ช่างภาพแคนาดา เชื้อสายจีน-มาเลเซีย นำ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" เป็นงานศิลปะสุดล้ำ

ช่างภาพแคนาดา เชื้อสายจีน-มาเลเซีย นำ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" เป็นงานศิลปะสุดล้ำ

ช่างภาพแคนาดา เชื้อสายจีน-มาเลเซีย นำ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" เป็นงานศิลปะสุดล้ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่างภาพแคนาดา เชื้อสายจีน-มาเลเซีย ขอบริจาค 'ขยะอิเล็กทรอนิกส์' เกือบ 2 พันกิโลกรัมเพื่อนำไปสร้างงานศิลปะ กระตุ้นให้คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญในการรีไซเคิลขยะที่ไม่อาจย่อยสลาย จะได้ไม่กลายเป็น 'ขยะพิษ'

"จะทำยังไงให้การรีไซเคิลขยะกลายเป็นเรื่องเท่?"

คือคำถามที่ 'เบนจามิน วอน หว่อง' ช่างภาพชาวแคนาดาเชื้อสายจีน-มาเลเซีย ถามตัวเอง หลังจากที่คิดจะผลักดันโครงการรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเมื่อปีที่แล้ว

เพราะจากการรวบรวมข้อมูลในสหรัฐอเมริกา พบว่าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกทิ้งกลายเป็นขยะประมาณ 142,000 ชิ้น 'ต่อวัน' ซึ่งเป็นผลสำรวจตั้งแต่ปี 2010 และยังไม่มีการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม

คาดว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกทิ้งในแต่ละวัน (เฉพาะในสหรัฐฯ) จะต้องเพิ่มขึ้นจำนวนขึ้นอย่างแน่นอน เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีราคาถูกลงและตกรุ่นเร็วยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนแทบจะประเมินไม่ได้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกจะมีปริมาณเท่าใด 

รู้แต่ว่ายิ่งมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นปัญหาผู้คนและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเท่านั้น เพราะขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เอง และโลหะที่เป็นส่วนผสมของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะเป็นตัวการก่อมลพิษในสิ่งแวดล้อมอย่างไม่มีทางเลี่ยง 

dell-shootday02083_1-x3

ขณะที่ 'เดลล์' ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ประกาศตัวว่าเป็นบริษัทที่มีโรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมการรีไซเคิลแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่ผลิตสินค้าโดยใช้วัสดุที่รีไซเคิลได้ตั้งแต่ต้น และมีระบบคัดแยกขยะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะเป็นพิษต่างๆ รวมถึงโครงการบริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์รีไซเคิลได้ให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้งานใน 80 ประเทศทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ หว่องจึงได้ติดต่อไปยังแผนกส่งเสริมความรับผิดชอบองค์กร (CSR) ของเดลล์ในสหรัฐฯ เพื่อขอบริจาคขยะมาสร้างผลงานศิลปะกระตุ้นจิตสำนึก รวมถึงขอใช้สถานที่ในโรงงานรีไซเคิลขยะที่เมืองดัลลัสของเดลล์ในการจัดทำศิลปะครั้งนี้ 

หว่องชวนอาสาสมัครกว่า 50 คนเข้าร่วมโครงการ มีทั้งนางแบบ ช่างแต่งหน้า นักออกแบบฉาก ผู้ช่วยช่างภาพ และผู้ที่สนใจกิจกรรมรณรงค์อื่นๆ โดยพวกเขาช่วยกันนำขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 1,845 กิโลกรัมมาทำเป็นฉากสำหรับถ่ายภาพ รวมทั้งหมด 3 ฉาก และกระบวนการทั้งหมดใช้เวลา 10 วัน

หลังจากได้ฉากงานศิลปะตามที่ตั้งใจ หว่องก็ถ่ายภาพเก็บไว้ จากนั้นก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเดลล์ในการแยกขยะและนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

ภาพถ่ายของหว่องถูกนำไปเผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของเขา ทั้งเว็บบล็อกส่วนตัว, เฟซบุ๊ก, ยูทูบ, ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม เนื่องจากหว่องเป็นช่างภาพนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวในประเด็นทางสังคมอยู่ก่อนแล้ว โดยผลงานก่อนหน้านี้คือการถ่ายภาพนางแบบกับขยะพลาสติกเพื่อรณรงค์ต่อต้านขยะพลาสติกในทะเล ทำให้เขามีผู้ติดตามเครือข่ายออนไลน์ต่างๆ อยู่หลายแสนคนทั่วโลก และคาดว่าโครงการนี้จะเป็นอีกหนึ่งผลงานที่มีผู้ให้ความสนใจ

dell-shootday00700-x3

หว่องระบุในเว็บไซต์ของเขาด้วยว่า ผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรมรณรงค์เรื่องการรีไซเคิลสามารถถ่ายภาพตัวเองพร้อมกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่ลงในสื่อออนไลน์ และร่วมกันแชร์ลิงค์วิดีโอของเขา เพื่อรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้และการวางแนวทางรีไซเคิลในพื้นที่ต่างๆ ต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ หว่องจะสุ่มเลือกผู้โชคดีที่ร่วมกิจกรรมโดยการแชร์ภาพหรือวิดีโอของโครงการศิลปะชิ้นนี้ในสื่อออนไลน์ รวมถึงผู้บริจาคเงินสนับสนุนโครงการรีไซเคิล www.RethinkAndRecycle.com ซึ่งผู้โชคดีที่ถูกเลือกจะเป็นผู้ได้ภาพถ่ายผลงานของเขาในครั้งนี้ไปครอง และเขาจะเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งทั้งหมดเอง

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ ช่างภาพแคนาดา เชื้อสายจีน-มาเลเซีย นำ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" เป็นงานศิลปะสุดล้ำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook