อึ้ง! ผลวิจัยเมืองผู้ดีชี้ ผู้ให้บริการทางเพศ′จบป.ตรี′สูงถึง38%

อึ้ง! ผลวิจัยเมืองผู้ดีชี้ ผู้ให้บริการทางเพศ′จบป.ตรี′สูงถึง38%

อึ้ง! ผลวิจัยเมืองผู้ดีชี้ ผู้ให้บริการทางเพศ′จบป.ตรี′สูงถึง38%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผลวิจัยชี้ผู้ให้บริการทางเพศจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสูงถึง 38 เปอร์เซนต์ และส่วนใหญ่เคยทำงานในภาคธุรกิจการศึกษา, สาธารณสุข และงานการกุศล

จากรายงานของเดอะการ์เดียน งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำโดยมหาวิทยาลัยลีดส์ในสหราชอาณาจักร โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเวลล์คัมทรัสต์ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นบรรดาผู้ให้บริการทางเพศในสหราชอาณาจักรจำนวน 236 คน เป็นผู้หญิง 196 คน ,ชาย 28 คน และบุคคลข้ามเพศอีก 12 คน โดยเน้นไปที่กลุ่มผู้ให้บริการที่สมัครใจเข้าทำงานในธุรกิจนี้ และส่วนใหญ่ทำงานในสถานบริการมากกว่าการหาลูกค้าบนท้องถนน

ตามรายบงานระบุว่า กว่า 172 คน จากกลุ่มตัวอย่างคิดเป็น 71 เปอร์เซนต์ เคยทำงานในภาคสาธารณสุข, งานบริการทางสังคม, การศึกษา, สถานรับเลี้ยงเด็ก หรืองานการกุศล โดยกลุ่มอาชีพที่ตามมาเป็นอันดับสองคือกลุ่มงานขายปลีก มีจำนวน 81 คน คิดเป็นราว 34 เปอร์เซนต์ นอกจากนี้ ยังมีผู้เคยประกอบอาชีพเป็นผู้จัดการบริษัทขนส่ง, ผู้ประกอบอาหารในเรือขนส่งสินค้า หรือแม้กระทั่งผู้ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต

โดยมี 90 คนของกลุ่มตัวอย่างจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี (38%) และมีผู้จบการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี 40 คน (17%) และมากกว่า 97 เปอร์เซนต์จบการศึกษาในระดับมัธยม

ดร.ทีลา แซนเดอร์นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีดส์ ได้ร่วมมือกับโครงการ "National Ugly Mugs" ซึ่งเป็นโครงการที่กระตุ้นให้ผู้ให้บริการทางเพศคอยแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่ใช้ความรุนแรงที่พวกเขาและเธอต้องเจอระหว่างการประกอบอาชีพโดยงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อศึกษาสภาพการทำงานความพึงพอใจในการทำงาน และความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพนี้ โดยเน้นกลุ่มผู้ให้บริการในสถานที่ปิดเป็นหลัก

ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นสื่อกลางในการขายบริการทางเพศได้กลายเป็นตัวกลางสำคัญโดยได้เข้ามาแทนที่หอนางโลมและซาวนาหลายแห่งของสหราชอาณาจักรโดยมีหลายเว็บไซต์เสนอขายบริการโดยสาวท้องถิ่นที่พร้อมให้บริการภายใน 30 นาที

ทั้งนี้การขายบริการทางเพศระหว่างบุคคลต่อบุคคลไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่การใช้นายหน้าเพื่อการค้าบริการหรือการที่กลุ่มผู้ค้าบริการรวมตัวกันเป็นกลุ่มถือว่าผิดกฎหมาย

แซนเดอร์สกล่าวว่า กลุ่มตัวอย่างราว 14 เปอร์เซนต์กล่าวว่าพวกเธอรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ และเกือบหนึ่งในสี่กล่าวว่าพวกเธอรู้สึกว่าไม่อาจออกจากการประกอบอาชีพนี้ได้

แอบบี สาวขายบริการในวัย 50 กว่า กล่าวว่า ผลวิจัยสะท้อนประสบการณ์ชีวิตของเธอเป็นอย่างดี เธอเคยเป็นผู้ช่วยพยาบาลเป็นเวลากว่า 20 ปี ก่อนตัดสินใจออกมาเป็นผู้ให้บริการทางเพศ

แอบบีกล่าวว่า เธอต้องทำงานวันละ 13 ชั่วโมง เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เพื่อหาเงินจ่ายค่างวดบ้านของเธอ แต่ถึงจะทำงานอย่างหนักเธอก็ไม่มีรายได้มากพอที่จะชำระค่างวดได้ สุดท้ายเธอก็ต้องเสียบ้านไป เธอจึงตัดสินใจมาทำงานนี้ซึ่งทำให้เธอมีรายได้ถึงชั่วโมงละ 100 ปอนด์ และต้องทำงานเพียงปีละประมาณ 163 วัน ขณะที่การทำงานในโรงพยาบาลแทบไม่ได้หยุดกลับสร้างรายได้ให้เธอเพียงวันละ 50 ปอนด์

เธอกล่าวว่างานผู้ช่วยพยาบาลต้องใช้ความเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับการให้บริการทางเพศ ที่เธอกล่าววว่า กว่า 80 เปอร์เซนต์ ของผู้ซื้อบริการไม่ได้ต้องการร่วมเพศกับเธอ แต่ต้องการความรักความเข้าใจ และใครสักคนที่จะสามารถพูดคุยกับเขาได้

"ตอนฉันเป็นผู้ช่วยพยาบาล ฉันต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำความสะอาดอุจจาระ และคอยเฝ้ามองคนตายไปต่อหน้า วันนึงฉันตื่นขึ้นมาแล้วคิดว่าอยากจะใช้ชีวิตที่ง่ายกว่านี้ ฉันจึงได้มาอยู่ตรงจุดนี้ ซึ่งกว่าฉันจะเข้ามาทำงานนี้ก็ปาเข้าไป 40 กว่าแล้ว ซึ่งถ้าเป็นไปได้ฉันอยากจะทำงานนี้เร็วกว่านี้" แอบบีกล่าวเสริม

ผู้ให้บริการจำนวนไม่น้อยมีรายได้จากการขายบริการทางเพศต่ำกว่า 1,000 ปอนด์ต่อเดือน บางรายต้องทำงานอื่นร่วมด้วย โดยมีผู้ให้บริการจำนวนน้อยเท่านั้นที่มีรายได้เกินกว่า 5,000 ปอนด์ต่อเดือน

กว่า 91 เปอร์เซนต์ของกลุ่มตัวอย่างกล่าวว่า งานของพวกเธอมีความยืดหยุ่น, 56 เปอร์เซนต์มองว่างานนี้ของพวกเธอเป็นเหมือนดังผลพลอยได้ ขณะที่กว่า 71 เปอร์เซนต์รู้สึกว่างานนี้เป็นรอยด่างพร้อยในชีวิต หลายคนต้องคอยโกหกอยู่ตลอดเวลา และต้องคอยกังวลว่าพวกเธอจะถูกจับได้

ผลวิจัยยังแสดงว่าพวกเธอกว่า 47 เปอร์เซนต์เคยตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทั้งการข่มขืนและโจรกรรม โดย 36 เปอร์เซนต์กล่าวว่าพวกเขาเคยถูกข่มขู่ทางหลายๆช่องทาง

การควบคุมการค้าบริการทางเพศโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจยังเป็นอีกประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในงานวิจัย ซึ่งหลายรายกล่าวชื่นชมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ขณะที่หลายรายได้รับผลกระทบรวมถึงการบุกทลายหอนางโลม ทำให้สถานประกอบการในลักษณะนี้ปิดตัวลงและหลายคนไปหาช่องทางการขายบริการทางอินเตอร์เน็ตแทน

แซนเดอร์สกล่าวว่า เธออยากให้ผู้ให้บริการทางเพศสามารถทำงานร่วมกันได้โดยถูกกฎหมาย ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับบรรดาผู้ให้บริการ และทัศนคติของสังคมของพวกเธอจะต้องเปลี่ยนไป เพื่อลดความผิดบาปในจิตใจของพวกเธอ และจะช่วยลดการคุกคามและการตราหน้าด่วนตัดสินผู้ให้บริการทางเพศเหล่านี้

การยกเลิกความผิดในการค้าบริการทางเพศยังต้องเน้นที่การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่่ตำรวจกับผู้ให้บริการซึ่งตำรวจต้องเลิกข่มขู่จับผิดผู้ให้บริการ แต่ควรใช้ทรัพยากรเพื่อรับมือกับการเอาเปรียบผู้ให้บริการทางเพศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook