เมื่อศิลปะไม่ได้หยุดแค่ภาพวาด มาทำความรู้จัก Kinetic Art ลัทธิที่ทำให้ศิลปะขยับได้

เมื่อศิลปะไม่ได้หยุดแค่ภาพวาด มาทำความรู้จัก Kinetic Art ลัทธิที่ทำให้ศิลปะขยับได้

เมื่อศิลปะไม่ได้หยุดแค่ภาพวาด มาทำความรู้จัก Kinetic Art ลัทธิที่ทำให้ศิลปะขยับได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Untitled (1955)

คนส่วนใหญ่จะคุ้นตาแต่งานศิลปะที่เป็นภาพวาด 2 มิติ รูปปั้น 3 มิติ หรือสื่อผสม วิดีโอต่างๆ แต่ถ้าพูดถึงศิลปะเป็นชิ้นๆ ที่ขยับได้ อาจจะเริ่มห่างไกลจากคนทั่วไป

ความจริงมันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะศิลปะที่ขยับได้ หรือลัทธิ Kinetic Art นี้มีมาตั้งแต่ค.ศ. 1930 แต่ก็ไม่ได้นิยมแพร่หลายมากนัก เพราะมันไม่ได้ทำง่ายๆ แบบภาพวาดหรือรูปปั้นปกติ แต่ต้องคำนึงถึงน้ำหนัก รูปทรงของสิ่งที่จะเอามาทำ

 
ชื่อที่ไม่ค่อยจะคุ้นหูกันเลยก็คือ Naum Gabo ผู้ริเริ่ม Kinetic Art ตัวจริง แต่จะเน้นไปที่การเล่นกับโครงสร้างมากกว่า ผลงานเลยยังไม่ถึงขั้นขยับได้เหมือนนิยามของลัทธิเท่าไร

ศิลปินที่เด่นๆ และทำให้ Kinetic เป็นที่รู้จักจริงๆ นั่นก็คือ Alexander Calder (อเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์) ผู้ที่สร้างสรรค์ประติมากรรมขยับได้ หรือที่ดูชองป์เรียกมันว่า โมไบล์ (Mobile) นั่นเอง คือดาลเดอร์ก็แทบจะเรียกว่าเป็นไอค่อนของ Kinetic เลยก็ได้ เพราะเราก็จะนึกถึงคาลเดอร์คนแรกและคนเดียวเมื่อพูดถึง Kinetic

*มาร์เซล ดูชองป์ ศิลปินผู้นำลัทธิดาดา เจ้าของผลงาน โถฉี่ ที่ดังไปทั่วโลก

สมัยที่ที่บ้านยังไม่สนับสนุนให้เป็นศิลปิน เขาเลือกเรียนวิศวกรรมเครื่องกล ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมคาลเดอร์ถึงสร้างสรรค์ผลงานขยับได้ขึ้นมาได้ มันไม่ได้อาศัยเพียงรูปทรงที่สวยงามเหมือนสื่ออื่นๆ แต่ยังต้องพึ่งวิทยาศาสตร์ การคำนวณน้ำหนัก และทิศทางของรูปทรงแต่ละชิ้นด้วย แต่ด้วยความที่ใจรักในศิลปะ เขาก็ดั้นด้นจนได้มาเรียนศิลปะและเป็นศิลปินที่ทำงานประติมากรรมในที่สุด

รูปทรงต่างๆ ที่คาลเดอร์นำมาใช้ในการทำโมไบล์นี้ เหมือนถอดมาจากผลงานของเพื่อนศิลปิน ที่เห็นชัดๆ เลยก็คือ Joan Miro (ฮวน มิโร ในการอ่านแบบภาษาสเปน) ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สีจัดๆ และการจัดเรียงที่แปลกๆ แบบ Abstract

Women at Sunrise (1946) – Joan Miro


Maternity (1924) – Joan Miro
การสร้างผลงานศิลปะแบบนี้แทบจะเรียกว่าปฏิวัติวงการเลยก็ได้ ในช่วงของการเกิดลัทธิ Kinetic เป็นยุคที่กำลังจะเข้าสู่ศิลปะร่วมสมัย เข้าสู่ยุคที่อะไรก็สามารถเป็นศิลปะได้ ซึ่ง Kinetic เป็นการริเริ่มสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยทำ เหมือนเป็นการรวมหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ (ทั้ง Surrealist เหนือจริง , Abstract นามธรรม , Modern Art ศิลปะสมัยใหม่ , ประติมากรรม , Conceptual แนวคิด) วิศวกรรมศาสตร์ (การคำนวณและโครงสร้าง)  ด้วยความที่ต้องใช้ความสามรถหลากหลายขนาดนี้ทำให้ศิลปินที่ทำงาน Kinetic Art แบบโมไบล์จริงๆ มีไม่กี่คนเท่านั้น


ความจริงผลงานที่เด่นๆ ของคาลเดอร์ไม่ได้มีแค่ผลงานที่เป็นไอค่อนของ Kinetic เท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นประติมากรรมลวด หรือโครงสร้างตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ก็มีเหมือนกัน ยังลามไปถึงการทำภาพพิมพ์ในสไตล์งานของตัวเองเป็นคอลเลคชั่นอีกด้วย

Flamingo (1974) ตั้งอยู่ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา
แนะนำเลยสำหรับคนที่ยังไม่เคยเห็นว่าผลงาน Kinetic Art ของคาลเดอร์ยิ่งใหญ่แค่ไหน สามารถไปดูกับตาตัวเองง่ายๆ ได้ที่ประเทศเกาหลีใต้ มีผลงานจริงของคาลเดอร์อยู่ที่ Leeum, Samsung Museum of Art พิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมทั้งของโบราณ ศิลปะร่วมสมัย และประติมากรรมของศิลปินระดับโลกอย่างคาลเดอร์ และผลงานกระจกของ Anish Kapoor ไว้ด้วยกัน แต่ถ้าใครอยากดูนิทรรศการเต็มๆ ก็ยังจัดกันอยู่เรื่อยๆ ในยุโรปและอเมริกา ถึงแม้คาลเดอร์จะเสียชีวิตไปกว่า 40 ปีแล้วก็ตาม

ผลงานของ Anish Kapoor และ Alexander Calder


ผลงานของ Alexander Calder

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook