7 แนวคิดการใช้เงินเดือนให้ได้ถึงสิ้นเดือน

7 แนวคิดการใช้เงินเดือนให้ได้ถึงสิ้นเดือน

7 แนวคิดการใช้เงินเดือนให้ได้ถึงสิ้นเดือน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การบริหารค่าใช้จ่ายในทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย มีปัจจัยมากมายให้คิดคำนึงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สังคมของมนุษย์เงินเดือน”

ลองถามเพื่อนมนุษย์เงินเดือนที่อยู่รอบๆ ตัวเราว่ามีใคร “ไม่มีบัตรเงินสด บัตรเครดิตบ้าง?” น่าจะได้รับความเงียบเป็นการตอบแทน เพราะไม่ว่าใครก็มีกัน อย่างน้อยก็คนละหนึ่งใบ

อาจไม่ใช่ทุกคนที่มีบัตรเหล่านี้แล้วต้องเป็นหนี้ บางคนก็อาจจะมีเผื่อกรณีฉุกเฉินก็เป็นได้ แต่หากบัตรที่สามารถเสกเงินด่วนอยู่ใกล้ตัว ก็อาจทำให้เราเผลอใจกับสิ่งเย้ายวนต่างๆ ที่เหล่าผู้ผลิตและนักการตลาดช่วยกันโหมจนเราอยากได้อยากมี จนลืมถามตัวเองว่าสิ่งที่เราต้องการนั้นจำเป็นกับชีวิตเราจริงๆ หรือเปล่า

ท้ายที่สุดเงินเดือนแต่ละเดือนที่ได้รับมาก็ไม่เคยพอกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเสียที ชีวิตมนุษย์เงินเดือนหลายๆ คน จึงวนเวียนอยู่กับการทำงานหนัก เพื่อจ่ายหนี้บัตร เสียทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย

วันนี้เราจึงขอนำเสนอ 10 แนวคิดการใช้เงินเดือนให้ได้ถึงสิ้นเดือน ที่อย่างน้อยก็ทำให้เราไม่ต้องเป็นหนี้บัตรต่างๆ โดยไม่จำเป็นอีกต่อไป

1. คำนวนค่าใช้จ่ายประจำเดือน

ในแต่ละเดือนเราทุกคนต่างมีภาระค่าใช้จ่าย บางคนเยอะ บางคนน้อย การลิสต์และคำนวนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนอย่างคร่าวๆ นั้น ทำให้เราทราบว่า หลังจากหักค่าใช้จ่ายออกไปแล้ว เรายังมีเงินเหลือใช้ในแต่ละเดือนเท่าไหร่ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราไม่ใช้เงินเกินตัว

2. กินอยู่ให้สมเงินเดือนที่ได้

ที่พักและอาหารการกินเราควรเลือกให้อยู่ในระดับที่เราควบคุมได้เช่น หากเราได้เงินเดือน 15,000 บาท แต่เราเช่าห้องอยู่เดือนละ 10,000 บาท ก็คงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก ในส่วนของการกินนั้นเป็นสิ่งสำคัญ อย่าประหยัดจนต้องกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ่อยๆ หรืออย่าไปกินหรูหรามื้อละพันมันก็เกินไป การกินอาหารดีๆ นำมาซึ่งสุขภาพร่างกายที่ดี เราอย่าขี้เหนียวกับเรื่องกินจนเกินไป ในทางตรงกันข้ามก็อย่าตามใจปากจนเกินควร อาหารดีๆ ราคาย่อมเยายังมีอยู่

3. อย่าเสี่ยงโชคแบบไม่ยั้งคิด

เราคนไทยเป็นนักเสี่ยงโชคอยู่แล้วโดยเฉพาะวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน ทั้งนี้เราก็ต้องควบคุมการเสี่ยงโชคไม่ให้มากจนเกินไป อีกทั้งควรไตร่ตรองสักนิด อย่ามั่นใจว่าเลขนี้มาแน่ๆ ก็ทุ่มทุนไปเต็มที่ สุดท้ายหากไม่ใช่ เงินที่ควรจะอยู่ในกระเป๋าให้เราได้ใช้จ่ายมันก็จะหายไปโดยไม่ได้อะไรกลับมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการส่งรหัสชิงโชค ส่งไปรษณีย์บัตร sms ทายผลต่างๆ ก่อนเราจะได้ลุ้นมันคือค่าใช้จ่ายทั้งนั้น คิดให้ดีๆ

