx) และทอนซิล อาจเกิดจากไวรัส HPV (ชื่อคุ้น ๆ ไหมคะ ก็ตัวเดียวกันกับไวรัสที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกค่ะ)

โดยสิ่งที่ทำให้นักวิชาการสงสัยว่า การเกิดมะเร็งชนิดนี้เกี่ยวข้องกับ Oral Sex เพราะในสมัยก่อน มะเร็งช่องปากและลำคอพบได้ในคนสูบบุหรี่จัด ดื่มสุราหนัก ๆ แต่ในระยะ 10-20 ปีที่ผ่านมา พบมะเร็งดังกล่าวในคนที่มิได้ดื่มสุราจัด สูบบุหรี่จัด (แต่สูบอย่างอื่นแทน) โดยพบว่าความเสี่ยงจะเพิ่มในคนที่มีกิจกรรม Oral Sex กับคู่นอนจำนวน 6 คนขึ้นไป

โรคเริม หรือ Herpes Simplex Visrus ชนิดที่ 1 ที่พบได้ที่ปาก ติดต่อกันแบบปากต่อปาก

Advertisement

ส่วนชนิดที่ 2 พบได้บริเวณอวัยวะเพศ ติดต่อกันในทางเพศสัมพันธ์ปกติ แต่ในกรณี Oral Sex เจ้าตัวไวรัสทั้ง 2 ชนิดก็เดินทางกันสนุกสนาน เดี๋ยวปาก เดี๋ยวอวัยวะเพศ

โรคหนองใน มีการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ว่า กิจกรรมการใช้ปากอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหนองในในลำคอได้ (ซึ่งรักษายากมาก)

ไวรัสตับอักเสบ ไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อกันได้ในเพศสัมพันธ์ทุกช่องทาง หากยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ส่วนการใช้ปากบริเวณรูทวาร จะทำให้เพิ่มการติดต่อของไวรัสตับอักเสบเอได้ด้วยค่ะ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น เชื้อคลามีเดีย ซิฟิลิส ปฏิบัติการออรัลเซ็กซ์เป็นกิจกรรมที่ถือว่าปกติในปัจจุบันนะคะ ไม่ได้วิตถารแบบที่คนสมัยก่อนกล่าวกันไว้ โดยมีการสำรวจในต่างประเทศ พบออรัลเซ็กซ์สูงถึง 90% ในคู่แต่งงาน

กิจกรรมดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ก็จริง แต่ก็ต้องระวังการติดต่อโรคต่าง ๆ สู่กันและกันด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ

ที่มา
คอลัมน์ คุยกับหมอพิณ
โดย พญ.พิณนภางค์ ศรีพหล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้