6 วิธี การทานอาหารเช้า ให้สุขภาพดี
เรามักจะได้ยินข้อคิด หรือข้อเตือนใจต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการกินอาหารเช้า เช่น "อาหารเช้าเปรียบเสมือนขุมพลังประจำวันที่ไม่ควรมองข้าม" หรือ "จงกินอาหารเช้าให้เต็มอิ่มและเต็มที่ ประหนึ่งว่าคุณเป็นพระราชา" ซึ่งสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ จะเข้าใจและรู้ถึงคุณประโยชน์ต่าง ๆ ที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารเช้าเป็นอย่างดี แต่สำหรับคนที่ไม่ได้กินอาหารเช้า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม คุณได้พลาดช่วงเวลาสำคัญที่ร่างกายจะได้ชาร์จแบตอย่างเต็มที่ เพื่อรับความกระปรี้กระเปร่าตลอดทั้งวัน
ไปเสียแล้ว
"การไม่กินอาหารเช้า" สาเหตุหลัก ๆ มักมาจากการที่เราเลือกที่จะไม่กินมาโดยตลอดจนติดเป็นนิสัย และบางทีการรับประทานอาหารเย็นมื้อใหญ่ หรือกินของจุบจิบตลอดเวลาจนกระทั่งเข้านอน ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณรู้สึกไม่อยากกินอาหารเช้าก็เป็นได้
แต่คุณรู้หรือไม่ว่า "การงดรับประทานอาหารเช้า" โดยจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผลที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึง ก็คือ ร่างกายจะขาดความสามารถในการควบคุมน้ำหนัก...!! นั่นหมายความว่า คนที่ไม่กินอาหารเช้าเป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และมักจะมีพฤติกรรมเลือกที่จะบริโภคอาหารที่มีไขมัน แคลอรี่ และน้ำตาลสูงกว่าปกติ แถมยังเลือกที่จะกินผักและผลไม้น้อยลงกว่าปกติเสียด้วยซ้ำ....
แต่ไม่ต้องตกใจไป คุณสามารถจะปรับพฤติกรรมนั้นได้ ลองเริ่มต้นตั้งแต่วันพรุ่งนี้ ด้วย 6 เคล็ดไม่ลับ เพื่อเติมพลังให้ร่างกายด้วยอาหารมื้อเช้า ดังนี้..
1.เริ่มต้นมื้อเช้ากับ "อาหารเบา ๆ ปริมาณน้อย ๆ"
ฝึกรับประทานอาหารมื้อเช้าด้วยเมนูอาหารที่ย่อยง่าย แต่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร และไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป สำหรับการเริ่มต้น เช่น ลองรับประทานเครื่องดื่มโปรตีนเชคกับผลไม้ หรือไข่ต้มสักลูก ตบท้ายด้วยผลไม้ซัก 2-3 ชิ้น แค่นี้ก็เป็นการเริ่มต้นในการรับประทานอาหารเช้าที่ดีและมีคุณค่าแล้ว
2."โปรตีน" สารอาหารสำคัญสำหรับมื้อแรก !
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ผู้ที่รับประทานอาหารเช้าโดยบริโภคโปรตีนในปริมาณสูง มีแนวโน้มที่จะลดแคลอรี่จากการบริโภคอาหารมื้อเย็นได้ต่ำกว่าผู้ที่รับประทานอาหารมื้อเช้าแบบปกติถึง 200 กิโลแคลอรี่ เนื่องจาก "โปรตีน" เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับมื้อเช้า เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายรู้สึก "อิ่ม" ได้นานแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายและจิตใจตื่นตัวไปตลอดทั้งวันอีกด้วย...ว้าว...
3.เปลี่ยน "อาหารมื้อหนัก" เป็น "ของว่าง" ที่กินได้เรื่อย ๆ
สำหรับการฝึก "รับประทานอาหารเช้า" ให้เป็นนิสัยนั้น จริง ๆ แล้วคุณไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารทั้งมื้อให้หมดภายในครั้งเดียว แต่สามารถใช้เวลาไปกับอาหารมื้อนั้น ๆ ด้วยการละเลียดอาหารแต่ละอย่าง หรือเว้นช่วงการรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างอาหารคาว - อาหารหวาน เป็นต้น
4.ตื่นก่อนเวลาปกติ 15 นาที
"15 นาที" ที่เพิ่มขึ้นจากการที่คุณตื่นก่อนเวลาปกติอย่างที่เคย นอกจากคุณจะได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในยามเช้าแบบไม่ต้องเร่งรีบแล้ว ยังเป็นการช่วยกระตุ้นระบบต่างๆ ภายในในร่างกาย ให้ค่อยๆ ตื่นตัวจากการนอนหลับและพร้อมที่จะผจญภัยกับภารกิจหนักต่างๆ ในช่วงวันอีกด้วย
5.เมนูไหน ๆ ก็เป็นอาหารเช้าได้เสมอ
ไม่เคยมีกฎตายตัวหรือข้อบังคับว่า เมนูอาหารชนิดใดบ้างที่ควรหรือไม่ควรเป็น "อาหารมื้อเช้า" เพราะเราเน้นที่คุณค่าของสารอาหารที่บริโภคเป็นหลัก ดังนั้น ไม่ว่าอาหารมื้อเช้าของคุณจะเป็นอาหารเหลือจากมื้อเย็นที่รับประทานไม่หมดของเมื่อวาน หรืออาหารปรุงสำเร็จที่เราซื้อไว้นานแสนนานอยู่ในช่องแข็ง ทุกเมนูอาหารสามารถเป็น "อาหารมื้อเช้า" ได้เสมอ
6. มั่นใจแค่ไหน..กับ "กาแฟและมัฟฟิน" มื้ออาหารเช้า
มีอีกหลายคนที่ไม่ยอมรับประทานอาหารเช้า เพราะเชื่อว่า "แค่ดื่มกาแฟคู่กับมัฟฟิน" หรือเบเกอรี่อื่น ๆ สักชิ้นสองชิ้นก็อิ่มท้อง เทียบเท่ากับอาหารมื้อเช้าที่มีคุณค่าได้แล้ว แต่ในความเป็นจริง "แค่กาแฟกับมัฟฟิน" กลับให้พลังงานที่สูงกว่า 700 กิโลแคลอรี่ รวมทั้งมีไขมันไม่ดีที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของคุณถึง 6 ช้อนชา
การเริ่มต้นกินอาหารเช้าแบบไม่ฝืนความรู้สึก ทำได้ไม่ยาก เพื่อการมีสุขภาพที่ดีในอนาคต... ลองปรับพฤติกรรมการกินของคุณ โดยหันมาให้ความสำคัญกับ "การรับประทานอาหารมื้อเช้า" ซึ่งถือว่าเป็นอาหารมื้อแรกของวัน...เริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้...แล้วคุณจะพบการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นสะท้อนให้เห็นจากร่างกายของคุณเอง...
โดย โภชนากรซูซาน โบเวอร์แมน
ที่ปรึกษาของเฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด
.......................................................................................................
พร้อมด้วยหลากหลายบทความเกี่ยวกับ สุขภาพ สาวสวย และที่เที่ยวกลางคืนได้ที่นี่