4. ทำบุญทำทานเอาหน้า

เราอาจจะพบคนที่ชอบทำบุญทำทานครั้งละมากๆ หากเราไม่ได้มีฐานะหรือเงินถึงขนาดนั้น ก็ทำบุญทำทานแต่พอดีอย่าให้จนตัวเองต้องเป็นทุกข์แทน

5. ลด ละ การตกเป็นทาสโซเชียล

สังคมการแชร์นำมาสู่สิ่งดีๆ เช่น การช่วยเหลือคนประสบภัย หรือ ช่วยกันบอกต่อเรื่องดีๆ เพื่อสร้างสังคมที่ดี แต่ในอีกมุมมันก็มีการแชร์บางอย่างที่ไม่เลวร้ายแต่เราต้องพึงระวัง เช่น ภาพเพื่อนดื่มกาแฟแบรนด์ดัง ภาพเพื่อนไปลองลิ้มชิมรสร้านอาหารเปิดใหม่ ภาพที่คนไปเช็คอินแหล่งท่องเที่ยวฮิบๆ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนแต่น่าสนใจทั้งนั้น แต่เราไม่จำเป็นต้องตามกระแสโซเชียลจนตกเป็นทาส เพื่อจะได้แชร์ให้คนอื่นได้รู้ว่าเราก็มีเหมือนเขา เพราะก่อนที่เราจะได้ภาพเหล่านั้น มันคือเงินที่เราต้องเสียไป

6. คบเพื่อนดี

อาจจะฟังดูห้วนไปนิด แต่หากให้เจาะจงก็คงต้องบอกว่าการคบเพื่อนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ให้เราสามารถประหยัดเงินได้ด้วย เพราะอะไร? ก็เพราะว่าการคบเพื่อนก็คือการเลือกสังคมที่เราจะอยู่ หากเพื่อนที่เราคบเป็นเพื่อนที่ฟุ้งเฟ้อ การที่เราจะเข้ากลุ่มได้เราก็ต้องลงทุนหน่อย แล้วเราไหวไหม ถ้าไหวก็ไม่มีปัญหา ทั้งนี้เพื่อนก็มีหลายแบบ เพื่อนที่ฐานะดีและเข้าใจว่าแต่ละคนไม่เหมือนกัน คล้อยตามกัน คบกันที่ใจก็มี แต่คุณก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคม บางคนก็เรียกเพื่อนเรียกฝูงเพราะฐานะ และความสนิทจะแปรผันกับความหนักของกระเป๋า ในข้อนี้รวมถึงการคบหาคนที่จะเป็นแฟนของเราด้วย

7. ถามตัวเองทุกครั้งก่อนซื้อว่าสิ่งนั้น “จำเป็นกับชีวิตเราจริงๆ หรือเปล่า?”

แก็ดเจ็ตล้ำๆ เสื้อผ้าสวยๆ สินค้าในกระแส มีแล้วเท่นำเทรนด์ ใครๆ ก็อยากมีอยากได้ แต่หากเราไม่อยากใช้เงินเกินเงินเดือนที่เราหามาได้ เราก็ควรถามตัวเองสักนิดก่อนตัดสินใจซื้อว่าสิ่งที่เราอยากได้นั้น “จำเป็นกับชีวิตเราจริงๆ หรือเปล่า?” “รอได้ไหม?”

แนวคิดทั้งหมดในข้างต้นอาจใช้ไม่ได้กับทุกคนๆ เพราะแต่ละคนก็มีรายได้ ค่าใช้จ่าย และฐานะที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม ก็หวังว่าบางแนวคิดจะสามารถเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน เพื่อให้ต่อไปนี้ในแต่ละเดือนเราจะได้มีเงินใช้จนถึงสิ้นเดือนโดยที่ไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสิ้นอีกต่อไปViews: 63

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook