6 วิธีซื้อวิตามิน ให้คุ้มค่าเงิน

6 วิธีซื้อวิตามิน ให้คุ้มค่าเงิน

6 วิธีซื้อวิตามิน ให้คุ้มค่าเงิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อยากกินวิตามินไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร แน่ใจได้อย่างไรว่าไม่ถูกหลอก เลือกอย่างฉลาดไม่จ่ายแพงเกินค่า

เงินทองเป็นของหายาก สำหรับคนที่คิดว่ายาก และเป็นของหาง่ายสำหรับคนที่คิดว่าง่าย แต่ไม่ว่าจะหาง่ายหรือยาก แม้มีเงินมาก ๆ ก็หาซื้อสุขภาพที่ดีไม่ได้ คนที่ฉลาดแทนที่จะหาเงินให้มากโดยเอาสุขภาพไปแลกแล้วเอาเงินมาก ๆ ไปจ่ายให้กับหมอ

แต่เขาจะให้ความสำคัญต่อการแบ่งเงินแบ่งเวลาไปดูแลสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการเลือกเสริมวิตามิน วิตามิน ในสังคมปัจจุบันรู้ว่าเป็นระโยชน์มีความสำคัญต่อร่างกาย แต่ก็สร้างความสับสนมากมายให้กับผู้บริโภคในการเลือกหาซื้อวิตามินที่เหมาะสม ธุรกิจสุขภาพเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทุก ๆ บริษัทต่างอวดอ้างสรรพคุณที่ดีของสินค้าตน

เราจะมีวิธีเลือกวิตามินอย่างไร ให้คุ้มค่าเงินและมีประโยชน์ต่อสุขภาพเรา

1. รู้ความต้องการอย่างแน่ชัด ก่อนจะออกไปช้อปปิ้งหรือเลือกซื้อวิตามิน อาหารเสริม หรือถูกหว่านล้อมจากเซลล์วิตามินทั้งหลาย คุณต้องรู้ความต้องการของตนเองได้ คุณคิดจะกินวิตามินเพื่ออะไร เพื่อเป็นอาหารเสริม ชื่อก็บอกว่าเสริม เช่น เลือกกินแคลเซียมในกลุ่มกระดูกพรุน หญิงสูงวัยที่ผ่านการมีบุตร หรือคนวัยทอง หรือผู้ที่กลัวโรคหลอดเลือดหรือต้องการผิวชุ่มชื่นก็สามารถเลือกอาหารเสริมประเภทน้ำมันปลา

2. ทำการบ้านให้ดี การบ้านในบริบทนี้ไม่ใช่การบ้านของนักเรียนส่งคุณครูหรือการบ้านของคุณพ่อบ้านที่ต้องส่งให้กับแม่บ้าน แต่เป็นการบ้านของการหาข้อมูลวิตามิน

- ถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญวิตามิน ก๊วนของคุณก็ต้องมีซักคนที่ถามคำถามเดียวแล้วสามารถอธิบายให้คุณได้ไม่หยุด แต่ต้องเลือกคนที่คุณเชื่อถือ น่าจะเป็นประโยชน์ที่สุด

- ถามผู้ทำธุรกิจ เภสัชกร ร้านยา เจ้าของร้านยาหรือเภสัชกรประจำเชนสโตร์ใหญ่ ๆ ในบ้านเราจะเป็นอีกแหล่งที่ให้ความกระจ่างแก่คุณได้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ มีเว็บไซต์มากมายที่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิตามิน บางเว็บไซต์ทำหน้าที่เปรียบเทียบวิตามินกันอย่างจะจะ เช่น Consumerlab.com ที่ส่วนใหญ่เปรียบเทียบวิตามินต่างประเทศแต่ก็มีหลายยี่ห้อก็ซื้อหาได้ในบ้านเรา

3. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรอง ทุกแบรนด์มักบอกว่าผลิตภัณฑ์ของตนดีเลิศประเสริฐสุด แต่ถ้าเราจะวางใจได้ต้องดี เด่น ดังจากปากของคนอื่น ในสหรัฐอเมริกามีหน่วยงานหนึ่งที่เรียกว่า NSF ที่จะบอกว่าผลิตภัณฑ์บริษัทไหนดีปราศจากสารปนเปื้อน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไรและมีความน่าเชื่อถือมาก

ในสหรัฐอเมริกาเอง website consumerlab.com ได้เคยตรวจผลิตภัณฑ์ที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนในวิตามินบางยี่ห้อที่มีค่าเกินค่าปลอดภัย มาตรฐาน GMP ก็เป็นมาตรฐานที่วางใจได้ระดับหนึ่งว่ามีการผลิตที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยแต่ก็จะไม่หนักแน่นเท่ากับการได้รับการรับรองจากหน่วยงานอื่น

4. ต้องรู้จักส่วนประกอบสำคัญ วิตามินชื่อเดียวกันบางยี่ห้อแสนจะถูกต่างกับบางยี่ห้อที่ราคาแสนแพงเราต้องมีความรู้ในการเลือก เช่น วิตามินอี ต้องเลือกแบบสกัดจากธรรมชาติ (d-alpha tocopherol ซึ่งราคาจะสูงกว่าแบบสังเคราะห์ (dl-alpha tocopherol) เพราะการดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า หรือแคลเซี่ยมทั่วไปที่ส่วนประกอบสำคัญคือ calcium carbonate ที่คุณจะพบเห็นทั่วไปแต่แคลเซี่ยมที่มีการดูดซึมดีกว่าคือ calcium citrate

5. เลือกจ่ายแบบฉลาด อย่าเลือกวิตามินเพราะถูกที่สุด โดยเฉพาะวิตามินที่ไม่เป็นที่รู้จัก ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดเช่น น้ำมันปลาโอเมก้า 3 ที่มีราคาแตกต่างกันถึง 15-20เท่า แบรนด์โนเนมที่คุณเลือกเพราะราคาถูก คุณอาจได้ของแถมเป็นสารตกค้างหรือสารปนเปื้อนที่มากับวิตามิน หรือบางที่การดูดซึมไปใช้ที่ไม่มีประสิทธิภาพ

6. อย่าหลงตามกระแส ที่ไหน ๆ ในโลกก็ไม่แตกต่าง บ้านเราเองเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมากระแสอาหารเสริมแบบสาหร่ายเม็ดดูจะเป็นอาหารเสริมยอดฮิตของหลาย ๆ ครอบครัว ผู้ผลิตเห็นโอกาสต่างผลิตกันออกมาหลากหลายยี่ห้อ ภายหลังมีข่าวสารตะกั่วตกค้างในสาหร่ายที่เป็นวัตถุดิบที่นำมาทำอาหารเสริม เลยทำเอาเลิกรา กันไป


ในอเมริกาก็เคยมีปรากฏการณ์ตื่นเต้นกับสารสกัดเปลือกองุ่นที่ร่ำลือกันว่าสามารถป้องกันสารพัดจากโรคมะเร็งไปถึงโรคหัวใจ เป็น Anti oxidant ที่สุดยอด ปรากฏว่า Consumerlab นำเอาตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไปทดสอบกว่า 14 ชนิด พบว่ามี่ยี่ห้อหนึ่งที่นำไปทดสอบบอกว่ามีส่ารสกัดอยู่ 400มิลลิกรัม แต่ผลทดสอบออกมามีเพียง 2.2 มิลลิกรัมเท่านั้น แม้แต่อเมริกายังเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นอย่าคิดว่าประเทศอื่นจะไม่มี


............................................................................

ติดตามทุกเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ชาย รวบรวมข้อมูลเรื่อง แฟชั่นผู้ชาย ทรงผมผู้ชาย น้ำหอมผู้ชาย
พร้อมด้วยหลากหลายบทความเกี่ยวกับ สุขภาพ สาวสวย และที่เที่ยวกลางคืนได้ที่นี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook