ระวัง! ป่วยหนักเพราะใช้ชีวิตเต็มที่เกินไป!
ใช้ชีวิตคุ้มค่า จัดหนัก เสี่ยงโรคภัยไม่รู้ตัว!
เชื่อว่าหนุ่มๆ สมัยนี้ ต้องทำงานหนักไม่น้อยเลยนะ เพื่อความก้าวหน้าและมั่นคงในชีวิตของตัวเอง แต่หลายๆ คน นอกจากจะทำงานหนักแล้วก็ยังมีกิจกรรมกับเหล่าเพื่อนๆ ท้าทายความสนุกกันอีกด้วย หรือบางคนที่ดูแลรักษารูปร่างอยู่เป็นประจำก็หมั่นเข้ายิมทั้งก่อนและหลังเลิกงานทุกวัน แต่รู้มั้ย? ว่าการที่เราขยันนั่งทำงานจนหลังขดหลังแข็ง หรือไม่ก็ออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงเกินลิมิตของตัวเรา โดยไม่ปล่อยโอกาสให้ร่างกายได้พักเลย ก็จะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงได้นะ!
เจ้าโรคที่แสนน่ากลัวที่เรากำลังพูดถึงอยู่ก็คือ “Office Syndrome” หรือโรคของชาวออฟฟิศนั่นเองค่ะ หนุ่มๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเจ้าโรคพนักงานออฟฟิศ ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เนี่ย มันคืออะไร? วันนี้เราขออาสาอธิบายให้ฟังคร่าวๆ ค่ะ
แค่นั่งเฉยๆ ก็อันตรายกว่าที่เราคิด!
โรค “Office Syndrome” ถือเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่วันๆ มักจะนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา รวมถึงการที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเพียงพอในแต่ละวัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นได้ รวมทั้งยังมีโอกาสปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ส่วนบางรายที่มีอาการของโรคประจำตัวเดิมอยู่แล้ว เช่นมีหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากเรานั่งทำงานนานเกินไปในอริยาบทที่ผิด ก็ยิ่งอาจจะส่งผลให้มีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้นได้ค่ะ นอกจากนั้นยังรวมถึงการที่คนทำงานส่วนใหญ่ มักจะมีปัญหาเครียดต่อเนื่อง อาจมีการอดอาหารเป็นระยะ หรือมีการอดหลับอดนอนเพื่อทำงานให้เสร็จในระยะเวลาที่จำกัด ทำให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียด ปราศจากการผ่อนคลาย ก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ด้วยเช่นกันค่ะ
โหมออกกำลังกายมากเกินไป ก็เสี่ยงกายกว่าที่คิดนะ!
หลายคนอาจจะมองว่าโรค Office Syndrome น่ากลัวจังเลย แบบนี้ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกออฟฟิศบ่อยๆ ดีกว่า แต่หารู้ไม่ว่า กิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ โดยเฉพาะพวกกิจกรรม extreme ต่างๆ ไม่ว่าจะ Wake Board, ปนจักรยาน, วิ่งมาราธอน หรือจะเป็นต่อยมวย ฯลฯ รวมไปถึงกลุ่มที่มักจะชอบเล่นฟิตเนส เข้ายิมเกือบทุกวันก็อาจทำให้กล้ามเนื้อเราเจ็บมีการเจ็บปวดเกิดขึ้นมาได้ โดยเฉพาะการเล่นฟิตเนสที่มีการวอร์มก่อนเล่น หรือยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังการเล่น
แล้วจะออกกำลังกาย ฟิตหุ่นยังไง ให้ห่างไกลโรค?
สำหรับใครที่ยังสงสัยว่า เอ๊ะ! ทำไมเราออกกำลังกายฟิตเป็นประจำ แต่พอกลับมาบ้านแล้วก็ยังมีการปวดเมื่อยร่างกายอยู่บ่อยๆ อันที่จริงแล้วมันเป็นเพราะระบบธรรมชาติของร่างกายเรานั่นเองค่ะ อธิบายในทางวิทยาศาสตร์ได้ไม่ยาก ดังนี้
• อาการเจ็บหรือปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อเกิดขึ้นทันทีหลังจากการออกกำลังกาย ที่เรียกว่า muscle soreness นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการมีของเสีย คือมี “กรดแลคติค” สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะส่วนของกล้ามเนื้อหลักๆ ที่ใช้ในขณะออกกำลังกาย เพราะว่ากรดแลคติค เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานประเภทคาร์โบไฮเดรตในร่างกายนั่นเอง และเมื่อมีกรดชนิดนี้สะสมอยู่ที่กล้ามเนื้อมาก ก็จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและปวดที่กล้ามเนื้อได้
แต่ทั้งนี้ อาการปวดเมื่อยในแบบนี้จะค่อยๆ ลดลงและหายไปหลังจากการออกกำลังกายเพียงไม่กี่ชั่วโมงค่ะ เนื่องจากกรดแลคติคเหล่านี้จะค่อยๆ ถูกระบายและกำจัดออกไปทางระบบไหลเวียนโลหิต โดยบางส่วนจะถูกนำกลับไปใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการออกกำลังกายต่อไปนั่นเอง
• ส่วนอาการปวดเมื่อยและเจ็บที่กล้ามเนื้ออีกลักษณะหนึ่ง จะเกิดขึ้นหลังจากออกกำลังกายไปแล้วสักวันหรือสองวัน โดยจะมีอาการปวดเมื่อยและเจ็บกล้ามเนื้อมาก แต่หลังจากนั้น 2-3 วันอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น อาการปวดกล้ามเนื้อในลักษณะนี้จะมีสาเหตุมาจาก “เส้นใยเล็กๆ ภายในกล้ามเนื้อมีการฉีกขาด” อันเนื่องมาจากมีการออกแรงหรือใช้งานมากกว่าที่เคยทำเป็นประจำ โดยทางการแพทย์จะเรียกอาการแบบนี้ว่าว่า DOMS หรือ Delayed Onset Muscle Soreness
โดยส่วนใหญ่อาการนี้จะเกิดกับคนที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายใหม่ๆ ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะเกิดขึ้นกับคนที่มีการออกกำลังกายอยู่แล้ว แต่มีการปรับเปลี่ยนโปรแกรม เช่น เพิ่มระยะเวลาหรือความหนักของการออกกำลังกายให้สูงขึ้นกว่าที่เคยปฏิบัติอยู่ เพื่อปรับเปลี่ยนพัฒนาให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง และมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นด้วยค่ะ
ไขข้อข้องใจ ยิ่งปวดกล้ามเนื้อ ยิ่งต้องไปเล่นซ้ำ ถูกต้องหรือไม่?
สำหรับอาการปวดเมื่อยและเจ็บกล้ามเนื้อในลักษณะของ DOMS นี้ บางคนอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ถ้าเจ็บก็ให้ไปเล่นซ้ำ” ซึ่งตามหลักความจริงนั้นถูกต้องเพียงบางส่วนเท่านั้นค่ะ เพราะการกลับไปออกกำลังกายซ้ำในบริเวณกล้ามเนื้อกลุ่มเดิมนั้น ควรจะต้องรอประมาณ 48 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อหรือเส้นใยที่ฉีกขาดมีการพักและซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะออกกำลังกายต่อไปซึ่งถ้าทำได้อาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ ลดลงและหายไป รวมถึงสามารถลดการฉีกขาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการออกกำลังกายครั้งต่อๆไปได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการพัฒนาจนแข็งแรงขึ้น
แต่ถ้ามีอาการเจ็บแล้วกลับไปใช้กล้ามเนื้อกลุ่มเดิมออกกำลังกายซ้ำเลยในวันรุ่งขึ้น จะยิ่งทำให้มีอาการเจ็บรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเส้นใยกล้ามเนื้อจะมีการฉีกขาดเพิ่มขึ้น จนบางคนทนไม่ไหวจึงล้มเลิกความตั้งใจในการออกกำลังกายไปเลยก็มี
ใช้ชีวิตให้สมดุล ไม่หักโหมจนเกิดไป หลีกเลี่ยงโรคได้
จะเห็นได้ว่าทั้งโรคที่เกิดจากการทำงานอย่าง Office Syndrome หรือ โรคจากการที่เราออกกำลังกายมากเกินไป ก็ล้วนแล้วแต่สามารถสร้างความเจ็บปวดให้กับกล้ามเนื้อของเราได้ทั้งนั้นค่ะ แต่อย่างน้อย โรคเหล่านี้ก็มีวิธีแก้ไขและบรรเทาอาการให้หายได้ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสมดุลในการใช้ชีวิตและการทำงาน ไม่นั่งอยู่หน้าจอทั้งวันควรลุกยืน เดิน หรือเปลี่ยนท่าทุก 1-2 ชั่วโมง และ ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง เราควรวอร์มกล้ามเนื้อ และศึกษาท่าทางการเล่นของอุปกรณ์ต่างๆ ให้รอบคอบก่อนหลังการออกกำลังกายทุกครั้งก็ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เพิ่มมีความยืดหยุ่นด้วย แน่นอนว่า อาการปวดกล้ามเนื้อในจุดต่างๆ นั้น แม้เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะมักจะเกิดกับการใช้ชีวิตของเราทุกคน แต่ก็ยังมีหนทางบรรเทาอาการเจ็บปวดได้อยู่ค่ะ โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้มีอาการรุนแรงอะไร เราก็แนะนำให้หายาทาเพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้ออย่างตรงจุดได้ โดยแนะนำให้เลือกยาทาที่มีส่วนผสมของตัวยาไอบูโพรเฟน เนื่องจากตัวยานี้จะยับยั้งสารที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการปวดและอักเสบอย่างตรงจุด จึงมีประสิทธิภาพดีกว่ายาสูตรร้อน-เย็นที่บรรเทาอาการปวดได้เพียงชั่วคราว ไม่ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ แถมยาสูตรร้อน-เย็นยังอาจมีกลิ่นฉุนรบกวนเพื่อนร่วมงานระหว่างทำงานอีกด้วย
อย่าลืมนะคะทุกคน ชีวิตมีใช้ให้เต็มที่ได้ แต่ต้องอย่างลืมหมั่นตรวจสอบ ดูแลรักษาร่างกายของเราอยู่ตลอดนะคะ “ความไม่มีโรคนั้นเป็นลาภอันประเสริฐ” คำกล่าวนี้ใช้ได้เสมอค่ะ