#PaidLeave เมื่อสิทธิลาคลอดของพ่อสำคัญไม่น้อยกว่าคนเป็นแม่
กระแสโซเชียลมีเดียในต่างประเทศที่น่าสนใจในเวลานี้คือ แฮชแทค #paidleave ที่กำลังกลายเป็นเรื่องรณรงค์กันทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา แม้แต่เหล่าคนดังก็ให้ความสนับสนุนให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้สิทธิในการลาคลอดบุตร พร้อมกับได้รับค่าจ้าง เพื่อทำให้ชีวิตการทำงาน และ ชีวิตครอบครัวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดีในระยะยาว
#paidleave เพื่อให้พ่อแม่ที่เป็นลุกจ้างลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
และคุณผู้อ่านเชื่อหรือไม่ว่า สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศรำ่รวยที่ไม่ได้การันตีว่า การลาเพื่อคลอดบุตรทั้งของผู้หญิง และ ของผู้ชาย นั้นจะได้รับสิทธิในการลาพร้อมกับได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนกี่วัน และด้วยเหตุดังกล่าว แฮชแทค #paidleave เพื่อรณรงค์ให้ชีวิตครอบครัวของลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนเป็นพ่อแม่ และ เด็กที่เพิ่งเกิดในครอบครัวที่พ่อและแม่ต่างก็ต้องทำงาน
เรื่องดังกล่าวทำให้ต้องหันกลับมามองสิทธิการลาคลอดบุตรในเมืองไทยที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าประเทศอื่นในโลก โดยผู้หญิงมีสิทธิลาคลอดบุตร ได้ 90 วันโดยที่ยังได้รับเงินค่าจ้าง ในขณะที่ ผู้ชาย ถ้าเป็นข้าราชการ และลูกจ้างราชการ เพื่อช่วยดูแลคุณแม่ และลูกน้อยระหว่างคลอด โดยคุณพ่อข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 15 วัน ถ้าเป็นการลาภายใน 30 วันแรกนับตั้งแต่วันที่คุณแม่คลอด มีสิทธิรับเงินระหว่างลาได้
ใช้สิทธิลาคลอด ทำให้คนเป็นพ่อแม่เข้าใจกันมากขึ้น
ซึ่งในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ที่ให้สิทธิคุณพ่อในการลาเพื่อช่วยคุณแม่ดูแลลูกน้อยระหว่างคลอดนั้น ได้สิทธิเทียบเท่ากับฝ่ายหญิง ขณะเดียวกันก็ยังได้รับเงินค่าจ้างในระหว่างนั้นด้วย ซึ่งความสนับสนุนของรัฐบาล ในประเทศในแถบสแกนดิเนเวียน นั้นต้องการให้ ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กแรกเกิด ที่ได้รับความเอาใจใส่ทั้งจากพ่อและแม่
ทั้งนี้ข้อดีของการ ใช้สิทธิในการลาของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเพื่อมาดูแลบุตรที่เพิ่งคลอดนั้นทำให้คนเป็นพ่อและแม่ได้เรียนรู้การดูแลลูก โดยไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในขณะเดียวกัน มีผลการศึกษาออกมาว่า ถ้าคุณพ่อใช้สิทธิลาคลอดเพื่อมาช่วยภรรยา จะทำให้คุณแม่ กลับไปทำงานได้เร็วขึ้น และผลในระยะยาวคือความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ที่ทำให้สามีเข้าใจอารมณ์ของภรรยาหลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น และ ทำให้ฝ่ายหญิงมีความรู้สึกมั่นใจในสถานภาพของครอบครัว อันส่งผลดีต่อการทำงานในอนาคต
ผู้ชายเอเชีย ยังไม่ค่อยอยากลา กลัวกระทบงาน
แต่ด้วยความที่ผู้ชายส่วนในเอเชียส่วนใหญ่มองว่าการลาเพื่อช่วยภรรยาในการดูแลบุตรแรกเกิดนั้นอาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ทำให้ผู้ชายเอเชีย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าใช้สิทธินี้รวมไปถึงในเมืองไทยที่ให้สิทธินี้แก่ ข้าราชการ และ ลูกจ้างราชการ เท่านั้น
โดยที่พนักงานเอกชนไม่ได้สิทธิดังกล่าว แม้ว่าจะมีความพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นแต่ดูเหมือนว่า คนที่จะเป็นคุณพ่อเองก็ยังคงยึดติดกับชุดความคิดแบบเดิมที่ มองว่าการเลี้ยงดูบุตรนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง หรือ เป็นหน้าที่ของ ปู่ย่าตายาย
ให้สิทธิลาคลอดส่งผลต่อคุณภาพประชากรในระยะยาว
ถ้าย้อนไปมองในด้านดีที่ให้ผู้ชายลาคลอดได้ ผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว น่าจะเป็นผลที่ดีต่อคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความรักความเข้าใจของพ่อและแม่ ที่มีต่อการเลี้ยงดูลูก ซึ่งผลที่ดีดังกล่าวไม่สามารถจับต้องได้
แต่ถ้าเราได้เห็นสถิติการหย่าร้างในประเทศที่ลดลง คุณภาพของเด็กประถมวัยที่ดีขึ้น รวมไปถึง คุณภาพของประชากรในวัยทำงานที่ได้รับความสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ที่ส่งผลต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศ ทั้งหมดนี้น่าจะทำให้ การให้สิทธิคุณพ่อในการลาเพื่อมาช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตรแรกเกิด น่าจะได้รับความสนใจขึ้นมาบ้าง