คุยกับ “Nicolas Loufrani” ทายาทรุ่นที่สอง Smiley ตำนานหน้ายิ้มเขย่าโลก

คุยกับ “Nicolas Loufrani” ทายาทรุ่นที่สอง Smiley ตำนานหน้ายิ้มเขย่าโลก

คุยกับ “Nicolas Loufrani” ทายาทรุ่นที่สอง Smiley ตำนานหน้ายิ้มเขย่าโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราคุ้นเคยกับไอคอนรูปวงกลมสีเหลืองกับใบหน้ายิ้มแฉ่ง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าสัญลักษณ์แห่งความสุขนี้มีชื่อเรียกว่า สไมลีย์ (Smiley)  

สำหรับ สไมลีย์ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1972 โดย มร.แฟรงคลิน ลูฟรานี (Franklin Loufrani) นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ที่คิดไอคอนขึ้นมาเพื่อใช้ในแคมเปญรณรงค์ของหนังสือพิมพ์ หวังกระตุ้นให้ประชาชนได้ “หาเวลามาแจกยิ้ม” กันบ้าง จนในที่สุดกลายมาเป็นธุรกิจหลักของครอบครัว  

มร. นิโคลาส์ ลูฟรานี ทายาทรุ่นที่สองของลูฟรานี ผู้สืบทอดและพัฒนาธุรกิจหน้ายิ้มต่อจากผู้เป็นพ่อได้ให้สัมภาษณ์กับ Sanook! Men เกี่ยวกับแบรนด์แห่งความสุขนี้

ทราบหรือไม่ว่าตอนนี้ มีจำนวนคนไทยค่อนข้างมาก ที่ชื่นชอบผลงานของสไมลีย์

- ผมรู้สึกภูมิใจมากที่มีแฟนๆ ที่ชื่นชอบแบรนด์สไมลีย์ทั่วโลก ในส่วนของหลักการของตัวแบรนด์ที่เน้นความสุข มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้คนชื่นชอบแบรนด์ นอกจากนี้ยังรู้สึกยินดีมากที่ได้รับการตอบรับดีแบบนี้

อยากให้คุณเล่าถึงที่มาของแบรนด์ จนถึงการมาเป็นแบรนด์ไอดอนที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

- จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1972 คุณพ่อผมเป็นนักข่าวคิดไอคอนขึ้นมาเพื่อใช้ในแคมเปญรณรงค์ของหนังสือพิมพ์ หวังให้ประชาชนได้หาเวลามาแจกยิ้มกันบ้าง จนในที่สุดคุณพ่อก็สร้างแบรนด์เล็กๆ เดอะ สไมลีย์ คอมพานี ที่มีรอยยิ้มแห่งความสุขเป็นจุดขาย

แม้ภายหลังแบรนด์ประสบปัญหาหลายอย่าง จนต้องรีลอนซ์แบรนด์ใหม่ พร้อมสร้างสรรค์ไอคอนที่หลากหลายมากขึ้น ในหลากหลายแคทเทอลารี่ เช่น อาจจะเป็นสัตว์บ้าง ออบเจ็กต์ต่างๆ  บ้าง เพราะในสมัยก่อนจะมีแค่ไอคอนที่เป็นตัวเครื่องหมายเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงความรู้สึกได้ครอบคลุม ผมจึงพัฒนาตัวสไมลีย์อื่นๆ ทำให้ได้นำเสนอในออนไลน์และเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

ความสำเร็จของสไมลีย์ที่ผ่านมาและการทำงานในปีนี้

- ในปีนี้เราประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก โดยเป็นการเติบโตแบบต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายแซงปีที่ผ่านมาถึง 59 เปอร์เซ็นต์ มีลูกค้าที่จดทะเบียนใช้บริการสินค้าลิขสิทธิ์ อีกกว่า 310 รายทั่วโลก รวมถึงการร่วมทุนในแบบจอยน์เวนเจอร์ กับคาแรคเตอร์ Rubik อย่างเป็นทางการ และได้มีพันธมิตรธุรกิจที่ได้เริ่มพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดแล้ว ร่วมถึงการร่วมงานกับ ซีพีเอ็น ในไทยด้วย

วางเป้าหมายในการทำธุรกิจในเมืองไทยอย่างไร

- กลุ่มเป้าหมายหลักอาจจะมีการในส่วนของเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ไปจนถึงร้านอาหาร ซึ่งไม่แน่อาจจะมีการเปิดสไมลีย์สโตล์ ให้เหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ มาแล้ว

จะตอบโจทย์ลูกค้าประเทศไทยอย่างไร

- จริงๆ แล้วประเทศไทยเป็นเมืองแห่งรอยยิ้มอยู่แล้ว ตัวเชื่อมตรงนี้ ทำให้ผมเข้าถึงคนไทยได้ง่าย เพราะรอยยิ้มและความสุขเป็นคาแรกเตอร์ของแบรนด์สไมลีย์อยู่แล้ว

มีคาแรกเตอร์แบรนด์ที่อยู่ในตลาดมากมายมองการแข่งขันอย่างไร

- การแข่งขันมีอยู่ทุกที่ อย่างคาแรกเตอร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในตลาดผมไม่ห่วงเลย จุดแข็งของสไมลีย์เวิลด์ คือ ความเรียบง่ายและ มันถูกสร้างมาให้สามารถแปลงไปเป็นอะไรต่อมิอะไรได้อย่างง่ายๆ จากดีเอนเอที่เป็นการส่งต่อความสุขและคิดบวกของสไมลีย์ เราได้สร้างแพลตฟอร์มที่ยูนีคให้กับคนยุคปัจจุบันได้พัฒนา ด้านอารมณ์ และการแสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่านสินค้าหรือโปรดักท์ที่สร้างสรรค์ เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจ ซึ่งมันช่วยให้เราเชื่อมโยงกับลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้ด้วย

สไมลีย์ไม่ใช่แบรนด์ที่ขายคาแรคเตอร์ อย่างค่ายดีสนีย์ มาร์เวลส์ ดีซีคอมมิคส์ หรือคาแรคเตอร์อื่นๆ แต่มีความเป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ที่ไม่ได้มาเพื่อเป็นคู่แข่งกับไลเซนส์คาแรคเตอร์ที่มีอยู่ แต่สไมลีย์มุ่งจะนำเทรนด์แฟชั่นและความรู้สึก “ฟีลกู้ด” มาสู่ ตลาดและกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย

ที่มาของความร่วมมือระหว่าง สไมลีย์ และ ซีพีเอ็น

- ก่อนหน้านี้เราได้ลงไปทำตลาดเซาท์อีสเอเชีย ได้แนะนำให้รู้จักกับ CPN จากนั้นสไมลีย์ได้มีโอกาสนำเสนอคอนเซปต์อีเวนต์เคาต์นดาวน์ประจำปี ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่สำหรับศูนย์การค้า ในเครือของซีพีเอ็น ซึ่งคอนเซปต์อีเวนต์ที่นำเสนอได้เป็นที่ประทับ ใจ และตอบโจทย์การทำแคมเปญของทางศูนย์การค้าเป็นอย่างดี ทางซีพีเอ็นจึงตัดสินใจจัดแคมเปญโปรโมชันร่วมกับสไมลีย์ใน 31 ศูนย์การค้าของเครือซีพีเอ็นทั่วไทย รวมถึง เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลเฟสติวัล และเซ็นทรัลพลาซ่า ด้วยแนวคิดหลักของแคมเปญ คือ “World of Happiness”

จากความคิดของคุณพ่อที่อยากสร้างความสุขให้กับผู้อ่าน ไม่น่าเชื่อว่าพลังบวกจะส่งผลให้ สไมลีย์ กลายเป็นไอคอนยอดนิยมที่ตามติดไปอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะบนเสื้อผ้า อาหาร หรือแม้แต่ถูกใช้ตกแต่งสถานที่ต่างๆ มากมาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook