10 อาชีพ เสี่ยงโรคปวดเรื้อรัง

10 อาชีพ เสี่ยงโรคปวดเรื้อรัง

10 อาชีพ เสี่ยงโรคปวดเรื้อรัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาชีพที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ บางอย่างก็เสี่ยงต่อสุขภาพและอาการปวดเมื่อยโดยไม่รู้ตัว มาดูกันดีกว่าว่าใช่อาชีพที่คุณทำอยู่รึเปล่า

1. วิศวกร มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ และใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ หัวไหล่ รวมไปถึงข้อมือ

2. ดีไซเนอร์ มีพฤติกรรมขีดๆ เขียนๆ เพื่อออกแบบเป็นเวลานานๆ เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ หัวไหล่ ข้อมือ และอาจมีอาการนิ้วล็อกร่วมด้วย

3. สจ๊วตและแอร์โฮสเตส มีพฤติกรรมการทำงานที่ต้องยกของหนัก เอื้อมหยิบเก็บของบนที่สูง เข็นรถและเสิร์ฟอาหารเป็นประจำ จึงเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบ่า สะบัก หัวไหล่ รวมไปถึงท่อนแขน

4. เซลส์แมน มีพฤติกรรมยกของหนัก ขับรถเป็นเวลานาน ใช้คอมพิวเตอร์ คุยโทรศัพท์ ใช้บีบีต่อเนื่องเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ หัวไหล่ ข้อมือ และอาจมีอาการนิ้วล็อกร่วมด้วย

5. นักคอมพิวเตอร์ มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ ใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว รวมไปถึงมึนศีรษะ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการของไมเกรน

6. นักบัญชี พฤติกรรมก้มๆ เงยๆ ใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันกับตัวเลขเอกสารต่างๆ มากมาย ทำให้เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว รวมไปถึงอาเจียน ซึ่งเป็นอาการของไมเกรน

7. สถาปนิก มีพฤติกรรมขีดๆ เขียนๆ ออกแบบ เขียนแบบเป็นเวลานานๆ เสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ หัวไหล่ ข้อมือ มีอาการนิ้วล็อกและชาแขนร่วมด้วย

8. โฟร์แมน มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ อยู่กลางแดดเป็นเวลานานๆ เสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อคอบ่าอักเสบ ตาพร่า มีโอกาสเสี่ยงเป็นไมเกรนได้

9. ทันตแพทย์ มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ บิดตัว เอี้ยวตัว เกร็งข้อมือและนิ้วมือต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ทำให้เสี่ยงเป็นโรคปวดบ่า ต้นคอ สะบัก หลัง รวมไปถึงอาจเป็นนิ้วล็อกได้

10. ผู้บริหาร มีพฤติกรรมใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ อีกทั้งมีความเครียดสูง ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอเกร็ง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะไม่เพียงพอ มึนศีรษะ ปวดขมับ ปวดกระบอกตา ตาพร่า นอนไม่หลับ จนส่งผลให้เป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรังหรือไมเกรนได้

ใครทำอาชีพไหนลองหมั่นสังเกตตัวเองดู ถ้ามีอาการดังกล่าว ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อหาทางบำบัดรักษา อาชีพอื่นอย่าคิดว่ารอดตัว เอาอาการเป็นหลัก ถ้าไม่มีอาการที่กล่าวมา หรือมีน้อยก็ดีไป แต่ถ้ารู้สึกตัวว่ามีอาการเหล่านี้ไม่หายเสียที ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางเยียวยาแก้ไข เพื่อสุขภาพที่ดี จะได้ทำอาชีพที่รักไปนานๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook