ใช้โฟมใส่อาหารอันตราย เสี่ยงเป็นหมัน

ใช้โฟมใส่อาหารอันตราย เสี่ยงเป็นหมัน

ใช้โฟมใส่อาหารอันตราย เสี่ยงเป็นหมัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ“ การรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟม บรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ” ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กับ 14 องค์กรภาคเอกชน อาทิ บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด สมาคมตลาดสดไทย สมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจอาหารและสปาไทย เป็นต้น

นพ.พรเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการค้าอาหารมักนิยมใช้ภาชนะสำเร็จรูปที่ทำจากโฟมทั้งจาน ถ้วย กล่อง ใช้บรรจุอาหารปรุงสำเร็จ เช่น ข้าวผัด ผัดกระเพรา กระเพาะปลา ก๋วยเตี๋ยว เนื่องจากสะดวก ใช้ง่าย รวดเร็ว และราคาถูก การนำภาชนะโฟมมาบรรจุอาหารร้อน ต้องใช้อย่างระมัดระวัง หากโฟมสัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นเวลานาน จะทำให้เสียรูปทรง เกิดการหลอมละลาย มีสารเคมีที่อยู่ในเนื้อโฟม มองไม่เห็นปนเปื้อนออกมาอยู่ในอาหาร ทำให้เกิดอันตรายสะสมอยู่ในร่างกาย

โดยสารเคมีอันตรายมี 3 ตัว ได้แก่

1.สารสไตรีน (Styrene) เป็นสารก่อมะเร็ง เพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก มีผลต่อสมองและเส้นประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ระบบฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ ทำให้มี ปัญหาต่อมไทรอยด์และประจำเดือนในสตรีผิดปกติ

2. สารเบนซิน (Benzene) เป็นสารก่อมะเร็งเช่นกัน สารชนิดนี้ละลายได้ดีในน้ำมัน เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นแรง หากได้รับสารชนิดนี้เป็นเวลานาน ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากสารเบนซินจะทำลายไขกระดูก ทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลง

3. สารพทาเลท (Phthalate) เป็นสารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ผู้ชายเป็นหมัน หากเป็นหญิงมีครรภ์ลูกอาจมีอาการดาวน์ซินโดรมและอายุสั้นได้

สำหรับการละลายของสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้ จะมากน้อยขั้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ อุณหภูมิอาหาร ไขมันในอาหารและระยะเวลาที่อาหารสัมผัสกับภาชนะโฟม โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารประเภทผัด ทอด จะทำให้สารสไตรีนละลายออกมาได้มากกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook